วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2021 พระสันตะปาปาฟรานซิสในการเดินรูป 14 ภาค ณ บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งแทบจะไม่มีผู้คนเข้าร่วมพิธี อันเป็นเครื่องหมายแห่งความสันโดษและการอยู่กันตามลำพังอันมีสาเหตุจากโรคระบาดโควิด-19 ที่แฝงไปด้วยความหวังจากการไตร่ตรองที่เตรียมโดยเด็ก ๆ
ความสันโดษและการอยู่ตามลำพังของผู้คนทั่วโลกโดยตัดขาดจากครอบครัวเพื่อนฝูง ต้องตกงานและขาดการทำมาหากิน ต้องดำเนินชีวิตในความกลัวและอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสำหรับตนเองและบรรดาลูกหลาน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่วนเวียนอยู่ในความคิดของช่วงที่มีการเดินรูป 14 ภาคระหว่างวันที่สองของตรีวารปัสกาปี 2021
นี่เป็นปีที่สองติดต่อกันที่พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงนำการเดินรูป 14 ภาคในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตรที่แทบจะไม่มีสัตบุรุษเข้าร่วมพิธี เนื่องจากรัฐบาลของประเทศอิตาลีได้ออกกฎระเบียบป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
พระสันตะปาปาทรงอาภรณ์สีขาวประทับอยู่บนปะรำพิธีที่ตั้งขึ้นตรงใจกลางของลานหน้าพระวิหาร พระสันตะปาปาทอดพระเนตรไปยังบริเวณลานมหาวิหารที่กำลังมืดลงโดยมีเด็ก ๆ ครูคำสอน และเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง พร้อมผู้ปกครองของเด็ก ๆ ต่างก็ผลัดกันแบกไม้กางเขนไปรอบ ๆ บริเวณเสาหินโอเบลิสก์อันสูงตระหง่าน
เด็ก ๆ ผลัดกันอ่านบทรำพึงของพวกเขาในขณะที่เพื่อน ๆ ช่วยแบกไม้กางเขนไปตามเส้นทางวงกลมที่ส่องความสว่างด้วยโคมไฟ ณ ใจกลางจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์
ความจริงปีนี้พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเลือกที่จะให้เด็ก ๆ และเยาวชน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและอนาคตเป็นผู้เตรียมบทรำพึงสำหรับการเดินรูป 14 ภาคของปี 2021
ประเพณีปฏิบัติการเดินรูป 14 ภาค
นับเป็นเวลา 50 ปีมาแล้วตั้งแต่พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงรื้อฟื้นประเพณีการเดินรูป 14 ภาคตั้งแต่ปี 1964 พระสันตะปาปาพระองค์ต่อๆมา จึงนำพิธีนี้มารื้อฟื้นมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์โดยใช้สถานที่ในกรุงโรม โดยมีสนามกีฬาโคโลเซียมเป็นฉากหลัง ทว่าตั้งแต่เริ่มเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในปีที่แล้วรัฐบาลประเทศอิตาลีได้ประกาศข้อบังคับป้องกันการระบาดของเชื้อโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดงานสาธารณะซึ่งรวมถึงเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ก็ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสื่อโทรทัศน์ไปทั่วโลกถึงผู้คนจำนวนหลายล้านคนในทุกทวีป การเดินรูปในแต่ละภาคนั้นเริ่มด้วยบทอ่านจากพระวรสารที่เกี่ยวกับมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ ตามด้วยการรำพึง จากนั้นจะมีการอธิษฐานภาวนาโดยพระสันตะปาปาแล้วลงท้ายด้วยการร้องเพลง
พระสันตะปาปาประสงค์อยู่ในความเงียบ ไม่จำเป็นต้องปราศรัยใด ๆ
อันเป็นความชัดเจนว่าพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงรู้สึกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปราศรัยใดๆ และพระองค์ก็มิได้เทศน์ ในความเงียบและการไตร่ตรองพิศเพ่งไปยังไม้กางเขนเป็นวิธีที่มีพลังมากที่สุดในโลกที่เงียบสงัด ซึ่งเชื้อไวรัสยังคงนำความทุกข์โศกเศร้าและการอยู่อย่างสันโดษมาให้พวกเรา อันก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ผู้คนมีชีวิตอยู่ตามชายขอบสังคม คนตกงาน คนยากจน คนที่ขาดความยุติธรรม และการติด “เชื้อ” ของการไม่รู้ร้อนรู้หนาวในสังคมที่ก่อให้เกิดความตายและความสิ้นหวังในชีวิต
เด็ก ๆ และเยาวชนเป็นความหวังและอนาคต
ในช่วงของการรำพึงไตร่ตรองครั้งที่แล้ว ได้มุ่งประเด็นไปที่เด็ก ๆ และเยาวชนว่าพวกเขาเป็นกุญแจและเป็นความหวังแห่งการเกิดใหม่อย่างไร “ข้าแต่พระเจ้า พระบิดาผู้ทรงพระเมตตา” นี่เป็นบทภาวนา “เป็นอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ที่พวกเราติดตามพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ในการเดินรูป 14 ภาค พวกเราติดตามพระองค์ด้วยการฟังเสียงและคำภาวนาของเด็ก ๆ ที่พระองค์จัดไว้ต่อหน้าพวกเราในฐานะที่เป็นแบบฉบับเพื่อที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระองค์”
โปรดช่วยให้พวกเราเป็นเหมือนพวกเขา ต่ำต้อย มีความต้องการทุกสิ่ง เปิดใจกว้างสู่ชีวิต โปรดช่วยพวกเราให้รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ และสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในแสงสว่างที่ชัดเจน พวกเราวิงวอนพระองค์โปรดอวยพร และปกป้องเด็กทุกคนในโลก ขอให้เด็กทุกคนเจริญเติบโตขึ้นในปรีชาญาณ อายุ พระหรรษทาน เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้จักและติดตามแผนการพิเศษของพระองค์เพื่อความสุขของพวกเขาด้วยเทอญ
คำภาวนาของพระสันตะปาปาฟรานซิสดูจะเปี่ยมด้วยความยินดีในค่ำคืนนี้ ประกาศกในอาภรณ์สีขาวโดดเดี่ยวอยู่กลางเวทีกว้างใหญ่ทรงอวยพรฝูงชน พวกเราขอขอบคุณเด็ก ๆ สำหรับการรำพึงไตร่ตรองของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ค่อยๆ เดินกลับเข้าไปภายในมหาวิหาร
บทรำพึงในการเดินรูป 14 ภาค ที่เขียนโดยเด็ก ๆ พระเยซูคริสต์ทรงดับความกลัวของพวกเรา
พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมอบการเรียบเรียงทรำพึงในการเดินรูป 14 ภาคปีนี้ให้กับ Agesci Scout Group “Foligno I” (Umbria) และวัดโรมันมรณะสักขีผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งอูกันดา
การเดินรูป 14 ภาคในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ที่นำโดยพระสันตะปาปาฟรานซิสจะประกอบด้วยการรำพึง และภาพวาดโดยเด็ก ๆ และเยาวชนแห่งกรุงโรมแห่งวัดมรณะสักขีแห่งประเทศอูกันดา Agesci scout group “Foligno I” และจากสองครอบครัวที่อยู่ในกรุงโรม พวกเขาจะเป็นคนอ่านในช่วงพิธี ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตรโดยมีพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นประธานพิธี
ในความซื่อ ๆ แบบเรียบง่ายและเป็นรูปธรรมในการรำพึงที่เขียนโดยเด็ก ๆ มีพลังอำนาจสัมผัสหัวใจได้อย่างล้ำลึก ที่ทำให้พวกเราต้องคิดไตร่ตรอง และทำงานเพื่อโลกที่ดีกว่าและมีความชอบธรรมากกว่า ข้อความเชื้อเชิญพวกเราให้ถามตัวของพวกเราเองเกี่ยวกับชีวิตของพวกเราและความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวของเราและโลกของพวกเรา
กางเขนมากมายของเด็ก ๆ ในโลกนี้
ความทุกข์ของเด็ก ๆ นั้นบ่อยครั้งถูกมองข้ามในบทนำของหนังสือคู่มือน้อยๆเล่มหนึ่งมีการเน้นขณะที่เด็กๆ เข้าไปหาพระเยซูคริสต์ รำพึงรำพันว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสต์ที่รัก พระองค์ทราบดีว่าเด็กๆ อย่างพวกเราก็มีไม้กางเขนที่ต้องแบก เป็นไม้กางเขนที่ไม่เบากว่าหรือหนักกว่าที่ผู้ใหญ่แบก แต่ก็เป็นไม้กางเขนที่แท้จริง เป็นไม้กางเขนที่ทำให้พวกเรารู้สึกหนักอึ้งแม้ในเวลากลางคืน มีแต่พระองค์เท่านั้นที่ทราบว่านั่นคืออะไรและทรงสนพระทัยอย่างจริงจัง มีเพียงพระองค์เท่านั้น” ไม้กางเขนคือความน่ากลัวในความมืด การอยู่อย่างสันโดษ เพราะโรคระบาด เป็นประสบการณ์ถึงข้อจำกัดของผู้คน การถูกล้อเลียนจากผู้อื่น การรู้สึกว่าตนนั้นยากจนกว่าบรรดาเพื่อนฝูง เกิดความเสียใจเพราะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันภายในครอบครัว แต่บางคนเป็นทุกข์เพราะ “ยังมีเด็กในโลกของพวกเราที่ไม่มีอาหารจะกิน ที่ไม่สามารถไปโรงเรียน ที่ถูกบังคับให้ต้องเป็นทหาร” ข้าแต่พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงประทับอยู่ใกล้ชิดกับพวกเราเสมอ ขอพระองค์โปรดอย่าได้ทอดทิ้งพวกเรา เด็ก ๆ สรุป “โปรดช่วยให้พวกเราแบกไม้กางเขนประจำวันของพวกเราเฉกเช่นที่พระองค์ทรงแบกไม้กางเขนของพระองค์ด้วยเทอญ”
การกล่าวหาผู้บริสุทธิ์และการขาดความกล้าหาญ
ภาคที่หนึ่ง: ปองซีโอปีลาโต ได้ตัดสินให้ประหารชีวิตพระเยซูคริสต์ การรำพึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในห้องเรียนชั้นประถมปีที่ 1 มาร์คถูกกล่าวหาว่าขโมยอาหารมื้อเที่ยงของเพื่อน มีบางคนรู้ว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาปกป้องเขา ผู้เล่าเรื่องรู้สึกอายที่ขาดความกล้าหาญ เขากระทำเหมือนปีลาโต แต่บัดนี้รู้สึกเสียใจที่เลือกหนทางที่ง่ายกว่า “บางครั้งพวกเราได้แต่ฟังเสียงของผู้ที่คิดและทำแต่ความชั่ว ในขณะที่ทำสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกับทางชันขึ้นภูเขา ซึ่งเต็มไปด้วยอุปสรรคและความยากลำบาก แต่พวกเรามีพระเยซูคริสต์อยู่เคียงข้างพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยพวกเรา”
การกระทำของพวกเราอาจมีผลกระทบต่อผู้อื่น
ภาคที่สอง: พระเยซูคริสต์ทรงรับแบกไม้กางเขน ข้อความในพระวรสารโดยนักบุญลูกาเล่าว่าพระเยซูคริสต์ทรงถูกเย้ยหยัน และถูกโบยตีจากผู้ที่เฝ้ามาหาพระองค์ การเยาะเย้ยถากถางเกิดขึ้นต่อหน้าเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแม้กระทั่งถึงจุดที่มีการรังแกข่มเหงกัน อย่างในกรณีของมาร์ตีน่าที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงดังในห้องเรียน “อาจเป็นได้ว่านั่นไม่ใช่เจตนาของพวกเราที่ต้องการทำให้เธอเป็นตัวตลก แต่พวกเราทำให้เธอต้องเจ็บปวดเพียงใดที่พวกเราหัวเราะเยาะเธอ… การเบียดเบียนไม่ใช่เป็นอะไรที่เกิดขึ้นเมื่อสองพันปีที่แล้ว บางครั้งการกระทำของพวกเราสามารถพิพากษา ปฏิบัติโดยมิชอบ และทำร้ายพี่น้องคนหนึ่งคนใดของพวกเรา”
ประสบการณ์ของความผิดพลาด
ภาคที่สาม: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่หนึ่ง พระเยซูคริสต์ทรงรู้สึกหนักอึ้งด้วยบาปของพวกเรา พระองค์ถูกเฆี่ยนและถูกสบประมาท ประสบการณ์ในช่วงนี้เป็นของเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นเด็กดีที่โรงเรียน ทว่าเขาสอบตกเป็นครั้งแรก ความล้มเหลวครั้งแรกนี้มากเกินไปสำหรับตัวฉัน ทันใดนั้นฉันรู้สึกว่าตนเองอยู่แต่ลำพังไม่มีใครมาปลอบใจฉันเลย แต่ ณ เวลานั้นกลับช่วยให้ฉันเติบโตขึ้น… บัดนี้ฉันรับรู้ว่าพวกเราแต่ละคนสามารถพลาดล้มได้ ขณะที่พระเยซูคริสต์ทรงประทับอยู่ที่นั้นเพื่อยื่นพระหัตถ์มาจูงพวกเราให้ลุกขึ้น”
ความรักของมารดา
ภาคที่สี่: พระเยซูคริสต์ทรงพบปะกับพระมารดา บทอ่านที่เลือกมาเป็นการแต่งงานที่หมู่บ้านคานาพร้อมกับความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรและพระมารดาอันเป็นจุดเด่น นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เด็ก ๆ คิดเกี่ยวกับมารดาของตนและความรักของแม่ที่คอยเฝ้าติดตามเขาเสมอ แม้กระทั่งพาเขาไป “ฝึกเล่นฟุตบอล โรงเรียนสอนภาษา และการเรียนคำสอนในเช้าวันอาทิตย์” การรำพึงพูดถึงความต้องการความรักของเด็กน้อย ซึ่งบางทีก็ช่วยให้พ่อแม่เป็นคนดีมากขึ้น “ถ้าฉันมีปัญหา มีคำถาม หรือมีความคิดสิ่งใดที่ไม่ค่อยเข้าท่าเข้าทาง คุณแม่ก็พร้อมเสมอที่จะฟังฉันเสมอพร้อมกับรอยยิ้ม
การเห็นพระเยซูคริสต์บนใบหน้าของผู้อื่น
ภาคที่ห้า: ซีมอน ชาวซีเรน ช่วยพระเยซูคริสต์แบกไม้กางเขน ในแต่ละวันมีโอกาสมากมายที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ประจักษ์พยานที่เล่าไว้ ณ ที่นี้เป็นความห่วงใยต่อเพื่อนต่างชาติ ซึ่งมาอยู่แถวบ้านของพวกเรา เมื่อไม่นานมานี้ เขามองดูเด็ก ๆ เล่นฟุตบอลแต่ไม่กล้าที่จะแนะนำตนเอง เด็กคนหนึ่งในกลุ่มนั้นเห็นเขาและกล้าที่จะไปพบเขาแล้วเชิญเขาให้มาเล่นกับพวกตน “ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา” เขาเขียนว่า “วาริดกลายเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่ดีที่สุดของฉัน และเป็นคนรักษาประตูของทีมฟุตบอลของพวกเราด้วย” ต่อเมื่อพวกเรารับรู้ความเป็นพี่น้องของบุคคลอื่นเท่านั้น “พวกเราจึงจะสามารถเปิดใจให้กับพระเยซูคริสต์”
การช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยกว่า
ภาคที่หก: สตรีใจศรัทธาเช็ดพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์ “แท้จริงเราบอกกับท่านว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องต่ำต้อยที่สุดเหล่านี้ของเรา ท่านก็ทำกับเราเอง” นี่เป็นพระวาจาของพระเยซูคริสต์ที่นำมาจากพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว ในการเดินรูปภาคที่หกนี้ แม้ว่าในกิจการประจำวันเด็ก ๆ จะมีบางครั้งที่มีความยุ่งยากและเศร้าเสียใจ และต้องการให้มีคนมาคอยปลอบใจ ตัวอย่างหนึ่งก็คือหลังที่แพ้การแข่งขันฟุตบอลครั้งที่มีความสำคัญ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะทำได้ดีกว่า ในขณะที่หมดกำลังใจการแข่ง “ก็มีเพื่อนของฉันคนหนึ่งถือเครื่องดื่มยืนรอฉันอยู่” เมื่อมีเพื่อนอยู่ใกล้คอยปลอบใจ “การแพ้กลายเป็นการมีโชคดีน้อยกว่าเขาเท่านั้นเอง”
การคิดถึงผู้ที่มีความต้องการมากที่สุด
ภาคที่เจ็ด: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สอง การรำพึงเกี่ยวกับประสบการณ์ของนักเรียนชั้นประถมปี่ที่ 4 คนหนึ่ง กำลังมีการเตรียมแสดงตอนสิ้นปี และเขาต้องการเป็นผู้นำไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ตรงกันข้ามครูเลือกจีโอวานนี่ซึ่งเป็นเพื่อนที่ไม่ค่อยจะสนิทกันกับเขา ตอนแรกเขารู้สึกโกรธ แต่เมื่อเข้าใจแล้วเขาก็มีความสุข ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจีโอวานนี่ก็มีบทบาทมากขึ้นในห้องเรียน เขากล่าวว่า “ความผิดหวังของฉันได้ช่วยอีกคนหนึ่ง การเลือกของครูเปิดโอกาสให้บางคนที่ต้องการสิ่งนั้น”
การช่วยเหลือผู้ที่กระทำความผิด
ภาคที่แปด: พระเยซูคริสต์พบสตรีใจศรัทธาแห่งเยรูซาเล็ม ในพระวรสารโดยนักบุญลูกาพวกเราพบว่าเมื่อพระเยซูคริสต์เห็นพวกเขาพระองค์ตรัสว่า “ธิดาแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย จงอย่างร้องไห้เพราะเรา แต่จงร้องไห้เพื่อตัวท่านเองและเพื่อลูกหลานของท่านเถิด” นี่เป็นจุดเริ่มที่จะพูดว่า “การแก้ไขความผิดของบรรดาพี่น้องนั้นยากมาก แต่เป็นสิ่งจำเป็น” นี่เป็นประสบการณ์ของสองพี่น้องที่โกหกมารดาด้วยการให้ความมั่นใจกับมารดาว่าพวกเขาได้ทำการบ้านเสร็จแล้วเมื่อตอนบ่าย ซึ่งความจริงแล้วเขาทั้งสองเล่นกันตลอดเวลา วันรุ่งขึ้นหนึ่งในสองคนนั้นพูดว่าเขารู้สึกไม่สบาย แล้วเขาก็ไม่ได้ไปโรงเรียน ส่วนอีกคนหนึ่งไปโรงเรียนแต่เมื่อเขากลับบ้านเขาจึงไปคุยกับน้อง “นั่นเป็นสิ่งไม่ถูกนะที่พวกเราโกหกแม่ และการที่น้องแกล้งว่าปวดท้อง พี่ขอเสนอว่าพวกเราทำการบ้านเดี๋ยวนี้ทันที แล้วพี่จะช่วยติววิชาที่น้องไม่ได้ไปเรียนวันนี้ เมื่อเราทั้งสองคนทำการบ้านเสร็จแล้ว พวกเราจะได้เล่นกันในตอนบ่าย”
ความสันโดษเกิดจากโรคระบาด
ภาคที่เก้า: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สาม ข้อความพระวรสารจะเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่ตายไปแล้วผลิดอกออกผลมากมาย โรคระบาดโควิด-19 เปิดฉากเข้ามาพร้อมกับผลร้ายที่กระทบแม้แต่เด็ก ๆ ความรู้สึกส่วนของประชาชนคือความสันโดษ พวกเขาไม่สามารถไปเยี่ยมญาติ โรงเรียนปิด พวกเขาคิดถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียน “ความรู้สึกที่น่าสงสารที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายบางครั้งแทบจะทนไม่ไหวอีกแล้ว พวกเรารู้สึกว่า “ทุกคนทอดทิ้งพวกเรา” จนพวกเราไม่สามารถแม้กระทั่งที่จะยิ้ม เฉกเช่นพระเยซูคริสต์ พวกเราพบตนเองว่านอนแผ่ติดอยู่กับพื้นดิน”
ความชื่นชมยินดีที่เกิดจากการให้
ภาคที่สิบ: พระเยซูคริสต์ถูกเปลื้องอาภรณ์ ตรงนี้ก็เช่นกัน เด็กหญิงตัวน้อยๆ คนหนึ่งเล่าว่าเธอสะสมตุ๊กตาไว้ในห้องเป็นดุจขุมทรัพย์ วันหนึ่งเธอรู้มาว่าทางวัดกำลังรวบรวมตุ๊กตาเพื่อนำไปมอบให้กับเด็กผู้ลี้ภัยที่โคโซโว เธอจึงเลือกตุ๊กตาบางตัวของเธอที่เก่าแก่ทีสุดที่เธอชอบน้อยที่สุดเตรียมใส่กล่อง แล้วเธอก็พูดว่า “แต่หนูรู้สึกว่ายังทำไม่เพียงพอ เมื่อถึงเวลาที่เธอจะเข้านอนกล่องนั้นเต็มไปด้วนตุ๊กตาแล้วหิ้งที่เก็บตุ๊กตาของเธอก็ว่างเปล่า” การจัดการกับของที่เหลือใช้ทำให้วิญญาณของหนูเบาขึ้น และการให้ทำหนูมีความสุขมากยิ่งขึ้น
คริสต์มาสที่อุทิศให้กับการบริการรับใช้คนยากจน
ภาคที่สิบเอ็ด: พระเยซูคริสต์ถูกตรึงด้วยตะปูบนไม้กางเขน “วันคริสต์มาสพวกเราไปที่กรุงโรมกับลูกเสือเพื่อเยี่ยมซิสเตอร์ธรรมทูตคณะพระเมตตาเพื่อแจกอาหารให้กับผู้ที่ต้องการแทนที่จะเฉลิมฉลองกันภายในครอบครัวของพวกเรา “นี่ไม่ใช่เป็นการเสียสละเพียงเล็กน้อยดังที่อธิบายในการรำพึงของการเดินรูปภาคที่สิบเอ็ด แต่เด็กชายคนหนึ่งระบายความในใจว่า “ตอนขากลับผมคิดถึงใบหน้าเหล่านั้นของคนที่ผมช่วยเหลือ การยิ้มของพวกเขาและเรื่องราวของพวกเขา…ความคิดที่ว่าผมได้นำความสุขเล็กน้อยไปมอบให้พวกเขาทำให้คริสต์มาสนี้จะลืมเสียมิได้ “การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรัก” เป็นคำสอนที่พระเยซูคริสต์มอบให้พวกเราจากไม้กางเขน
พระเยซูคริสต์ทรงให้อภัยคนบาปผู้ที่เป็นทุกข์เสียใจ
ภาคที่สิบสอง: พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แบบฉบับที่พระเยซูคริสต์ทรงให้อภัยความชั่วที่พระองค์ได้รับนั้นทำให้เด็ก ๆ ไตร่ตรองถึงความชั่วที่มีอยู่ในโลก เช่นพวกมาเฟียที่ฆ่าได้แม้กระทั่งเด็ก ๆ เป็นไปได้อย่างไรที่จะให้อภัยกับสิ่งเลวร้ายเช่นนั้น? พวกเขาเขียนว่า “โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระเยซูคริสต์ทรงมอบความรอดให้กับทุกคน พระองค์เสด็จมาไม่ใช่เพื่อเรียกหาคนชอบธรรม ทว่าทรงเรียกหาคนบาป ผู้ที่มีความสุภาพถ่อมตัวและมีความกล้าหาญที่จะกลับเนื้อกลับตัวใหม่
พวกเขานำเอาคุณตาไปแล้วฉันก็ไม่พบท่านอีกเลย
ภาคที่สิบสาม: พระเยซูคริสต์ถูกนำลงจากไม้กางเขน ในช่วงเวลานั้นเด็กหลายคนต้องทุกข์เพราะการหายตัวไปโดยกระทันหันของปู่ย่าตายาย “มีคนโดดลงจากรถผู้ป่วยฉุกเฉินแต่งกายเหมือนมนุษย์อวกาศ สวมเครื่องป้องกันตัวอย่างแน่นหนา มีถุงมือ หน้ากาก และเกราะกำบังใบหน้า พวกเขานำคุณตาของฉันไปซึ่งหายใจลำบาก นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ฉันเห็นคุณตา เด็กคนหนึ่งเล่า ความทุกข์ยังเกิดจากความเป็นไปไม่ได้ที่จะอยุ่ใกล้ชิดปู่ย่าตายายเพื่อให้กำลังใจท่าน “ผมภาวนาสำหรับคุณตาทุกวัน โดยอาศัยวิธีนี้ผมจึงสามารถไปอยู่กับคุณตาในช่วงของการเดินทางสุดท้ายบนโลกนี้”
ข้าแต่พระเยซูคริสต์ ขอขอบคุณพระองค์ที่ทรงสอนฉันให้รู้จักรัก
ภาคที่สิบสี่: พระเยซูคริสต์ถูกนำไปฝังไว้ในคูหา การรำพึงเป็นการขอบคุณพระเยซูคริสต์ของซาร่า เด็กหญิงอายุ 12 ปี ตัวหนูต้องการขอบคุณพระองค์ เธอเขียน เพราะว่าพระองค์ทรงสอนหนูให้เอาชนะปัญหาด้วยการวางใจในพระองค์ ให้รักผู้อื่นเสมือนเป็นพี่น้องของหนูเอง และให้ลุกขึ้นทุกครั้งที่หนูหกล้มลง… วันนี้หนูขอขอบคุณพระองค์เพราะความรักอันหาที่สิ้นสุดมิได้ของพระองค์ หนูรู้ดีว่าความตายมิใช่จุดจบของทุกสิ่ง”
หากท่านไม่เป็นเหมือนเด็ก ๆ …
ในภาวนาบทสุดท้ายของการเดินรูป 14 ภาคมีผู้ใหญ่กล่าวซ้ำว่า พระเยซูคริสต์ทรงชี้นิ้วไปที่เด็ก ๆ ให้เป็นแบบฉบับเมื่อพระองค์ทรงอธิบายถึงคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรสวรรค์ ดังนั้นการวิงวอนแรกก็คือขอให้พวกเราเป็นเหมือนเด็ก ๆ “เป็นเด็กน้อยที่ต้องการทุกอย่าง เปิดชีวิตให้กว้างไว้” แล้วเด็กทุกคนในโลกก็มอบไว้ภายใต้พระเยซูคริสต์เพื่อที่พวกเขาจะได้ “เจริญเติบโตในปรีชาญาณ อายุ และพระหรรษทาน” และสุดท้าย ขอให้มีการสวดภาวนาสำหรับผู้ปกครอง และผู้อบรมเด็ก และบรรดาเยาวชน “เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มอบชีวิต และความรักให้กับเด็ก ๆ และบรรดาเยาวชนอย่างแท้จริง”
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทรำพึงการเดินรูป 14 ภาค ที่เขียนโดยเด็ก ๆ มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2021 พระสันตะปาปาฟรานซิสในการเดินรูป 14 ภาค ณ บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งแทบจะไม่มีผู้คนเข้าร่วมพิธี อันเป็นเครื่องหมายแห่งความสันโดษและการอยู่กันตามลำพังอันมีสาเหตุจากโรคระบาดโควิด-19 ที่แฝงไปด้วยความหวังจากการไตร่ตรองที่เตรียมโดยเด็ก ๆ
ความสันโดษและการอยู่ตามลำพังของผู้คนทั่วโลกโดยตัดขาดจากครอบครัวเพื่อนฝูง ต้องตกงานและขาดการทำมาหากิน ต้องดำเนินชีวิตในความกลัวและอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสำหรับตนเองและบรรดาลูกหลาน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่วนเวียนอยู่ในความคิดของช่วงที่มีการเดินรูป 14 ภาคระหว่างวันที่สองของตรีวารปัสกาปี 2021
นี่เป็นปีที่สองติดต่อกันที่พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงนำการเดินรูป 14 ภาคในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตรที่แทบจะไม่มีสัตบุรุษเข้าร่วมพิธี เนื่องจากรัฐบาลของประเทศอิตาลีได้ออกกฎระเบียบป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
พระสันตะปาปาทรงอาภรณ์สีขาวประทับอยู่บนปะรำพิธีที่ตั้งขึ้นตรงใจกลางของลานหน้าพระวิหาร พระสันตะปาปาทอดพระเนตรไปยังบริเวณลานมหาวิหารที่กำลังมืดลงโดยมีเด็ก ๆ ครูคำสอน และเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง พร้อมผู้ปกครองของเด็ก ๆ ต่างก็ผลัดกันแบกไม้กางเขนไปรอบ ๆ บริเวณเสาหินโอเบลิสก์อันสูงตระหง่าน
เด็ก ๆ ผลัดกันอ่านบทรำพึงของพวกเขาในขณะที่เพื่อน ๆ ช่วยแบกไม้กางเขนไปตามเส้นทางวงกลมที่ส่องความสว่างด้วยโคมไฟ ณ ใจกลางจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์
ความจริงปีนี้พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเลือกที่จะให้เด็ก ๆ และเยาวชน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและอนาคตเป็นผู้เตรียมบทรำพึงสำหรับการเดินรูป 14 ภาคของปี 2021
ประเพณีปฏิบัติการเดินรูป 14 ภาค
นับเป็นเวลา 50 ปีมาแล้วตั้งแต่พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงรื้อฟื้นประเพณีการเดินรูป 14 ภาคตั้งแต่ปี 1964 พระสันตะปาปาพระองค์ต่อๆมา จึงนำพิธีนี้มารื้อฟื้นมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์โดยใช้สถานที่ในกรุงโรม โดยมีสนามกีฬาโคโลเซียมเป็นฉากหลัง ทว่าตั้งแต่เริ่มเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในปีที่แล้วรัฐบาลประเทศอิตาลีได้ประกาศข้อบังคับป้องกันการระบาดของเชื้อโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดงานสาธารณะซึ่งรวมถึงเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ก็ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสื่อโทรทัศน์ไปทั่วโลกถึงผู้คนจำนวนหลายล้านคนในทุกทวีป การเดินรูปในแต่ละภาคนั้นเริ่มด้วยบทอ่านจากพระวรสารที่เกี่ยวกับมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ ตามด้วยการรำพึง จากนั้นจะมีการอธิษฐานภาวนาโดยพระสันตะปาปาแล้วลงท้ายด้วยการร้องเพลง
พระสันตะปาปาประสงค์อยู่ในความเงียบ ไม่จำเป็นต้องปราศรัยใด ๆ
อันเป็นความชัดเจนว่าพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงรู้สึกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีการปราศรัยใดๆ และพระองค์ก็มิได้เทศน์ ในความเงียบและการไตร่ตรองพิศเพ่งไปยังไม้กางเขนเป็นวิธีที่มีพลังมากที่สุดในโลกที่เงียบสงัด ซึ่งเชื้อไวรัสยังคงนำความทุกข์โศกเศร้าและการอยู่อย่างสันโดษมาให้พวกเรา อันก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่ผู้คนมีชีวิตอยู่ตามชายขอบสังคม คนตกงาน คนยากจน คนที่ขาดความยุติธรรม และการติด “เชื้อ” ของการไม่รู้ร้อนรู้หนาวในสังคมที่ก่อให้เกิดความตายและความสิ้นหวังในชีวิต
เด็ก ๆ และเยาวชนเป็นความหวังและอนาคต
ในช่วงของการรำพึงไตร่ตรองครั้งที่แล้ว ได้มุ่งประเด็นไปที่เด็ก ๆ และเยาวชนว่าพวกเขาเป็นกุญแจและเป็นความหวังแห่งการเกิดใหม่อย่างไร “ข้าแต่พระเจ้า พระบิดาผู้ทรงพระเมตตา” นี่เป็นบทภาวนา “เป็นอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ที่พวกเราติดตามพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ในการเดินรูป 14 ภาค พวกเราติดตามพระองค์ด้วยการฟังเสียงและคำภาวนาของเด็ก ๆ ที่พระองค์จัดไว้ต่อหน้าพวกเราในฐานะที่เป็นแบบฉบับเพื่อที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระองค์”
โปรดช่วยให้พวกเราเป็นเหมือนพวกเขา ต่ำต้อย มีความต้องการทุกสิ่ง เปิดใจกว้างสู่ชีวิต โปรดช่วยพวกเราให้รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ และสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในแสงสว่างที่ชัดเจน พวกเราวิงวอนพระองค์โปรดอวยพร และปกป้องเด็กทุกคนในโลก ขอให้เด็กทุกคนเจริญเติบโตขึ้นในปรีชาญาณ อายุ พระหรรษทาน เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้จักและติดตามแผนการพิเศษของพระองค์เพื่อความสุขของพวกเขาด้วยเทอญ
คำภาวนาของพระสันตะปาปาฟรานซิสดูจะเปี่ยมด้วยความยินดีในค่ำคืนนี้ ประกาศกในอาภรณ์สีขาวโดดเดี่ยวอยู่กลางเวทีกว้างใหญ่ทรงอวยพรฝูงชน พวกเราขอขอบคุณเด็ก ๆ สำหรับการรำพึงไตร่ตรองของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ค่อยๆ เดินกลับเข้าไปภายในมหาวิหาร
บทรำพึงในการเดินรูป 14 ภาค ที่เขียนโดยเด็ก ๆ พระเยซูคริสต์ทรงดับความกลัวของพวกเรา
พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมอบการเรียบเรียงทรำพึงในการเดินรูป 14 ภาคปีนี้ให้กับ Agesci Scout Group “Foligno I” (Umbria) และวัดโรมันมรณะสักขีผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งอูกันดา
การเดินรูป 14 ภาคในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ที่นำโดยพระสันตะปาปาฟรานซิสจะประกอบด้วยการรำพึง และภาพวาดโดยเด็ก ๆ และเยาวชนแห่งกรุงโรมแห่งวัดมรณะสักขีแห่งประเทศอูกันดา Agesci scout group “Foligno I” และจากสองครอบครัวที่อยู่ในกรุงโรม พวกเขาจะเป็นคนอ่านในช่วงพิธี ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตรโดยมีพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นประธานพิธี
ในความซื่อ ๆ แบบเรียบง่ายและเป็นรูปธรรมในการรำพึงที่เขียนโดยเด็ก ๆ มีพลังอำนาจสัมผัสหัวใจได้อย่างล้ำลึก ที่ทำให้พวกเราต้องคิดไตร่ตรอง และทำงานเพื่อโลกที่ดีกว่าและมีความชอบธรรมากกว่า ข้อความเชื้อเชิญพวกเราให้ถามตัวของพวกเราเองเกี่ยวกับชีวิตของพวกเราและความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวของเราและโลกของพวกเรา
กางเขนมากมายของเด็ก ๆ ในโลกนี้
ความทุกข์ของเด็ก ๆ นั้นบ่อยครั้งถูกมองข้ามในบทนำของหนังสือคู่มือน้อยๆเล่มหนึ่งมีการเน้นขณะที่เด็กๆ เข้าไปหาพระเยซูคริสต์ รำพึงรำพันว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสต์ที่รัก พระองค์ทราบดีว่าเด็กๆ อย่างพวกเราก็มีไม้กางเขนที่ต้องแบก เป็นไม้กางเขนที่ไม่เบากว่าหรือหนักกว่าที่ผู้ใหญ่แบก แต่ก็เป็นไม้กางเขนที่แท้จริง เป็นไม้กางเขนที่ทำให้พวกเรารู้สึกหนักอึ้งแม้ในเวลากลางคืน มีแต่พระองค์เท่านั้นที่ทราบว่านั่นคืออะไรและทรงสนพระทัยอย่างจริงจัง มีเพียงพระองค์เท่านั้น” ไม้กางเขนคือความน่ากลัวในความมืด การอยู่อย่างสันโดษ เพราะโรคระบาด เป็นประสบการณ์ถึงข้อจำกัดของผู้คน การถูกล้อเลียนจากผู้อื่น การรู้สึกว่าตนนั้นยากจนกว่าบรรดาเพื่อนฝูง เกิดความเสียใจเพราะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันภายในครอบครัว แต่บางคนเป็นทุกข์เพราะ “ยังมีเด็กในโลกของพวกเราที่ไม่มีอาหารจะกิน ที่ไม่สามารถไปโรงเรียน ที่ถูกบังคับให้ต้องเป็นทหาร” ข้าแต่พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงประทับอยู่ใกล้ชิดกับพวกเราเสมอ ขอพระองค์โปรดอย่าได้ทอดทิ้งพวกเรา เด็ก ๆ สรุป “โปรดช่วยให้พวกเราแบกไม้กางเขนประจำวันของพวกเราเฉกเช่นที่พระองค์ทรงแบกไม้กางเขนของพระองค์ด้วยเทอญ”
การกล่าวหาผู้บริสุทธิ์และการขาดความกล้าหาญ
ภาคที่หนึ่ง: ปองซีโอปีลาโต ได้ตัดสินให้ประหารชีวิตพระเยซูคริสต์ การรำพึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในห้องเรียนชั้นประถมปีที่ 1 มาร์คถูกกล่าวหาว่าขโมยอาหารมื้อเที่ยงของเพื่อน มีบางคนรู้ว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาปกป้องเขา ผู้เล่าเรื่องรู้สึกอายที่ขาดความกล้าหาญ เขากระทำเหมือนปีลาโต แต่บัดนี้รู้สึกเสียใจที่เลือกหนทางที่ง่ายกว่า “บางครั้งพวกเราได้แต่ฟังเสียงของผู้ที่คิดและทำแต่ความชั่ว ในขณะที่ทำสิ่งที่ถูกต้องเหมือนกับทางชันขึ้นภูเขา ซึ่งเต็มไปด้วยอุปสรรคและความยากลำบาก แต่พวกเรามีพระเยซูคริสต์อยู่เคียงข้างพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยพวกเรา”
การกระทำของพวกเราอาจมีผลกระทบต่อผู้อื่น
ภาคที่สอง: พระเยซูคริสต์ทรงรับแบกไม้กางเขน ข้อความในพระวรสารโดยนักบุญลูกาเล่าว่าพระเยซูคริสต์ทรงถูกเย้ยหยัน และถูกโบยตีจากผู้ที่เฝ้ามาหาพระองค์ การเยาะเย้ยถากถางเกิดขึ้นต่อหน้าเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแม้กระทั่งถึงจุดที่มีการรังแกข่มเหงกัน อย่างในกรณีของมาร์ตีน่าที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงดังในห้องเรียน “อาจเป็นได้ว่านั่นไม่ใช่เจตนาของพวกเราที่ต้องการทำให้เธอเป็นตัวตลก แต่พวกเราทำให้เธอต้องเจ็บปวดเพียงใดที่พวกเราหัวเราะเยาะเธอ… การเบียดเบียนไม่ใช่เป็นอะไรที่เกิดขึ้นเมื่อสองพันปีที่แล้ว บางครั้งการกระทำของพวกเราสามารถพิพากษา ปฏิบัติโดยมิชอบ และทำร้ายพี่น้องคนหนึ่งคนใดของพวกเรา”
ประสบการณ์ของความผิดพลาด
ภาคที่สาม: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่หนึ่ง พระเยซูคริสต์ทรงรู้สึกหนักอึ้งด้วยบาปของพวกเรา พระองค์ถูกเฆี่ยนและถูกสบประมาท ประสบการณ์ในช่วงนี้เป็นของเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นเด็กดีที่โรงเรียน ทว่าเขาสอบตกเป็นครั้งแรก ความล้มเหลวครั้งแรกนี้มากเกินไปสำหรับตัวฉัน ทันใดนั้นฉันรู้สึกว่าตนเองอยู่แต่ลำพังไม่มีใครมาปลอบใจฉันเลย แต่ ณ เวลานั้นกลับช่วยให้ฉันเติบโตขึ้น… บัดนี้ฉันรับรู้ว่าพวกเราแต่ละคนสามารถพลาดล้มได้ ขณะที่พระเยซูคริสต์ทรงประทับอยู่ที่นั้นเพื่อยื่นพระหัตถ์มาจูงพวกเราให้ลุกขึ้น”
ความรักของมารดา
ภาคที่สี่: พระเยซูคริสต์ทรงพบปะกับพระมารดา บทอ่านที่เลือกมาเป็นการแต่งงานที่หมู่บ้านคานาพร้อมกับความสัมพันธ์ระหว่างพระบุตรและพระมารดาอันเป็นจุดเด่น นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เด็ก ๆ คิดเกี่ยวกับมารดาของตนและความรักของแม่ที่คอยเฝ้าติดตามเขาเสมอ แม้กระทั่งพาเขาไป “ฝึกเล่นฟุตบอล โรงเรียนสอนภาษา และการเรียนคำสอนในเช้าวันอาทิตย์” การรำพึงพูดถึงความต้องการความรักของเด็กน้อย ซึ่งบางทีก็ช่วยให้พ่อแม่เป็นคนดีมากขึ้น “ถ้าฉันมีปัญหา มีคำถาม หรือมีความคิดสิ่งใดที่ไม่ค่อยเข้าท่าเข้าทาง คุณแม่ก็พร้อมเสมอที่จะฟังฉันเสมอพร้อมกับรอยยิ้ม
การเห็นพระเยซูคริสต์บนใบหน้าของผู้อื่น
ภาคที่ห้า: ซีมอน ชาวซีเรน ช่วยพระเยซูคริสต์แบกไม้กางเขน ในแต่ละวันมีโอกาสมากมายที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ประจักษ์พยานที่เล่าไว้ ณ ที่นี้เป็นความห่วงใยต่อเพื่อนต่างชาติ ซึ่งมาอยู่แถวบ้านของพวกเรา เมื่อไม่นานมานี้ เขามองดูเด็ก ๆ เล่นฟุตบอลแต่ไม่กล้าที่จะแนะนำตนเอง เด็กคนหนึ่งในกลุ่มนั้นเห็นเขาและกล้าที่จะไปพบเขาแล้วเชิญเขาให้มาเล่นกับพวกตน “ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา” เขาเขียนว่า “วาริดกลายเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่ดีที่สุดของฉัน และเป็นคนรักษาประตูของทีมฟุตบอลของพวกเราด้วย” ต่อเมื่อพวกเรารับรู้ความเป็นพี่น้องของบุคคลอื่นเท่านั้น “พวกเราจึงจะสามารถเปิดใจให้กับพระเยซูคริสต์”
การช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยกว่า
ภาคที่หก: สตรีใจศรัทธาเช็ดพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์ “แท้จริงเราบอกกับท่านว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องต่ำต้อยที่สุดเหล่านี้ของเรา ท่านก็ทำกับเราเอง” นี่เป็นพระวาจาของพระเยซูคริสต์ที่นำมาจากพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว ในการเดินรูปภาคที่หกนี้ แม้ว่าในกิจการประจำวันเด็ก ๆ จะมีบางครั้งที่มีความยุ่งยากและเศร้าเสียใจ และต้องการให้มีคนมาคอยปลอบใจ ตัวอย่างหนึ่งก็คือหลังที่แพ้การแข่งขันฟุตบอลครั้งที่มีความสำคัญ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะทำได้ดีกว่า ในขณะที่หมดกำลังใจการแข่ง “ก็มีเพื่อนของฉันคนหนึ่งถือเครื่องดื่มยืนรอฉันอยู่” เมื่อมีเพื่อนอยู่ใกล้คอยปลอบใจ “การแพ้กลายเป็นการมีโชคดีน้อยกว่าเขาเท่านั้นเอง”
การคิดถึงผู้ที่มีความต้องการมากที่สุด
ภาคที่เจ็ด: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สอง การรำพึงเกี่ยวกับประสบการณ์ของนักเรียนชั้นประถมปี่ที่ 4 คนหนึ่ง กำลังมีการเตรียมแสดงตอนสิ้นปี และเขาต้องการเป็นผู้นำไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ตรงกันข้ามครูเลือกจีโอวานนี่ซึ่งเป็นเพื่อนที่ไม่ค่อยจะสนิทกันกับเขา ตอนแรกเขารู้สึกโกรธ แต่เมื่อเข้าใจแล้วเขาก็มีความสุข ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจีโอวานนี่ก็มีบทบาทมากขึ้นในห้องเรียน เขากล่าวว่า “ความผิดหวังของฉันได้ช่วยอีกคนหนึ่ง การเลือกของครูเปิดโอกาสให้บางคนที่ต้องการสิ่งนั้น”
การช่วยเหลือผู้ที่กระทำความผิด
ภาคที่แปด: พระเยซูคริสต์พบสตรีใจศรัทธาแห่งเยรูซาเล็ม ในพระวรสารโดยนักบุญลูกาพวกเราพบว่าเมื่อพระเยซูคริสต์เห็นพวกเขาพระองค์ตรัสว่า “ธิดาแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย จงอย่างร้องไห้เพราะเรา แต่จงร้องไห้เพื่อตัวท่านเองและเพื่อลูกหลานของท่านเถิด” นี่เป็นจุดเริ่มที่จะพูดว่า “การแก้ไขความผิดของบรรดาพี่น้องนั้นยากมาก แต่เป็นสิ่งจำเป็น” นี่เป็นประสบการณ์ของสองพี่น้องที่โกหกมารดาด้วยการให้ความมั่นใจกับมารดาว่าพวกเขาได้ทำการบ้านเสร็จแล้วเมื่อตอนบ่าย ซึ่งความจริงแล้วเขาทั้งสองเล่นกันตลอดเวลา วันรุ่งขึ้นหนึ่งในสองคนนั้นพูดว่าเขารู้สึกไม่สบาย แล้วเขาก็ไม่ได้ไปโรงเรียน ส่วนอีกคนหนึ่งไปโรงเรียนแต่เมื่อเขากลับบ้านเขาจึงไปคุยกับน้อง “นั่นเป็นสิ่งไม่ถูกนะที่พวกเราโกหกแม่ และการที่น้องแกล้งว่าปวดท้อง พี่ขอเสนอว่าพวกเราทำการบ้านเดี๋ยวนี้ทันที แล้วพี่จะช่วยติววิชาที่น้องไม่ได้ไปเรียนวันนี้ เมื่อเราทั้งสองคนทำการบ้านเสร็จแล้ว พวกเราจะได้เล่นกันในตอนบ่าย”
ความสันโดษเกิดจากโรคระบาด
ภาคที่เก้า: พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สาม ข้อความพระวรสารจะเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่ตายไปแล้วผลิดอกออกผลมากมาย โรคระบาดโควิด-19 เปิดฉากเข้ามาพร้อมกับผลร้ายที่กระทบแม้แต่เด็ก ๆ ความรู้สึกส่วนของประชาชนคือความสันโดษ พวกเขาไม่สามารถไปเยี่ยมญาติ โรงเรียนปิด พวกเขาคิดถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียน “ความรู้สึกที่น่าสงสารที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายบางครั้งแทบจะทนไม่ไหวอีกแล้ว พวกเรารู้สึกว่า “ทุกคนทอดทิ้งพวกเรา” จนพวกเราไม่สามารถแม้กระทั่งที่จะยิ้ม เฉกเช่นพระเยซูคริสต์ พวกเราพบตนเองว่านอนแผ่ติดอยู่กับพื้นดิน”
ความชื่นชมยินดีที่เกิดจากการให้
ภาคที่สิบ: พระเยซูคริสต์ถูกเปลื้องอาภรณ์ ตรงนี้ก็เช่นกัน เด็กหญิงตัวน้อยๆ คนหนึ่งเล่าว่าเธอสะสมตุ๊กตาไว้ในห้องเป็นดุจขุมทรัพย์ วันหนึ่งเธอรู้มาว่าทางวัดกำลังรวบรวมตุ๊กตาเพื่อนำไปมอบให้กับเด็กผู้ลี้ภัยที่โคโซโว เธอจึงเลือกตุ๊กตาบางตัวของเธอที่เก่าแก่ทีสุดที่เธอชอบน้อยที่สุดเตรียมใส่กล่อง แล้วเธอก็พูดว่า “แต่หนูรู้สึกว่ายังทำไม่เพียงพอ เมื่อถึงเวลาที่เธอจะเข้านอนกล่องนั้นเต็มไปด้วนตุ๊กตาแล้วหิ้งที่เก็บตุ๊กตาของเธอก็ว่างเปล่า” การจัดการกับของที่เหลือใช้ทำให้วิญญาณของหนูเบาขึ้น และการให้ทำหนูมีความสุขมากยิ่งขึ้น
คริสต์มาสที่อุทิศให้กับการบริการรับใช้คนยากจน
ภาคที่สิบเอ็ด: พระเยซูคริสต์ถูกตรึงด้วยตะปูบนไม้กางเขน “วันคริสต์มาสพวกเราไปที่กรุงโรมกับลูกเสือเพื่อเยี่ยมซิสเตอร์ธรรมทูตคณะพระเมตตาเพื่อแจกอาหารให้กับผู้ที่ต้องการแทนที่จะเฉลิมฉลองกันภายในครอบครัวของพวกเรา “นี่ไม่ใช่เป็นการเสียสละเพียงเล็กน้อยดังที่อธิบายในการรำพึงของการเดินรูปภาคที่สิบเอ็ด แต่เด็กชายคนหนึ่งระบายความในใจว่า “ตอนขากลับผมคิดถึงใบหน้าเหล่านั้นของคนที่ผมช่วยเหลือ การยิ้มของพวกเขาและเรื่องราวของพวกเขา…ความคิดที่ว่าผมได้นำความสุขเล็กน้อยไปมอบให้พวกเขาทำให้คริสต์มาสนี้จะลืมเสียมิได้ “การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรัก” เป็นคำสอนที่พระเยซูคริสต์มอบให้พวกเราจากไม้กางเขน
พระเยซูคริสต์ทรงให้อภัยคนบาปผู้ที่เป็นทุกข์เสียใจ
ภาคที่สิบสอง: พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แบบฉบับที่พระเยซูคริสต์ทรงให้อภัยความชั่วที่พระองค์ได้รับนั้นทำให้เด็ก ๆ ไตร่ตรองถึงความชั่วที่มีอยู่ในโลก เช่นพวกมาเฟียที่ฆ่าได้แม้กระทั่งเด็ก ๆ เป็นไปได้อย่างไรที่จะให้อภัยกับสิ่งเลวร้ายเช่นนั้น? พวกเขาเขียนว่า “โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระเยซูคริสต์ทรงมอบความรอดให้กับทุกคน พระองค์เสด็จมาไม่ใช่เพื่อเรียกหาคนชอบธรรม ทว่าทรงเรียกหาคนบาป ผู้ที่มีความสุภาพถ่อมตัวและมีความกล้าหาญที่จะกลับเนื้อกลับตัวใหม่
พวกเขานำเอาคุณตาไปแล้วฉันก็ไม่พบท่านอีกเลย
ภาคที่สิบสาม: พระเยซูคริสต์ถูกนำลงจากไม้กางเขน ในช่วงเวลานั้นเด็กหลายคนต้องทุกข์เพราะการหายตัวไปโดยกระทันหันของปู่ย่าตายาย “มีคนโดดลงจากรถผู้ป่วยฉุกเฉินแต่งกายเหมือนมนุษย์อวกาศ สวมเครื่องป้องกันตัวอย่างแน่นหนา มีถุงมือ หน้ากาก และเกราะกำบังใบหน้า พวกเขานำคุณตาของฉันไปซึ่งหายใจลำบาก นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ฉันเห็นคุณตา เด็กคนหนึ่งเล่า ความทุกข์ยังเกิดจากความเป็นไปไม่ได้ที่จะอยุ่ใกล้ชิดปู่ย่าตายายเพื่อให้กำลังใจท่าน “ผมภาวนาสำหรับคุณตาทุกวัน โดยอาศัยวิธีนี้ผมจึงสามารถไปอยู่กับคุณตาในช่วงของการเดินทางสุดท้ายบนโลกนี้”
ข้าแต่พระเยซูคริสต์ ขอขอบคุณพระองค์ที่ทรงสอนฉันให้รู้จักรัก
ภาคที่สิบสี่: พระเยซูคริสต์ถูกนำไปฝังไว้ในคูหา การรำพึงเป็นการขอบคุณพระเยซูคริสต์ของซาร่า เด็กหญิงอายุ 12 ปี ตัวหนูต้องการขอบคุณพระองค์ เธอเขียน เพราะว่าพระองค์ทรงสอนหนูให้เอาชนะปัญหาด้วยการวางใจในพระองค์ ให้รักผู้อื่นเสมือนเป็นพี่น้องของหนูเอง และให้ลุกขึ้นทุกครั้งที่หนูหกล้มลง… วันนี้หนูขอขอบคุณพระองค์เพราะความรักอันหาที่สิ้นสุดมิได้ของพระองค์ หนูรู้ดีว่าความตายมิใช่จุดจบของทุกสิ่ง”
หากท่านไม่เป็นเหมือนเด็ก ๆ …
ในภาวนาบทสุดท้ายของการเดินรูป 14 ภาคมีผู้ใหญ่กล่าวซ้ำว่า พระเยซูคริสต์ทรงชี้นิ้วไปที่เด็ก ๆ ให้เป็นแบบฉบับเมื่อพระองค์ทรงอธิบายถึงคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรสวรรค์ ดังนั้นการวิงวอนแรกก็คือขอให้พวกเราเป็นเหมือนเด็ก ๆ “เป็นเด็กน้อยที่ต้องการทุกอย่าง เปิดชีวิตให้กว้างไว้” แล้วเด็กทุกคนในโลกก็มอบไว้ภายใต้พระเยซูคริสต์เพื่อที่พวกเขาจะได้ “เจริญเติบโตในปรีชาญาณ อายุ และพระหรรษทาน” และสุดท้าย ขอให้มีการสวดภาวนาสำหรับผู้ปกครอง และผู้อบรมเด็ก และบรรดาเยาวชน “เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มอบชีวิต และความรักให้กับเด็ก ๆ และบรรดาเยาวชนอย่างแท้จริง”
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทรำพึงการเดินรูป 14 ภาค ที่เขียนโดยเด็ก ๆ มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)