วันอังคาร, 21 มกราคม 2568
  

คำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิสประทานแก่ผู้เข้าร่วมหลักสูตร “การใช้ชีวิตในพิธีกรรมอย่างสมบูรณ์”

Dear brothers and sisters, good morning and welcome!

พี่น้องชายหญิงทั้งหลาย อรุณสวัสดิ์ พ่อขอยินดีต้อนรับทุกคน !

And I apologize for the delay, but it has been a hectic morning.

พ่อขออภัยที่มาสาย แต่เมื่อเช้านี้พ่อติดธุระนิดหน่อย

I thank the Father Abbot Primate for his words; I greet the Magnificent Rector and the Dean of the Pontifical Liturgical Institute, the professors and the students; and I greet the Cardinal Prefect of the Dicastery for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments] and the Monsignor Secretary – thank you for being here. I am pleased to welcome you and I have appreciated the initiative of organizing a formative itinerary addressed to those who prepare and guide the prayer of diocesan communities, in communion with the bishops and in the service of the dioceses.

            พ่อขอขอบคุณคุณพ่ออธิการอารามสำหรับคำปราศรัย พ่อขอกล่าวทักทายผู้อำนวยการและคณะบดีประจำสถาบันพิธีกรรม บรรดาอาจารย์และนักเรียน อีกทั้งคาร์ดินัล สมณมณตรีกระทรวงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และกฎเกณฑ์เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ และมงซินญอร์เลขานุการ พ่อขอขอบคุณที่ทุกคนมาที่นี่ในวันนี้ พ่อรู้สึกยินดีในการต้อนรับทุกคน และพ่อรู้สึกดีใจที่เห็นการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ที่เตรียมตัวฝึกฝนและนำการภาวนาในชุมชุนวัดต่าง ๆ เพื่อรับใช้เขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวกับบิชอป

This course, which is now coming to an end, is in keeping with the indications of the Apostolic Letter Desiderio desideravi on liturgical formation. Indeed, the conduct of celebrations demands preparation and commitment. We bishops, in our ministry, are well aware of this, because we need collaboration on the part of those who prepare the liturgies and who help us fulfil our mandate of presiding over the prayer of the holy people. This service of yours to the liturgy requires, besides in-depth knowledge, a profound pastoral awareness. I rejoice to see that once again you are renewing your commitment to the study of the liturgy. As Saint Paul VI said, it is the “primary source of that divine exchange in which the life of God is communicated to us; it is the first school of our soul” (Allocution for the closing of the Second Session of Vatican Council II, 4 December 1963). Therefore, the liturgy cannot be fully possessed, it is not learned like notions, crafts, human skills. It is the primary art of the Church, that which constitutes and characterizes her.

            หลักสูตรนี้ ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลง อยู่ในแนวทางเดียวกับ ที่อยู่ในสมณลิขิต “Desiderio desideravi” (ข้าพเจ้าปรารถนาในสิ่งที่ปรารถนาที่ยิ่งใหญ่) ซึ่งเกี่ยวกับการอบรมด้านพิธีกรรม ในความจริง การเฉลิมฉลองพิธีกรรมจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและความรับผิดชอบ  สำหรับบรรดาบิชอป ในงานศาสนบริการของพวกเรา พึงตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว เนื่องจากพวกเราจำเป็นต้องประสานงานกับผู้เตรียมพิธีกรรม และช่วยพวกเราในการเป็นประธานการภาวนาของประชากรศักดิ์สิทธิ์ การทำหน้าที่ของพวกท่านในพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะต้องอาศัยความรู้เชิงลึกเท่านั้น แต่ยังต้องตระหนักถึงด้านงานอภิบาล พ่อรู้สึกยินดีที่ได้เห็นอีกครั้งว่าพวกลูกกำลังกลับมายืนหยัดที่จะเรียนพิธีกรรมอีกครั้ง นักบุญเปาโลที่ 6 เคยกล่าวว่า นี่เป็น “ต้นกำเนิดหลักของการแลกเปลี่ยนเหนือธรรมชาติ ที่ซึ่งชีวิตของพระเจ้าได้ถ่ายทอดมาแก่พวกเรา นี่เป็นโรงเรียนแห่งแรกแห่งจิตวิญญาณของพวกเรา” (คำกล่าวปิดช่วงที่สองของการสังคายนาวาติกันที่ 2 วันที่ 4 ธันวาคม 1963) ดังนี้แล้ว ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของพิธีกรรมได้ทั้งหมด การเรียนพิธีกรรมไม่ได้เหมือนกับการเรียนทฤษฎี เรื่องราว หรือทักษะของมนุษย์ พิธีกรรมเป็นศิลปะขั้นแรกของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักร และกำหนดลักษณะของพระศาสนจักร

I would like to entrust you with some insights for this service of yours, which is set within the context of the implementation of the liturgical reform.

            พ่อขอมอบมุมมองส่วนตัวของพ่อแก่พวกลูกทุกคน ซึ่งเป็นเรื่องสำหรับงานของพวกลูก และอยู่ในบริบทของการนำข้อปฏิรูปพิธีกรรมไปปฏิบัติใช้ในชีวิตจริง

Today we no longer talk about the “master of ceremonies”, that is, the one who takes care of “sacred ceremonies”; rather, the liturgical books refer to the master of celebrations. And the master teaches you the liturgy when he guides you in the encounter with the Paschal mystery of Christ; at the same time, he must arrange everything so that the liturgy shines with decorum, simplicity and order (cf. Caeremoniale Episcoporum, 34). The master’s ministry is a diakonia; he collaborates with the bishop in the service of the community. This is way every bishop engages a master, who acts discreetly, diligently, not putting the rite before what it expresses, but helping to grasp its meaning and spirit, emphasizing through his actions that the centre is the crucified and risen Christ.

            วันนี้พวกเราไม่ได้พูดเรื่อง “นายจารีตของพิธีฉลอง” อีกต่อไป ซึ่งก็คือ ผู้ที่รับผิดชอบ “พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์” ทว่าในหนังสือพิธีกรรมกล่าวถึงนายจารีตผู้ดำเนินพิธีฉลอง และอาจารย์สอนพวกลูกเกี่ยวกับพิธีกรรม เมื่อเขานำพวกลูกไปพบกับธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูคริสต์  ในขณะเดียวกัน นายจารีตต้องตระเตรียมทุก ๆ อย่าง เพื่อที่พิธีกรรมจะได้เปล่งประกายด้วยมารยาท ความเรียบง่าย และเรียบร้อย (เทียบ Caeremoniale Episcoporum, 34) หัวหน้าของสมณบริการ คือ ดีเคินผู้ให้การบริการรับใช้ (สังฆานุกร) เขาเป็นผู้ประสานงานกับบิชอปสำหรับงานต่าง ๆ ในชุมชน นี่เป็นวิธีที่บิชอปทุกคนมอบหมายให้นายจารีต ซึ่งทำหน้าที่อย่างระมัดระวัง รอบคอบ และไม่นำเรื่องพิธีกรรมมาก่อนสิ่งที่พิธีกรรมสื่อถึง แต่ทว่าช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหมาย และแก่นสาร โดยเน้นไปยังการกระทำ ซึ่งมีพระเยซูคริสต์ที่ถูกตรึงกางเขนและฟื้นคืนชีพเป็นศูนย์กลาง

Especially in the cathedral, the director of episcopal celebrations coordinates, in collaboration with the bishop, all those who exercise a ministry during the liturgical action, so as to foster the fruitful participation of the people of God. One of the cardinal principles of Vatican II returns here: we must always keep the good of the communities, the pastoral care of the faithful (cf ibid., 34) before our eyes, to lead the people to Christ and Christ to the people. It is the primary objective, which must be in first place also when you prepare and guide the celebrations. If we neglect this, we will have beautiful rites, but without strength, without flavour, without meaning, because they do not touch the heart and the existence of the people of God. And this happens when it is not the bishop, the priest, who presides de facto, but the master of ceremonies, and when this role slips towards the master of ceremonies, it all ends. The presider is the one who presides, not the master of ceremonies. On the contrary, the more hidden the master of ceremonies is, the better, the less he is seen, the better, but he coordinates it all. It is Christ who stirs the heart; it is the encounter with him that attracts the Spirit. “A celebration that does not evangelize is not authentic” (Desiderio desideravi, 37). It is a “ballet”, a beautiful ballet, aesthetic, beautiful, but it is not an authentic celebration.

            โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาสนวิหาร นายจารีต/ผู้อำนวยการพิธีการฉลองจะร่วมมือกับบิชอป และประสานงานกับผู้ที่ได้รับมอบหน้าที่ต่าง ๆ ในพิธีกรรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชากรของพระเจ้า หลักเกณฑ์จากการสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้กล่าวว่า : พวกเราต้องรักษาประโยชน์ของชุมชนเสมอ การอภิบาลดูแลคริสตชน (เทียบ ibid., 34) มาก่อนพวกเรา ทั้งหมดนี้เพื่อนำประชากรของพระเจ้าไปหาพระเยซูคริสต์ และในทางกลับกันเพื่อนำพระเยซูคริสต์มาสู่ประชากร นี่เป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งต้องวางไว้เป็นอันดับแรกเมื่อลูกเป็นผู้เตรียมและผู้นำพิธีกรรม ถ้าพวกเราละเลยเรื่องนี้ พวกเราคงมีเพียงแค่พิธีกรรมที่สวยงาม แต่ไร้กำลัง ไร้รสชาติ ไร้ความหมาย เนื่องจากพิธีกรรมเหล่านั้นไม่ได้เข้าไปในหัวใจและการมีอยู่ของประชากรของพระเจ้า และเหตุการณ์จะเกิดขึ้น เมื่อบิชอป บาดหลวง ไม่ได้เป็นประธานพิธี แต่เป็นหัวหน้าผู้ทำพิธี และเมื่อหน้าที่นี้ขยับไปเป็นหัวหน้าผู้ทำพิธีหรือนายจารีตทุกอย่างก็จบแค่นั้น ในทางกลับกัน หากสามารถซ่อนนายจารีตพิธีกรรมได้มากเท่าไหร่นั้นยิ่งดี หากเห็นเขาน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามนายจารีตพิธีกรรมเป็นผู้ประสานงานทั้งหมด และเป็นพระเยซูคริสต์ที่จะมาสะกิดใจ นี่เป็นการพบปะกับพระองค์ซึ่งนำพระจิตมา “การฉลองที่ไม่ได้เป็นการประกาศข่าวดี ไม่ได้เป็นการฉลองที่เที่ยงแท้” (Desiderio desideravi, 37) หากแต่เป็น “บัลเลต์” การแสดงบัลเลต์ที่สวยงาม จรรโลงใจ ทว่าไม่ได้เป็นการฉลองที่เที่ยงแท้

One of the aims of the Council was to accompany the faithful in recovering the capacity to live liturgical action fully and to be astonished at what happens in the celebration under our very eyes (cf. Desiderio desideravi, 31). Note that it does not speak about aesthetic joy, for example, or the aesthetic sense, no, but rather wonder. Wonder is different to aesthetic pleasure: it is the encounter with God. Only the encounter with the Lord gives you wonder. How can this objective be achieved? The answer is already found in Sacrosanctum Concilium. In paragraph 14, it recommends the formation of the faithful, but – the Constitution says – “it would be futile to entertain any hopes of realizing thus unless the pastors themselves, in the first place, become thoroughly imbued with the spirit and power of the liturgy, and undertake to give instruction about it. A prime need, therefore, is that attention be directed, first of all, to the liturgical instruction of the clergy”. Therefore, the master himself first grows in the school of the liturgy and participates in the pastoral mission of forming the clergy and the faithful.

            เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของการสังคายนา คือ การเดินเคียงข้างกับคริสตชนในการฟื้นฟูความสามารถที่จะใช้ชีวิตในพิธีกรรมอย่างสมบูรณ์ และสามารถรู้สึกประหลาดใจเมื่อจ้องมองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพิธีกรรม (เทียบ Desiderio desideravi, 31) ทั้งนี้การสังคายนาไม่ได้กล่าวถึงความรู้สึกชื่นชมยินดี เช่น ในทางสุนทรียภาพ ไม่เลย แต่กลับปล่อยให้ชวนสงสัย ความสงสัยแตกต่างจากความสุขทางสุนทรีย์ ความสงสัยเป็นการการพบปะกับพระเจ้า การพบปะกับพระเจ้าทำให้พวกลูกรู้สึกสงสัย เป้าหมายนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ? คำตอบนี้อยู่ในเอกสารของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ธรรมนูญชื่อ “Sacrosanctum Concilium” โดยในย่อหน้าที่ 14 แนะนำการอบรบคริสตชน ทว่าธรรมนูญได้ระบุ “ไร้ประโยชน์ที่จะทำให้ความหวังต่าง ๆ เป็นจริงเว้นเสียแต่ว่าผู้อภิบาลเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณและพลังของพิธีกรรม  และสอนเรื่องดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอบรมด้านพิธีกรรมให้แก่บาดหลวงเป็นอันดับแรก” ดังนี้แล้ว นายจารีตต้องเติบโตในโรงเรียนพิธีกรรมและร่วมภารกิจงานอภิบาลในการอบรมบาดหลวงและฆราวาส

One of the most complex aspects of the reform is its practical implementation, or rather the way in which what was established by the Council Fathers is translated into daily life. And among the primary responsibilities of practical implementation there is indeed the master, who alongside the director of the office for liturgical pastoral ministry accompanies the dioceses, the communities, the priests and other ministers in implementing the celebratory praxis indicated by the Council. This is done primarily by celebrating. How did we learn how to serve Mass as children? By watching our older friends do it. It is that formation from the liturgy that I wrote about in Desiderio desideravi. Decorum, simplicity and order are achieved when everyone, gradually throughout the course of the years, attending the rite, celebrating it, living it, understand what they must do. Of course, as in a large orchestra, each person must know their own part, the movements, the gestures, the texts they pronounce or sing; then the liturgy can be a symphony of praise, a symphony learned by the lex orandi of the Church.

            เรื่องที่ซับซ้อนมากที่สุดอย่างหนึ่งในการปฏิรูปคือการนำไปปฏิบัติ หรือกล่าวอีกในหนึ่ง คือ วิธีที่บรรดาสมาชิกสภาสังคายนากำหนด ซึ่งกลายเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ การรับผิดชอบเรื่องการนำไปปฏิบัติเกี่ยวข้องกับผู้นำในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งทำงานเคียงข้างกับนายจารีตหรือหัวหน้าแผนกด้านพิธีกรรมเพื่อการอภิบาล โดยจะทำงานร่วมกับเขตศาสนปกครอง(สังฆมณฑล) ชุมชนความเชื่อ บาดหลวงและศาสนบริการอื่น ๆ เพื่อนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีกรรมที่กำหนดโดยสภาสังคายนามาใช้ ซึ่งทำผ่านการเฉลิมฉลอง พวกเราฝึกหัดฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างไรเมื่อเป็นเด็ก ๆ (เด็กช่วยมิสซา) ? โดยดูเพื่อนที่โตกว่า และนี่ก็คือการอบรม จาก พิธีกรรมที่พ่อได้เขียนไว้ในเอกสาร “Desiderio desideravi” มารยาท ความเรียบง่าย และระเบียบสามารถทำได้เมื่อทุกคนเข้าใจสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผ่านการเข้าร่วมพิธีกรรม การฉลองและใช้ชีวิตกับพิธีกรรมตลอดหลักสูตรในปีนี้ แน่นอนว่า เหมือนกับวงออเคสตราขนาดใหญ่ แต่ละคนต้องรู้จักท่อนของตัวเอง ท่าทาง และเนื้อร้องเมื่อจะต้องเปล่งเสียงหรือร้อง ดังนี้แล้วพิธีกรรมก็เหมือนเป็นบทเพลงซิมโฟนีแห่งการสรรเสริญ ซิมโฟนีที่เรียกผ่าน “กฎเกณฑ์แห่งการสวดภาวนา/กฎเกณฑ์แห่งความเชื่อ (lex orandi) ของพระศาสนจักร

Schools of liturgical practice are being established at cathedrals. This is a good initiative. One reflects “mystagogically” on what is celebrated. The celebratory style is evaluated, to consider progress and aspects to be corrected. I encourage you to help seminary superiors to preside in the best way possible, to take care of proclamation, gestures, signs, so that future priests, along with the study of liturgical theology, learn how to celebrate well: and this is the style of presiding. One learns by watching daily a priest who knows how to preside, how to celebrate, because he lives the liturgy and, when he celebrates, he prays. I urge you to also help those in charge of the ministries to prepare the liturgy of the parishes by starting small schools of liturgical formation, which combine fraternity, catechesis, mystagogy and celebratory praxis.

            โรงเรียนที่สอนการปฏิบัติด้านพิธีกรรมกำลังถูกจัดตั้งขึ้นที่อาสนวิหารต่าง ๆ การริเริ่มโครงการนี้เป็นสิ่งดี อันสะท้อนให้เห็นถึง “เข้าสู่ธรรมล้ำลึก” สิ่งที่เฉลิมฉลอง รูปแบบการเฉลิมฉลองได้รับการประเมิน เพื่อพิจารณาถึงการพัฒนาและสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข พ่อสนับสนุนพวกลูกในช่วยเหลืออธิการบ้านเณรอย่างสุดความสามารถ เพื่อที่จะได้ดูเรื่องการประกาศ กิริยาท่าทาง การทำเครื่องหมาย อันเป็นการสอนให้บาดหลวงรุ่นใหม่รู้ว่าการฉลองที่ดีเป็นอย่างไร โดยควบคู่ไปกับการเรียนเทววิทยาด้านพิธีกรรม บางคนเรียนจากการสังเกตดูบาดหลวงที่รู้ว่าต้องทำอะไรเมื่อเป็นประธานหรือฉลองบูชาขอบพระคุณ เนื่องจากเขาใช้ชีวิตในพิธีกรรม และเมื่อเขาฉลองพิธีกรรมนั้น ๆ เขาก็ได้ภาวนา พ่อขอแนะนำให้พวกลูกช่วยผู้ที่รับผิดชอบศาสนบริการที่ดูแลพิธีกรรมในวัด โดยเริ่มจากตั้งโรงเรียนสำหรับสอนเรื่องพิธีกรรม ซึ่งผสมผสานกับเรื่องความเป็นพี่น้อง การสอนคำสอน การเข้าสู่ธรรมล้ำลึก และการปฏิบัติด้านพิธีกรรม

When the head of celebrations accompanies the bishop in a parish, it is good to highlight the celebratory style that is lived there. It is pointless to put on a nice “parade” when the bishop is there, and then to return to how it was before. Your task is not to arrange the rite for one day, but to propose a liturgy that is imitable, with those adaptations that the community can embrace in order to grow in the liturgical life. In this way, gradually, the celebratory style of the diocese grows. Indeed, going to the parishes and saying nothing in the face of liturgies that are a little slapdash, neglected, badly prepared, means not helping the communities, not accompanying them. Instead, delicately, with a fraternal spirit, it is good to help pastors reflect on the liturgy, to prepare them with the faithful. In so doing, the master of celebrations must use great pastoral wisdom: if he is in the midst of the people he will understand immediately and know well how to accompany his brethren, how to suggest to communities what is suitable and achievable, and what steps are necessary to rediscover the beauty of the liturgy and of celebrating together.

            เมื่อนายจารีตฉลองพิธีกรรมช่วยเหลือเคียงข้างกับบิชอป การเน้นรูปแบบการฉลองในท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีประโยชน์ที่จะจัดพิธีแบบ “ขบวนพาเรด” ที่ยิ่งใหญ่อลังการเมื่อบิชอปไปที่นั่น แต่จากนั้นก็กลับมาทำเหมือนเดิม หน้าที่ของพวกลูกไม่ใช่การจัดพิธีสำหรับวันเดียวเท่านั้น แต่หน้าที่ของลูก คือ การนำเสนอพิธีกรรมที่สามารถเลียนแบบได้ และสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชุมชนนั้น ๆ เพื่อที่ชุมชนคริสตชนจะได้เติบโตในชีวิตพิธีกรรม ด้วยวิธีนี้ รูปแบบการฉลองของเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) จะค่อย ๆ เติบโต ในความจริง การไปวัดโดยไม่มีการกล่าวใด ๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมที่รีบ ๆ จัดให้เสร็จ ๆ ไป แบบไม่สนใจ และไม่ได้ตระเตรียม เป็นการไม่ช่วยเหลือหรือเคียงข้างชุมชุมคริสตชน ในทางกลับกัน ด้วยน้ำใจความเป็นพี่น้อง การช่วยเหลือผู้อภิบาลในพิธีกรรม  และเตรียมพิธีพร้อมกับผู้อภิบาลและคริสตชนนับเป็นเรื่องที่ดี เพื่อที่จะทำสิ่งเหล่านี้ นายจารีตพิธีกรรม ต้องยึดหลักอภิบาล : ถ้าเขาอยู่ท่ามกลางประชากร เขาก็จะเข้าใจทันทีและรู้ว่าจะเคียงข้างกับพี่น้องคริสตชนของเขาอย่างไร หรือรู้ว่าควรแนะนำชุมชนว่าอะไรเหมาะสมและสามารถทำได้ และอะไรคือขั้นตอนสำคัญเพื่อที่จะค้นพบความสวยงามของพิธีกรรมและการฉลองด้วยกันอีกครั้ง

And finally, I urge you to cultivate silence. In this age, we talk, we talk… Silence. Especially before the celebrations – a moment that is at times taken for a social gathering. We talk: “Ah, how are you? Is everything going well? Why not?”. Silence helps the assembly and concelebrants to concentrate on what is to be done. Often sacristies are noisy before and after celebrations, but silence opens and prepares for the mystery: it is silene that enables you to prepare for the mystery, it permits its assimilation, and lets the echo of the Word that is listened to resound. Fraternity is beautiful; greeting one another is beautiful, but it is the encounter with Jesus that gives meaning to our gathering, to our coming together. We must rediscover and cherish silence!

            และสุดท้ายนี้ พ่อขอสนับสนุนให้ทุกคนเก็บเกี่ยวความเงียบ ในยุคนี้ พวกเรามีแต่พูด ๆ …เงียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะมีพิธีฉลอง – อันเป็นเวลาที่ทุกคนมาพบปะชุมนุมกัน พวกเราพูดว่า : “เป็นอย่างไรบ้าง ? สบายดีมั้ย ? ทำไมถึงไม่สบาย ?” ความเงียบช่วยให้สัตบุรุษผู้ร่วมพิธีที่มาชุมนุมกัน และผู้ทำพิธีตั้งสติว่าควรทำสิ่งใด บ่อยครั้งที่ห้องสักการภัณฑ์ (sacristies) ส่งเสียงดังก่อนและหลังที่พิธี แต่ความเงียบได้เปิดและเตรียมตัวสู่ธรรมล้ำลึก ความเงียบเตรียมพวกลูกสู่ธรรมล้ำลึก และก่อให้เกิดการผสมกลมกลืน และให้เสียงพระวาจาที่ได้ยินได้ฟังสะท้อนกึกก้อง ความเป็นพี่น้องกันช่างสวยงาม การเคารพทักทายกันและกันเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี ทว่าเป็นการพบปะกับพระเยซูคริสต์ที่อธิบายเหตุผลของการชุมนุม การพบปะกันและกันของพวกเรา พวกเราต้องหันกลับมาค้นพบและชื่นชมความหมายของความเงียบอีกครั้ง

I want to emphasize this a great deal. And here I will say something that is linked to silence, but for priests. Please, the homilies: they are a disaster. At times I hear someone: “Yes, I went to Mass in that parish… yes, a good lesson of philosophy, forty, forty-five minutes… Eight, ten, no more! And always a thought, a sentiment and an image. Let people take something home with them. In Evangelii Gaudium I wanted to emphasize this. And I said it many times, because it is something that we end up not understanding: the homily is not a conference, it is a sacramental. The Lutherans say that it is a sacrament, it is a sacramental – I think it is the Lutherans – it is a sacramental, not a conference. It is prepared in prayer; it is prepared with an apostolic spirit. Please, the homilies, which are a disaster in general.

            พ่ออยากเน้นย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และพ่อจะพูดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวกับความเงียบ และสำหรับบรรดาบาดหลวง พ่อขอร้อง บทเทศน์จะกลายเป็นหายนะ หลายครั้งพ่อได้ยินบางคนพูดว่า ใช่ ผมไปมิสซาที่วัดนั้น ไปเรียนวิชาปรัชญาซึ่งสอนดีใช้ได้ สี่สิบถึงสี่สิบห้านาทีบทเทศน์ขอแปดถึงสิบนาทีเท่านั้น ไม่เกินนี้ !” และขอให้มีข้อคิด มีความรู้สึกและมีภาพ ขอให้คนที่มาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณได้อะไรกลับไปที่บ้าน ในสมณสาส์นเตือนใจ “Evangelii Gaudium  (ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร) พ่ออยากย้ำเรื่องดังกล่าว และพ่อเคยพูดไปแล้วหลายครั้ง  บทเทศน์เป็นอะไรที่สุดท้ายแล้วพวกเราไม่เข้าใจ บทเทศน์ไม่ใช่การสัมมนาวิชาการ แต่เป็นสิ่งคล้ายศีล สมาชิกของบรรดาลูเธอรันพูดว่าบทเทศคือศีลศักดิ์สิทธิ์ พ่อคิดว่าบรรดาลูเธอลันพูด อย่างไรก็ดีบทเทศน์คือศีลศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่การสัมมนา และการเทศน์นั้นจะเตรียมได้โดยในการภาวนา ด้วยจิตวิญญาณแห่งธรรมทูต โปรดอย่าลืม บทเทศน์โดยส่วนใหญ่คือหายนะ

Dear friends, before bidding you farewell, I would like once more to express my encouragement for what you do in the service of the implementation of the reform that the Council Fathers entrusted to us. Let us all strive to continue the good work that was initiated. Let us help communities to live the liturgy, to let themselves be shaped by it, so – as the Scripture says – “let him who is thirsty come, let him who desires take the water of life without price” (Rev 22:17). Let us offer to everyone the fresh water that springs abundantly from the liturgy of the Church.

            ถึงลูก ๆ และมิตรสหายทั้งหลายก่อนที่จะจบคำปราศรัยกันไป พ่อขอกล่าวให้กำลังใจอีกครั้งสำหรับสิ่งที่พวกลูกได้ทำ เพื่อนำการปฏิรูปของสภาสังคายนาที่มอบให้แก่พวกเราไปปฏิบัติใช้ ขอให้พวกเรายังคงสานต่อหน้าที่นั้นอย่างดี ขอให้พวกเราช่วยชุมชนให้ใช้ชีวิตในพิธีกรรม และให้ชุมชนเหล่านั้นได้รับการปรับเปลี่ยนโดยพิธีกรรม อย่างที่พระคัมภีร์กล่าว “เชิญเสด็จมาเถิด ผู้กระหายจงเข้ามา ผู้ที่ต้องการน้ำแห่งชีวิต จงดื่มน้ำนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ” (วิวรณ์ 22:17) ขอให้พวกเรามอบน้ำแก่ทุกคนที่หลั่งไหลมาจากพิธีกรรมของพระศาสนจักร

I wish you good work, and I bless you from my heart. And please, I ask you to pray for me, don’t forget. Thank you!

            พ่อขอให้งานของพวกลูกราบรื่นดี และขออวยพรพวกลูกด้วยใจจริง และก็อย่าลืมสวดให้พ่อด้วย ขอบคุณ !

__________________________________

Bulletin of the Holy See Press Office, 20 January 2023

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บคำปราศรัยนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)