กรุงโรม, วันที่ 16 กรกฎาคม 2021
พี่น้องในสมณภราดรภาพ ที่รักยิ่ง
เฉกเช่นสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงประกาศสมณอัตตาณัติ “Summorum Pontificum” ข้าพเจ้าประสงค์ที่จะส่งสมณลิขิตฉบับนี้ควบคู่มากับสมณอัตตาณัติเรื่อง “ผู้พิทักษ์ธรรมประเพณี – Traditionis custodes” เพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจที่ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจประกาศสิ่งนี้ ข้าพเจ้าขอกล่าวกับท่านด้วยความวางใจและจริงใจในนามของ “ความเอื้ออาทรต่อพระศาสนจักรทั้งมวลที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความดีงามของพระศาสนจักรสากล” ดังที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เตือนใจพวกเรา [1]
ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจแรงจูงใจที่ทำให้พระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่ 2 และพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงอนุญาตประกาศให้ใช้บทพิธีกรรมบูชาขอบพระคุณโรมันของนักบุญปีโอที่ 5 และปรับปรุงโดยพระสันตะปาปานักบุญยอห์นที่ 23 ในปี 1962 ในบทพิธีบูชาขอบพระคุณอันเป็นเอกสิทธิ์ที่ได้รับมาจากสมณกระทรวงเพื่อการนมัสการในปี 1984 [2] และมีการยืนยันโดยพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ในสมณอัตตาณัติ “Ecclesia Dei” [3] สิ่งที่สำคัญก็คือได้รับแรงบันดาลใจจากความปรารถนาที่จะส่งเสริมการเยียวยาการแตกแยกที่เกิดจากบิชอปเลอแฟ็บร์ (Lefebvre) ด้วยความตั้งใจที่จะฟื้นฟูความเป็นเอกภาพของพระศาสนจักรคณะบิชอปจึงได้รับการขอร้องให้ยอมรับด้วยใจกว้างถึง “แรงปรารถนาอย่างชอบธรรม” ของประชาสัตบุรุษที่ขอให้สามารถใช้บทพิธีบูชาขอบพระคุณดังกล่าว
หลายบุคคลในพระศาสนจักรถืออภิสิทธิ์ว่านี่เป็นโอกาสที่จะใช้บทพิธีบูชาขอบพระคุณโรมันได้อย่างเสรีที่เสนอโดยนักบุญปีโอที่ 5 และใช้พิธีกรรมดังกล่าวควบคู่ไปกับพิธีบูชาขอบพระคุณโรมันที่นำเสนอโดยนักบุญเปาโลที่ 6 เพื่อที่จะจัดระเบียบสำหรับสถานการณ์ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จึงทรงเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในพระศาสนจักร บาดหลวงหลายองค์และหลายชุมชน “ใช้บทพิธีกรรมด้วยความกตัญญูถึงความเป็นไปได้ที่เสนอโดยสมณอัตตาณัติของนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ด้วยการเน้นว่าการพัฒนานี้ยังมองไม่ลึกเพียงพอ ดังนั้นในปี 1988 สมณอัตตาณัติ “Summorum pontificum” และในปี 2007 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จึงตั้งพระทัยที่จะ “ตั้งกฎเกณฑ์ที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้นในเชิงกฎหมาย” สำหรับประเด็นนี้ [4] เพื่อที่เข้าถึงคนเหล่านั้นรวมทั้งเยาวชนเมื่อ “พวกเขาพบรูปแบบพิธีกรรมนี้ต่างก็รู้สึกชื่นชอบและพบว่ามีความเหมาะสมสำหรับตนเองเพื่อที่จะพบกับพระธรรมล้ำลึกแห่งศีลมหาสนิท” [5] พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จึงประกาศว่าพิธีบูชาขอบพระคุณที่นำเสนอโดยนักบุญปีโอที่ 5 และปรับปรุงโดยนักบุญยอห์นที่ 23 ในฐานะที่เป็นการแสดงออกอย่างเป็นพิเศษถึงกฎเกณฑ์การสวดภาวนาเดียวกัน หรือ “lex orandi” จึงอนุญาต “ความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นในการใช้เพื่อประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณของปี 1962” [6]
ในการตัดสินใจของพระสันตะปาปาพระองค์ก่อน ๆ มั่นใจว่าการออกกฎเกณฑ์เช่นนั้นจะไม่สร้างความสงสัยให้กับมาตรการที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และจะไม่เป็นการลดอำนาจของพระสันตะปาปาด้วยวิธีนี้ สมณอัตตาณัติยอมรับว่า พิธีบูชาขอบพระคุณที่ส่งเสริมโดยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 เป็นการแสดงออกตามปกติของกฎเกณฑ์ของการสวดภาวนา (lex orandi) ถือตามจารีตของพระศาสนจักรลาติน [7] ซึ่งไม่ได้เป็นการปฏิรูปจารีตพิธีกรรมแต่ประการใด ทว่าเป็นการประกาศด้วยความปรารถนาที่จะยอมรับ “การอธิษฐานถาวนาที่ไม่รู้จักหยุดหย่อนของประชาสัตบุรุษ” โดยอนุญาตให้พวกเขา “เฉลิมฉลองการบูชาพิธีบูชาขอบพระคุณตามรูปแบบที่ได้ปรับปรุง ชื่อว่า “editio typica” แห่งจารีตพิธีกรรมในพิธีบูชาขอบพระคุณโรมันที่ส่งเสริมโดยนักบุญยอหนที่ 23 ในปี 1962 และไม่เคยถูกยกเลิกว่าเป็นรูปแบบจารีตพิธีพิเศษของพระศาสนจักร” [8] นี่ทำให้พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 รู้สึกสบายพระทัยในการไตร่ตรองของพระองค์ว่าหลายบุคคลปรารถนา “จะหารูปแบบจารีตพิธีที่ตนชอบ” เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการยึดมั่นในคุณสมบัติที่ผูกมัดแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และมีความซื่อสัตย์ต่อพระสันตะปาปาและบิชอป” [9] สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือพระองค์ทรงประกาศว่าไม่พบหลักฐานใดๆ ที่เกรงกลัวกันว่าจะมีการแตกแยกในชุมชนวัด เพราะ “รูปแบบทั้งสองลักษณะของการใช้จารีตโรมันจะเอื้อต่อกันและกัน” [10] ดังนั้นพระองค์จึงเชื้อเชิญบรรดาบิชอปให้เลิกสงสัยและเลิกกังวลใจหวั่นกลัว และขอให้ยอมรับมาตรการใหม่ “โดยใส่ใจว่าทุกอย่างจะดำเนินไปในสันติสุขและในความสงบ” พร้อมกับสัญญาว่า “วิธีการนี้น่าจะเป็นไปได้ที่จะ“หาทางออก” ในกรณีที่ “ความยากลำบากเปิดประตูให้” สำหรับการปฏิบัติตามการชี้นำ “เมื่อสมณอัตตาณัติมีผลใช้บังคับ” [11]
ด้วยเวลาที่ผ่านมา 13 ปี ข้าพเจ้าบัญชาให้สมณกระทรวงเพื่อพระสัจธรรมส่งคำถามไปยังบรรดาบิชอปเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสมณอัตตาณัติ “Summorum Pontificum” คำตอบเผยให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ทำให้ข้าพเจ้าเศร้าใจ และชวนให้ข้าพเจ้าเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
อันเป็นเรื่องน่าเศร้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการอภิบาลของพระสันตะปาปาพระองค์ก่อนๆ ที่ตั้งพระทัยที่จะ “กระทำทุกอย่างที่เป็นได้เพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้ที่มีความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะสร้างเอกภาพเพื่อให้สามารถคงอยู่ในความเป็นเอกภาพ หรือค้นพบความเป็นเอกภาพใหม่” [12] ทว่าบ่อย ๆ ครั้งกลับไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง โอกาสที่นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 เปิดทางให้แล้ว และด้วยความใจกว้างอันยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีกของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ที่ประสงค์จะค้นพบเอกภาพของพระศาสนจักรในแต่ละแห่งที่มีจารีตพิธีกรรมแตกต่างกันกลับกลายเป็นทำให้เรื่องนี้เกิดช่องว่างกว้างยิ่งขึ้น ทำให้พระศาสนจักรห่างไกลกันเพิ่มขึ้น และส่งเสริมความไม่ลงรอยกันซึ่งเป็นการทำร้ายพระศาสนจักร ปิดหนทางของพระศาสนจักรด้วยความรู้สึกอ่อนไหวที่แตกต่างกันในเรื่องของจารีตพิธีกรรมจนทำให้พระศาสนจักรตกอยู่ในอันตรายที่จะแตกแยกกันมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกันข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจกับการล่วงละเมิดในการฉลองจารีตพิธีกรรมจากทุกฝ่าย พร้อมกับพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ข้าพเจ้าละอายใจกับความจริงที่ว่า “ในหลายท้องที่ การฉลองจารีตพิธีกรรมไม่ได้ปฏิบัติไปตามการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณแบบใหม่ ทว่ากลับนำไปตีความกันตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเสริมแต่งแบบรับไม่ได้” [13] และข้าพเจ้ายังรู้สึกเสียใจที่ว่าวิธีการรวมทั้งศาสนภัณฑ์ที่ใช้ในพิธีบูชาขอบพระคุณไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการประกอบพิธีตาม “Missale Romanum” ของปี 1962 ซึ่งบ่อยครั้งดูเหมือนจะเป็นการปฏิเสธไม่เพียงแค่การปฏิรูปจารีตพิธีกรรมเท่านั้น แต่ยังไม่ยอมรับสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ด้วย ด้วยการอ้างอิงเหตุผลที่ไม่มีเหตุมีมูลแท้จริง ซึ่งเป็นการทรยศต่อธรรมประเพณีในการปฏิบัติและผิดเพี้ยนกับ “พระศาสนจักรที่แท้จริง” หนทางของพระศาสนจักรต้องมองภายในบริบทแห่งพลวัตของธรรมประเพณี “ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอัครธรรมทูตและพัฒนาเรื่อยมาในพระศาสนจักรด้วยความช่วยเหลือของพระจิต” (DV. 8) ขั้นตอนแห่งพลวัตนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้โดยสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ซึ่งบรรดาบิชอปคาทอลิกต่างมาพร้อมหน้ากันเพื่อการฟังและการไตร่ตรองถึงหนทางของพระศาสนจักรที่ชี้นำโดยพระจิต การสงสัยมิติของสภาสังคายนาคือการสงสัยในความตั้งใจของปิตาจารย์เหล่านั้น ซึ่งทำหน้าที่อย่างผู้มีอำนาจอันเป็นหมู่คณะของตนในเรื่องที่มีความสำคัญ “cum Petro et sub Petro” (พร้อมกับเปโตรและภายใต้เปโตร) ในขณะประชุมสภาสังคายนา [14] และในที่สุดก็เป็นการสงสัยเกี่ยวกับองค์พระจิตเองผู้ทรงชี้นำพระศาสนจักร
เป้าหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตที่มอบให้โดยพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ เป็นจุดสำคัญแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 จากการลงคะแนนเสียงของบรรดาบิชอปปรากฏว่าเป็นการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ อย่างสำนึกรู้ตัว และมีส่วนอย่างที่สุดแห่งประชากรทั้งปวงของพระเจ้าในจารีตพิธีกรรม [15] พร้อมกับแนวปฏิบัติที่ระบุไว้โดยพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ในสมณสาส์น “Mediator Dei” ในการฟื้นฟูจารีตพิธีกรรม [16] พระธรรมนูญด้านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ “Sacrosanctum Concilium” ยืนยันถึงแนวทางการสอนนี้ด้วยการ “ฟื้นฟูและทำให้จารีตพิธีกรรมมีการเจริญก้าวหน้า” [17] และด้วยการชี้ให้เห็นถึงหลักการที่ควรเป็นตัวชี้นำในการปฏิรูป [18] โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการระบุว่าหลักการนี้เกี่ยวกับจารีตโรมันและจารีตอื่น ๆ พร้อมกับขอร้องให้ “มีการฟื้นฟูจารีตพิธีกรรมด้วยความระมัดระวังด้วยแสงสว่างแห่งธรรมประเพณีที่ดีงาม และจะต้องมีพลังใหม่เพื่อที่จะพบกับความต้องการของประชาสัตบุรุษและสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน” [19] การปฏิรูปจารีตพิธีมีบนพื้นฐานแห่งหลักการเหล่านี้ซึ่งมีการแสดงออกได้ดีที่สุดในบทพิธีบูชาขอบพระคุณโรมัน (Roman Missal) ซึ่งมีการพิมพ์ลงใน “editio typica” โดยนักบุญเปาโลที่ 6 [20] และฉบับปรับปรุงโดยนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 [21] เพราะฉะนั้นต้องถือว่าจารีตโรมันที่ดัดแปลงหลายครั้งตลอดเวลาหลายศตวรรษตามความจำเป็นของกาลเวลานั้นไม่เพียงแค่จะต้องรักษาไว้เท่านั้น แต่จะต้องฟื้นฟู “ด้วยการปฏิบัติตามอย่างซื่อสัตย์ต่อธรรมประเพณีด้วย” [22] ผู้ใดที่ปรารถนาจะฉลองด้วยความศรัทธาด้วยพิธีกรรมในรูปแบบเก่าสามารถพบได้ในบทประจำพิธีบูชาขอบพระคุณ (Roman Missal) ในทุกองค์ประกอบของจารีตโรมันในสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประมวลกฎหมายโรมันซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
เหตุผลสุดท้ายแห่งการตัดสินใจของข้าพเจ้าก็คือ คำพูดและทัศนคติที่ชัดเจนมากของผู้คนเป็นอันมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกพิธีการเฉลิมฉลองตามหนังสือคู่มือจารีตพิธีก่อนสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และการปฏิเสธของพระศาสนจักรพร้อมกับสถาบันต่างๆ ในนามของสิ่งที่เรียกกันว่า “พระศาสนจักรที่แท้จริง” ในที่นี้พวกเรากำลังพูดถึงกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับความเป็นหนึ่งเดียวกันและหล่อเลี้ยงความคิดอันมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการแตกแยก – “ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของเปาโล ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของอาปอลโล ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของเชฟัส ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า” – ซึ่งอัครธรรมทูตเปาโลคัดค้านและมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง [23] ในการปกป้องความเป็นเอกภาพแห่งพระวรกายของพระเยซูคริสต์ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องถอนการอนุญาตที่กระทำโดยพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ ความผิดพลาดที่เกิดจากการอนุญาตให้มีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมพิธีบูชาขอบพระคุณด้วย “Missale Romanum ของปี 1962” เพราะว่า “การฉลองจารีตพิธีไม่ใช่เป็นการกระทำส่วนตัว แต่เป็นการเฉลิมฉลองในนามพระศาสนจักร ซึ่งเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์แห่งความเป็นเอกภาพ” [24] ซึ่งจำเป็นต้องกระทำไปโดยการเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระศาสนจักร สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ในขณะที่ยืนยันถึงสายสัมพันธ์กันภายนอกกับพระศาสนจักร – การแสดงความเชื่อ ศีลศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน – ยืนยันพร้อมกับนักบุญออกัสตินว่าเพื่อที่จะดำรงอยู่ในพระศาสนจักรไม่เพียงแค่ “ด้วยกายภาพ” แต่ยังต้อง “ด้วยหัวใจ จิตวิญญาณ” ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำหรับความรอด [25]
พี่น้องในสมณภราดรภาพที่รัก ในพระธรรมนูญ “Sacrosanctum Concilium” อธิบายว่าพระศาสนจักร “เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์แห่งความเป็นเอกภาพ” ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่านี่เป็น “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ที่มารวมตัวกันและปกครองภายใต้อำนาจของบิชอป” [26] ในขณะที่พระธรรมนูญ “Lumen gentium” เตือนใจว่าบิชอปแห่งกรุงโรมเป็น “หลักการและเสาหลักอันถาวรที่มองเห็นได้แห่งความเป็นเอกภาพทั้งของบรรดาบิชอปและบรรดาสัตบุรุษ” ในพระธรรมนูญยังแถลงว่าบิชอปเป็น “หลักการและเสาหลักที่มองเห็นได้แห่งความเป็นเอกภาพแห่งพระศาสนจักรท้องถิ่นของท่าน ซึ่งในและอาศัยพระศาสนจักรนี้ มีพระศาสนจักรคาทอลิกอยู่เพียงแค่พระศาสนจักรเดียว” [27]
เพื่อตอบสนองกับการขอร้อง ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจเด็ดขาดยกเลิกแนวทางปฏิบัติทุกอย่าง คำแนะนำ การอนุญาต และธรรมประเพณีที่ปฏิบัติอันมาก่อนสมณอัตตาณัติฉบับปัจจุบัน และขอประกาศว่าหนังสือคู่มือจารีตพิธีกรรมที่ออกโดยสมเด็จพระสันตะปาปานักบุญเปาโลที่ 6 และยอห์น ปอลที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เป็นการแสดงออกหนึ่งเดียวถึงกฎเกณฑ์การสวดภาวนา “lex orandi” แห่งจารีตพิธีกรรมโรมัน ข้าพเจ้าตัดสินใจเช่นนี้จากความจริงที่ว่า หลังจากสังคายนานครเตร็นต์ นักบุญปีโอที่ 5 ได้ถอนจารีตพิธีกรรมทุกอย่างที่ไม่สามารถอ้างได้ถึงจารีตโบราณโดยมีคำสั่งให้ใช้เพียงแค่ “Missale Romanum” ในพระศาสนจักรลาตินทั้งมวล ตลอดระยะเวลา 4 ศตวรรษ “Missale Romanum” นี้ที่ออกโดยนักบุญปีโอที่ 5 จึงเป็นการแสดงออกที่เป็นหลักแห่งกฎเกณฑ์การสวดภาวนา “lex orandi” แห่งจารีตโรมัน และทำหน้าที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของพระศาสนจักร โดยไม่ปฏิเสธศักดิ์ศรี และความสง่างามแห่งจารีตพิธีกรรมนี้คณะบิชอปที่มารวมตัวกันในการประชุมสภาสังคายนาต่างขอร้องให้มีการปฏิรูป ความตั้งใจของท่านเหล่านั้นคือ “ประชาสัตบุรุษจะไม่เป็นเพียงฐานะผู้ช่วยที่เป็นเพียงแค่บุคคลแปลกหน้าและยืนดูพิธีกรรมอย่างเงียบๆ ในพระธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อ แต่ด้วยความเข้าใจจารีตพิธีกรรม และในการสวดภาวนา เมื่อนั้นพวกเขาก็จะมีส่วนร่วมในพิธีศักดิ์สิทธิ์โดยรู้ตัว ด้วยความศรัทธา และด้วยความแข็งขัน” [28] พระสันตะปาปานักบุญเปาโลที่ 6 เมื่อทรงไตร่ตรองว่างานปรับปรุงพิธีบูชาขอบพระคุณโรมันได้มีการเริ่มต้นขึ้นแล้วโดยพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 จึงประกาศว่าการแก้ไขพิธีบูชาขอบพระคุณโรมันที่ดำเนินไปในแสงสว่างแห่งจารีตจากต้นตอโบราณมีเป้าหมายที่จะเปิดโอกาสให้พระศาสนจักรลุกขึ้นใหม่ในหลากหลายภาษาโดยเป็น “การภาวนาหนึ่งเดียวกันที่เหมือนกัน” อันแสดงถึงความเป็นเอกภาพของตน [29] ความเป็นเอกภาพนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจที่จะให้มีขึ้นใหม่อย่างทั่วถึงในพระศาสนจักรแห่งพิธีกรรมจารีตโรมัน
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เมื่ออธิบายถึงความเป็นคาทอลิกแห่งประชากรของพระเจ้าเตือนใจว่า “ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร” ยังมีพระศาสนจักรต่างๆที่มีธรรมประเพณีเฉพาะของตนเอง โดยปราศจากความลำเอียงต่ออำนาจสูงสุดของอัครธรรมทูตเปโตรซึ่งเป็นหัวหน้าแห่งความเป็นหนึ่งเดียวสากลแห่งความรัก อันมีหลักประกันแห่งความหลากหลายที่ชอบธรรม และเป็นประกันว่าพระศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่เพียงแค่จะไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อพระศาสนจกรสากลเท่านั้น แต่ที่สำคัญยังบริการรับใช้พระศาสนจักรสากลด้วย” [30] ในขณะที่ปฏิบัติพันธกิจบริการรับใช้ความเป็นเอกภาพ ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะยกเลิกการอนุญาตที่พระสันตะปาปาองค์ก่อนๆข้าพเจ้าเคยให้อนุญาตไว้ ข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านช่วยแบ่งปันภารกิจนี้กับข้าพเจ้าในรูปแบบแห่งการมีส่วนร่วมในความเอื้ออาทรเพื่อพระศาสนจักรทั้งมวลอันเป็นสิ่งที่คู่ควรสำหรับบิชอป ในสมณอัตตาณัตินี้ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนาที่จะยืนยันว่า สิ่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับบิชอปในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมดูแล ส่งเสริม และพิทักษ์ชีวิตพิธีกรรมแห่งพระศาสนจักร บิชอปต้องเป็นเสาหลักแห่งความเป็นเอกภาพให้มีกฎระเบียบในการเฉลิมฉลองจารีตพิธีกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับท่านที่จะอนุญาตในพระศาสนจักรท้องถิ่นของท่านในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจในท้องที่ซึ่งการใช้บทพิธีบูชาขอบพระคุณ “Missale Romanum ของปี 1962” โดยอาศัยการชี้นำของสมณอัตตาณัติปัจจุบัน ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับท่านที่จะดำเนินการไปตามเส้นทางที่จะหวนกลับไปสู่รูปแบบที่เป็นเอกฉันแห่งการเฉลิมฉลองและที่จะกำหนดสำหรับแต่ละกรณีเกี่ยวกับความจริงของกลุ่มเฉพาะที่ทำการเฉลิมฉลองด้วยจารีตพิธีกรรม “Missale Romanum”
ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการดำเนินการในเขตศาสนปกครองของท่านโดยหลักใหญ่แล้วจะมีสองหลักการด้วยกัน กล่าวคือ ในมุมมองหนึ่ง ยกคุณประโยชน์ให้กับเขาเหล่านั้นที่มีรากลึกในรูปแบบเก่าดั่งเดิมแห่งการเฉลิมฉลองพิธีกรรม และในเวลาอันควรจำเป็นต้องหันกลับมาใช้จารีตโรมันที่ส่งเสริมโดยนักบุญปีโอที่ 5 และนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 และในอีกมุมมองหนึ่ง ยุติการก่อสร้างวัดแบบส่วนตัวใหม่ที่สัมพันธ์กับความต้องการและความปรารถนาของบาดหลวงบางองค์ แทนที่จะเป็นความต้องการที่แท้จริงแห่ง “ประชากรของพระเจ้า” ในขณะเดียวกันข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านต้องระมัดระวังในการสร้างหลักประกันว่าทุกจารีตพิธีกรรมต้องมีการเฉลิมฉลองด้วยความสง่างามและด้วยซื่อสัตย์ตามคู่มือจารีตพิธีกรรมที่ส่งเสริมโดยสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 โดยไม่เน้นไปยังศรัทธาพิเศษใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดได้ ผู้ที่เตรียมตัวเป็นบาดหลวงและบาดหลวงใหม่ควรได้รับการอบรมให้ปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์ตามการแนะนำของคู่มือในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิรูปพิธีกรรมดังที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 มีความประสงค์
ข้าพเจ้าขอวอนพระจิตแห่งพระเยซูคริสต์ผู้ที่เสด็จกลับคืนพระชนม์ได้โปรดทำให้ท่านเข้มแข็ง และยึดมั่นในการบริการรับใช้ประชากรของพระเจ้าที่ท่านได้รับมอบหมายจากพระเยซูคริสต์ เพื่อการเอาใจใส่ดูแลและการเฝ้าระวังของท่านจะเป็นการแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในความเป็นเอกภาพของจารีตพิธีกรรม ซึ่งดำรงไว้ซึ่งความมั่งคั่งแห่งธรรมประเพณ๊โรมัน ข้าพเจ้าภาวนาสำหรับท่าน และขอให้ท่านภาวนาสำหรับข้าพเจ้าด้วย
ฟรานซิส
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บสมณลิขิตภาคภาษาไทยแบบไม่เป็นทางการมาแบ่งปันและไตร่ตรอง)
เขิงอรรถ
_____________________________
[1] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Dogmatic Constitution on the Church “ Lumen Gentium”, 21 november 1964, n. 23 AAS 57 (1965) 27.
[2] Cfr. Congregation for Divine Worship, Letter to the Presidents of the Conferences of Bishops “Quattuor abhinc annos”, 3 october 1984: AAS 76 (1984) 1088-1089
[3] John Paul II, Apostolic Letter given Motu proprio “ Ecclesia Dei”, 2 july 1988: AAS 80 (1998) 1495-1498.
[4] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 796.
[5] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 796.
[6] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 797.
[7] Benedict XVI, Apostolic Letter given Motu proprio “ Summorum Pontificum”, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 779.
[8] Benedict XVI, Apostolic Letter given Motu proprio “ Summorum Pontificum”, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 779.
[9] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 796.
[10] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 797.
[11] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 798.
[12] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 797-798.
[13] Benedict XVI, Letter to the Bishops on the occasion of the publication of the Apostolic Letter “Motu proprio data” Summorum Pontificum on the use of the Roman Liturgy prior to the reform of 1970, 7 july 2007: AAS 99 (2007) 796.
[14] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Dogmatic Constitution on the Church “ Lumen Gentium”, 21 november 1964, n. 23: AAS 57 (1965) 27.
[15] Cfr. Acta et Documenta Concilio Oecumenico Vaticano II apparando, Series I, Volumen II, 1960.
[16] Pius XII, Encyclical on the sacred liturgy “ Mediator Dei”, 20 november 1947: AAS 39 (1949) 521-595.
[17] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, nn. 1, 14: AAS 56 (1964) 97.104.
[18] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 3: AAS 56 (1964) 98.
[19] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 4: AAS 56 (1964) 98.
[20] Missale Romanum ex decreto Sacrosancti Oecumenici Concilii Vaticani II instauratum auctoritate Pauli PP. VI promulgatum, editio typica, 1970.
[21] Missale Romanum ex decreto Sacrosancti Oecumenici Concilii Vaticani II instauratum auctoritate Pauli PP. VI promulgatum Ioannis Pauli PP. II cura recognitum, editio typica altera, 1975; editio typica tertia, 2002; (reimpressio emendata 2008)
[22] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 3: AAS 56 (1964) 98.
[23] 1 Cor 1,12-13.
[24] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 26: AAS 56 (1964) 107.
[25] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Dogmatic Constitution on the Church “ Lumen Gentium”, 21 november 1964, n. 14: AAS 57 (1965) 19.
[26] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 6: AAS 56 (1964) 100.
[28] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Dogmatic Constitution on the Church “ Lumen Gentium”, 21 november 1964, n. 23: AAS 57 (1965) 27.
[28] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Costitution on the sacred liturgy “ Sacrosanctum Concilium”, 4 december 1963, n. 48: AAS 56 (1964) 113.
[29] Paul VI, Apostolic Constitution “ Missale Romanum” on new Roman Missal, 3 april 1969, AAS 61 (1969) 222.
[30] Cfr. Second Vatican Ecumenical Council, Dogmatic Constitution on the Church “ Lumen Gentium”, 21 november 1964, n. 13: AAS 57 (1965) 18.