วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567
  

คำปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เรื่อง “การบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ หลังความตาย”

เจริญพรมายังพี่น้องชายหญิงที่รัก

        ข้าพเจ้ารู้สึกยินที่ต้อนรับท่านทุกคนที่เป็นจิตอาสาของสมาคมอิตาเลียนเพื่อการบริจาคอวัยวะ (AIDO) ซึ่งมาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ในฐานะที่เป็นผู้แทนของประชาชนนับพันซึ่งเลือกที่จะเป็นประจักษ์พยานชีวิตและที่จะประกาศถึงคุณค่าแห่งการแบ่งปัน และการอุทิศตนเองโดยไม่ขอสิ่งใดเป็นสิ่งตอบแทน ข้าพเจ้าขอต้อนรับพวกท่านด้วยความยินดีและขอขอบคุณประธานของสมาคมฯ ดร. ฟลาเวีย เปตริน (Dr. Flavia Petrin) สำหรับมธุรสวาจาที่ท่านกล่าวรายงานเริ่มการประชุม

        การพัฒนาในการปลูกถ่ายอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทางการแพทย์ทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ที่จะบริจาคอวัยวะหลังความตาย และในบางกรณีแม้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม (เช่น ในกรณีของการบริจาคไต) เพื่อที่จะช่วยชีวิตผู้อื่น เพื่อที่จะดำรงไว้ในการฟื้นฟูบูรณาการ และแม้กระทั่งทำให้สุขภาพของผู้ป่วยหลายคนดีขึ้นซึ่งไม่มีทางเลือกอื่น การบริจาคอวัยวะเป็นการตอบสนองให้กับความจำเป็นทางด้านสังคม เพราะว่าแม้ว่าจะมีการพัฒนาในเรื่องของเภสัชกรรมที่ใช้ในการรักษา ความต้องการอวัยวะก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญในการบริจาคทั้งสำหรับผู้ให้ ผู้รับ และสำหรับสังคมอย่างไม่มีวันสิ้นสุดอันเป็น “ความดีงามและคุณประโยชน์” เนื่องจากสิ่งนี้เป็นประสบการณ์อันล้ำลึกของมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยความรักและการเห็นใจต่อผู้อื่น การบริจาคหมายถึงการมองก้าวข้ามตนเองเกินกว่าความต้องการของปัจเจกบุคคลและเปิดใจกว้างสู่ความดีที่สูงกว่า ในมุมมองนี้การบริจาคอวัยวะจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่การกระทำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกถึงความเป็นภราดรสากลที่สร้างความสัมพันธ์ให้กับพี่น้องทั้งชายและหญิง

        สำหรับประเด็นนี้คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า “การบริจาคอวัยวะหลังความตายนั้นเป็นสิ่งประเสริฐ และเป็นการกระทำที่เป็นกุศลธรรมควรที่จะได้รับการสนับสนุนว่านี่เป็นการแสดงออกซึ่งความเอื้ออาทรที่มีใจกว้าง” (ข้อ 2296) ด้วยกุศลธรรมในมิติแห่งความสัมพันธ์กันภายในแห่งมนุษย์ พวกเราแต่ละคนยังทำให้ตนเองบรรลุความสำเร็จด้วยการมีส่วนในการบรรลุความสำเร็จแห่งความดีงามของผู้อื่นด้วย อันคำว่าแต่ละบุคคลหมายถึงคุณประโยชน์ไม่เพียงแค่เฉพาะสำหรับตนเองเท่านั้น ทว่าเพื่อสังคมทั่วไป อันเป็นความสำคัญของหน้าที่ ซึ่งจะต้องบรรลุถึงความดีงามของเพื่อนพี่น้องด้วย

        ในสมณสาส์นเวียน “พระวรสารแห่งชีวิต – Evangelium vitae” (25 มีนาคม 1995) พระสันตะปาปาจอห์น พอลที่ 2 ตรัสว่า ในบรรดาการกระทำที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชีวิตที่ถ่องแท้ “ตัวอย่างที่น่าสรรเสริญอย่างหนึ่งคือการบริจาคอวัยวะ ซึ่งกระทำในทำนองที่รับได้ทางจริยธรรม” – ควรจะเน้นประเด็นนี้ – “โดยตั้งใจที่จะมอบโอกาสเพื่อสุขภาพและกระทั่งเพื่อชีวิตให้กับผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งไม่มีความหวังอย่างอื่น” (EV. ข้อ 86) ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญที่ว่าการบริจาคอวัยวะจะต้องเป็นการให้แบบเปล่า ๆ ไม่มีการชดเชยใดๆ อันที่จริงสินค้าโภคภัณฑ์ทุกรูปแบบของร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นการขัดแย้งกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การบริจาคโลหิตหรืออวัยวะของร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความเคารพในมิติทางด้านจริยธรรมและศาสนา

        สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชื่อทางศาสนาการกระทำเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชายหญิงที่มีความต้องการควรที่จะกระทำไปบนพื้นฐานของอุดมการณ์แห่งความเอื้ออาทรให้กับเพื่อนมนุษย์ ผู้มีความเชื่อถูกเรียกร้องให้มีประสบการณ์ในฐานะที่เป็นการอุทิศตนให้กับพระเยซูคริสต์ ซึ่งอยูในลักษณะเดียวกันกับผู้ที่ต้องเผชิญความทุกข์ทรมานเพราะความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุทางจราจร หรือบาดเจ็บเกี่ยวกับการทำงาน นี่เป็นความสวยสดงดงามสำหรับศิษย์ของพระเยซูคริสต์ที่จะบริจาคอวัยวะของตนเองแก่พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงรับความทุกข์ทรมาน ซึ่งพระองค์ตรัสว่า ทุกสิ่งที่พวกเราทำให้กับพี่น้องผู้หนึ่งผู้ใดที่มีความจำเป็นพวกเราทำกับพระองค์เอง (เทียบ มธ. 25:40)

        เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการบริจาค ซึ่งโดยอาศัยข้อมูล การรับรู้ และการทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมจะเอื้ออำนวยต่อการบริจาคส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยที่ไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงอันไม่สมควรที่จะตามมาในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และอวัยวะทุกส่วนหลังความตาย

        จากความตายของตัวเราเองและจากของขวัญของพวกเรา ชีวิตและสุขภาพของผู้อื่น ของผู้ป่วย และของผู้ที่เผชิญความทุกข์อาจเกิดผลดีขึ้นมาใหม่นั้นเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความช่วยเหลือกัน ในลักษณะของการให้ ของความหวัง และของชีวิต ท่ามกลางการคุกคามต่อชีวิตในความโชคร้าย พวกเราต้องเป็นประจักษ์พยานแห่งชีวิตทุก ๆ วัน  ดังเช่นในกรณีของการทำแท้งและการุญฆาต – เพียงแค่เอ่ยถึงจุดเริ่มต้นและจุดจบแห่งชีวิต – สังคมต้องการพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมแห่งความเอื้ออาทรและความรักแท้จริงเพื่อที่จะสร้างหลักประกันให้เข้าใจว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์

        ข้าพเจ้าขอให้กำลังใจแก่พวกท่านในความพยายามที่จะปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองและส่งเสริมชีวิต โดยอาศัยวิธีกการอันน่าอัศจรรย์แห่งการบริจาคอวัยวะ ข้าพเจ้าชื่นชอบในการไตร่ตรองถึงพระวาจาของพระเยซูคริสต์ “จงให้แล้วท่านจะได้รับการตอบแทน อันเป็นมาตรการที่ดี  จงจำไว้ให้ดี  ให้สำนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน จงเอาชนะให้จงได้” – ณ จุดนี้พระเยซูคริสต์ทรงใช้คำคุณศัพท์หลายคำ – “และนำมาไว้ที่หน้าตักของท่าน” (เทียบ ลก. 6:38)

        พวกเราจะได้รับการตอบแทนจากพระเจ้าตามความรักที่จริงใจ และที่เป็นรูปธรรมซึ่งพวกเราแสดงออกกับเพื่อนพี่น้องของพวกเรา

        ขอให้พระเยซูคริสต์สนับสนุนพวกท่านในความตั้งใจอันเป็นคุณประโยชน์เช่นนี้ สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอติดตามพวกท่านไปด้วยความเป็นมนุษย์ของข้าพเจ้าและขออวยพรทุกคน  ขอขอบคุณ

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บคำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิสต์มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)


© Copyright – Libreria Editrice Vaticana