วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567
  

คำปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประทานแก่ผู้แทนสหพันธ์ลูเธรันสากล

เจริญพรมายังพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

        “ขอพระหรรษทานและสันติสุขจากพระบิดาและพระเยซูคริสต์สถิตอยู่กับท่าน” (รม. 1: 7) ด้วยคำพูดเหล่านี้ที่อัครธรรมทูตเปาโลทักทายชุมชนคริสตชนที่กรุงโรม ข้าพเจ้าขอต้อนรับทุกท่าน ผู้แทนสหพันธ์ลูเธรันสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธานอาร์ชบิชอปมูซา (Musa) ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบคุณในมธุรพจน์ของท่าน และเลขาธิการสาธุคุณมาร์ติน จุนก์ (Martin Junge) ข้าพเจ้ายังคงจดจำได้อย่างดีเมื่อข้าพเจ้าไปเยือนเมืองลุนด์ ประเทศสวีเดน (Lund) ซึ่งเป็นสถานที่ที่สหพันธ์ของพวกท่านมถือกำเนิด ในการประชุมที่เมืองลุนด์ เกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของคริสตชนอันน่าจดจำนั้น พวกเราได้มีประสบการณ์กับอำนาจแห่งพระวรสารของการคืนดีกัน ซึ่งเป็นประจักษ์พยานว่า “โดยอาศัยการเสวนาและการเป็นประจักษ์พยานร่วมกัน พวกเรามิใช่คนแปลกหน้ากันอีกต่อไป” (แถลงการณ์ร่วม วันที่ 31 ตุลาคม 2016) พวกเราไม่ใช่คนแปลกหน้ากันอีกต่อไป แต่พวกเราเป็นพี่เป็นน้องกัน

        พี่น้องชายหญิงที่รัก ในการเดินทางจากความขัดแย้งสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในวันนี้เมื่อท่านรำลึกถึงเหตุการณ์การน้อมรับในความเชื่อ ณ เมืองเอาส์บรูก หรือเรียกว่า  “Augsburg Confession” พวกท่านมาที่กรุงโรมเพื่อส่งเสริมความเป็นเอกภาพ ข้าพเจ้าขอบคุณพวกท่านเป็นอย่างยิ่ง และข้าพเจ้าขอแสดงความหวังว่า การไตร่ตรองร่วมกันเรื่อง “Augsburg Confession”  เพื่อรำลึกถึงวันที่จะครบรอบ 500 ปีในวันที่ 25 มิถุนายน 2030 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางแห่งความเป็นเอกภาพของพวกเรา “บนหนทางจากความขัดแย้งสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกัน” นี่เป็นหนทางที่พวกเราเดินในขณะที่เกิดวิกฤติ ซึ่งช่วยให้พวกเราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าพวกเรากำลังแสวงหาสิ่งใด จากความขัดแย้งพวกเราทราบกันนานนับหลายศตวรรษว่าพวกเราต้องการความเป็นเอกภาพ นั่นคือเหตุที่พวกเราเดินเข้าเผชิญหน้ากับวิกฤติ วิกฤติเป็นพระพรจากพระเจ้า

        ณ เวลาที่ประกาศการน้อมรับในความเชื่อ “Augsburg Confession” มุ่งพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการคุกคามจากความแตกแยกในคริสต์ศาสนาในภาคตะวันตก ซึ่งช่วงแรกแรกมองว่านี่เป็นเอกสารแห่งการคืนดีกันในแวดวงภายในของพระศาสนจักรคาทอลิก แต่ต่อมาภายหลังกลายเป็นคุณสมบัติในเรื่องความเชื่อของคริสตจักรลูเธรัน ในปี ค.ศ. 1980 เป็นโอกาสครบรอบ 450 ปี ทั้งชาวลูเธรันและชาวคาทอลิกร่วมกันแถลงการณ์ว่า “ความเชื่อร่วมกันที่พวกเราพบในแถลงการณ์แห่ง “Augsburg Confession” สามารถช่วยให้พวกเราน้อมรับความเชื่อใหม่นี้ได้ในยุคสมัยของพวกเรา” (แถลงการณ์ร่วม “All Under One Christ”. No. 27) เพื่อที่จะนับถือร่วมกันในสิ่งที่ทำให้พวกเราเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ พวกเราได้รับการเตือนสติด้วยคำพูดของอัครธรรมทูตเปาโล “ร่างกายเดียวกัน ศีลล้างบาปเดียวกัน พระเจ้าเดียวกัน” (อฟ. 4: 4.5-6)

        พระเจ้าเดียวกัน ในบทความแรกของแถลงการณ์ “Augsburg Confession” น้อมรับความเชื่อในพระตรีเอกภาพด้วยการอ้างอิงอย่างชัดเจนถึงคำสอนจากสภาสังคายนานิเชอา บทภาวนาข้าพเจ้าเชื่อฯ แห่งสภาสังคายนานิเชอา เป็นการแสดงออกที่ผูกมัดพวกเราในเรื่องของความเชื่อ  ไม่ใช่เพื่อเพียงแค่สำหรับชาวคาทอลิกและชาวลูเธรันเท่านั้น ทว่ายังครอบคลุมไปถึงบรรดาพี่น้องออร์ธอด็อกซ์ในชุมชนต่างๆด้วย นี่เป็นขุมทรัพย์ที่พวกเราเชื่อถือร่วมกัน ขอให้พวกเราใช้ความพยายามทุกอย่างในการสร้างหลักประกันว่าในโอกาสครบรอบปีที่ 1700 แห่งสภาสังคายนาอันยิ่งใหญ่นั้น พวกเราจะทำการเฉลิมฉลองกันในปี ค.ศ. 2025 จะเป็นแรงกระตุ้นใหม่ให้พวกเราเดินทางแห่งความเป็นเอกภาพของคริสตชนซึ่งเป็นของขวัญของพระเจ้า และสำหรับความตั้งใจที่ไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับพวกเรา

        ศีลล้างบาปเดียวกันพี่น้องชายหญิงที่รัก ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นพระหรรษทานของพระเจ้า ผู้ประทานความชื่นชมยินดีให้พวกเราเพื่อที่จะมีประสบการณ์และแบ่งปัน – ความก้าวหน้าในการเอาชนะต่อการแตกแยก การเยียวยาความทรงจำในอดีตทีละเล็กละน้อย การคืนดีกันและความร่วมมือกันฉันพี่น้อง – รากฐานอยู่ใน “ศีลล้างบาปหนึ่งเดียวสำหรับการให้อภัยบาป” (Niceno-Constantinopolitan Creed) ศีลล้างบาปเป็นของขวัญแรกของพระเจ้า ซึ่งเป็นพื้นฐานของความพยายามด้านศาสนาทุกประเภทและเป็นหน้าที่ซึ่งจะต้องทำให้ความเป็นเอกภาพของคริสตชนลุล่วงไปอย่างสมบูรณ์  เพราะเอกภาพของคริสตชนไม่ใช่การปฏิบัติการด้านการทูตของพระศาสนจักร แต่เป็นการเดินทางร่วมกันแห่งพระหรรษทาน นี่ไม่ได้ขึ้นกับการเจรจาต่อรองของมนุษย์หรือข้อตกลงใด ๆ ทว่าทุกสิ่งจะขึ้นอยู่กับพระหรรษทานของพระเจ้า ซึ่งจะชำระล้างให้บริสุทธิ์ทั้งในความทรงจำและในหัวใจ จำเป็นต้องเอาชนะต่อทัศนคติของการที่ยืดหยุ่นไม่เป็นและต้องนำพวกเราไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่สู่ข้อตกลงที่ย่ำแย่ลงหรือรูปแบบที่เอื้ออำนวยต่อระบบผสมผสานความเชื่อ แต่จะต้องนำไปสู่ความเป็นเอกภาพท่ามกลางความแตกต่าง ในมุมมองนี้ข้าพเจ้าประวงค์ที่จะสนับสนุนทุกคนที่ดำเนินการอยู่ในการเสวนาระหว่างชาวคาทอลิกกับชาวลูเธรัน ขอให้ยึดมั่นพร้องกับความไว้วางในในการอธิษฐานภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ในการปฏิบัติเมตตากิจระหว่างกัน และในความพยายามจนสุดความสามารถที่จะบรรลุถึงความเป็นเอกภาพระหว่างสมาชิกกลุ่มต่างๆ แห่งพระวรกายของพระเยซูคริสต์

        ร่างกายเดียวกันณ จุดนี้ กฎของเทรเซ่มีคำเตือนใจที่น่ารักมาก “จงทำให้ความเป็นเอกภาพแห่งพระวรกายของพระเยซูคริสต์เป็นความห่วงใยเป็นพิเศษของท่าน” ความใฝ่ฝันในความเป็นเอกภาพของคริสตชนที่ล้ำลึก โดยอาศัยความทุกข์ยากที่พวกเรามีประสบการณ์จากบาดแผลที่พวกเรากระทำต่อพระกายของพระเยซูคริสต์ พวกเราจะเข้าใกล้กับประสบการณ์ของพระเยซูคริสต์เองของการที่เห็นว่าศิษย์ของพระองค์ยังคงแตกแยกกันอยู่ (เทียบ ยน. 19: 23) วันนี้พระองค์ทรงมอบของขวัญแห่งจานรองแผ่นปังและถ้วยกาลิกซ์ที่ผลิตขึ้นจากโรงงานของเทรเซ่ ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระองค์สำหรับของขวัญนี้ที่เตือนใจพวกเราถึงการมีส่วนร่วมในพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์  เช่นเดียวกันพวกเรากำลังมีประสบการณ์กับการทรมานชนิดหนึ่งในความหมายทั้งสองอย่าง ในมุมมองหนึ่งพวกเรามีความทุกข์ เพราะว่า ณ เวลานี้ยังเป็นไปไม่ได้ที่พวกเราล้อมรอบพระแท่นบูชาเดียวกัน ถ้วยกาลิกซ์เดียวกัน และในอีกมุมมองหนึ่ง ความกระตือรือร้นในการบริการรับใช้ของพวกเราเพื่อความเป็นเอกภาพ ซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงอธิษฐานภาวนาและอุทิศชีวิตของพระองค์

        ดังนั้นขอให้พวกเราเดินทางต่อไปด้วยความเสน่หาบนเส้นทางจากความขัดแย้งสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันตามหนทางแห่งวิกฤติ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการค้นหาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่จะเชื่อมพระศาสนจักรและพันธกิจแห่งศีลมหาสนิท นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตรวจสอบด้วยความสุภาพและสิ่งแวดล้อมเชิงชีวิตจิต และเทววิทยาที่ทำให้พวกเราเกิดการแตกแยก โดยหวังว่าแม้จะไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์น่าเศร้าใจในอดีต แต่เป็นไปได้ที่จะตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความพยายามที่จะคืนดีกัน สมัชชาใหญ่ของพวกท่านในปี 2023 น่าจะเป็นอีกก้าวหนึ่งสู่การบชำระความทรงจำในอดีต และให้คุณค่ากับขุมทรัพย์ฝ่ายจิตมากมายที่พระเยซูคริสต์ทรงเตรียมไว้ตลอดเวลาหลายศตวรรษสำหรับพวกเราทุกคน

        พี่น้องชายหญิงที่รัก หนทางจากความขัดแย้งสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พวกเราไม่ได้อยู่ตามลำพัง พระเยซูคริสต์ทรงติดตามพวกเรา ขอให้พระเยซูคริสต์ผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพ โปรดอวยพรพวกเราทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธุคุณจุนก์ มาร์ติน ซึ่งท่านจะหมดวาระเป็นเลขาธิการในวนที่ 31 ตุลาคม ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับการเยี่ยมของพวกท่าน  บัดนี้ข้าพเจ้าประสงค์ที่จะข้อร้องให้พวกเราสวดบทข้าแต่พระบิดาฯ พร้อมกันในภาษาของแต่ะคนเพื่อการฟื้นฟูความเป็นเอกภาพที่สมบูรณ์ของคริสตชน ส่วนวิธีที่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างไรนั้นพวกเราปล่อยให้เป็นการผลักดันของพระจิต ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์และเป็นนักกวีด้วย

        บัดนี้ให้พวกเราสวดข้าแต่พระบิดาฯ พร้อมกัน

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บคำปราศรัยของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรองเรื่องเอกภาพ)