Dear brothers and sisters, happy Sunday!
เจริญพรมายัง ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย อรุณสวัสดิ์ ขอให้มีความสุขวันอาทิตย์!
The Gospel of today’s liturgy (cf. Jn 1:29-34) relates the testimony of John the Baptist on Jesus, after having baptized him in the river Jordan. He says: “After me comes a man who ranks before me, for he was before me” (vv. 29-30).
พระวรสารในวันนี้ (เทียบ ยอห์น 1:29-34) กล่าวถึงยอห์นที่เป็นพยานยืนยันเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ หลังจากที่พระองค์เข้ารับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน ยอห์นกล่าว “บุรุษผู้หนึ่งมาภายหลังข้าพเจ้า แต่นำหน้าข้าพเจ้า เพราะอยู่มาก่อนข้าพเจ้า” (เทียบ ยน. 1:29-30).
This declaration, this witness, reveals John’s spirit of service. He was sent to prepare the way for the Messiah, and had done so without sparing himself. Humanly speaking, one would think that he would be given a “prize”, a prominent place in Jesus’ public life. But no. John, having accomplished his mission, knows how to step aside, he withdraws from the scene to make way for Jesus. He has seen the Spirit descend upon him (cf. vv. 33-34), he has indicated him as the Lamb of God who takes away the sin of the world, and now he in turn humbly listens. He goes from prophet to disciple. He preached to the people, gathered disciples and trained them for a long time. Yet he does not bind anyone to himself. And this is difficult, but it is the sign of the true educator: not binding people to himself. John does this: he sets his disciples in Jesus’ footsteps. He is not interested in having a following for himself, in gaining prestige and success, but he bears witness and then takes a step back, so that many would have the joy of meeting Jesus. We can say: he opens the door, then he leaves.
การประกาศนี้เผยให้เห็นจิตใจที่ต้องการรับใช้ของยอห์น เขาถูกส่งมาเพื่อเตรียมทางสำหรับพระเมสสิยาห์ และทำหน้าที่อย่างดีที่สุดจนสุดความสามารถของเขา หากคิดแบบวิถีมนุษย์ ก็จะคิดว่าเขาคงจะได้รับ “รางวัล” บทบาทสำคัญในชีวิตสาธารณะของพระเยซูคริสต์ ทว่าเปล่าเลย เมื่อยอห์นได้ทำหน้าที่ของเขาเสร็จสิ้น เขารู้ว่าจะต้องหลีกทางให้กับพระองค์ โดยเขาได้ถอยออกมาเพื่อให้พระเยซูคริสต์เข้ามาทำหน้าที่ ยอห์นเห็นพระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ เขากล่าวว่าพระองค์คือลูกแกะของพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก และ ณ บัดนี้เขาต้องเชื่อฟังอย่างถ่อมตน จากนั้นยอห์นเปลี่ยนตนเองจากที่เป็นประกาศกมาเป็นศิษย์ เขาเคยเทศน์สั่งสอนผู้คนมากมาย เขาเคยรวบรวมบรรดาศิษย์ต่าง ๆ และฝึกฝนพวกเขาเป็นระยะเวลาเนิ่นนาน ถึงกระนั้นเขาไม่เคยให้ใครต้องยึดติดกับเขา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยาก ทว่านี่คือคำสัญญาแห่งการเป็นผู้สอนอย่างแท้จริง : เขาไม่ได้บังคับให้ใครต้องอยู่กับเขา ในทางกลับกันยอห์นทำสิ่งนี้ : เขาให้ศิษย์ของเขาเดินตามรอยพระเยซูคริสต์ ยอห์นไม่สนใจว่าเขาจะต้องมีผู้ติดตาม เพื่อที่จะทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ เขากลับทำเพียงแค่เป็นประจักษ์พยาน และถอยออกมา เพื่อที่คนอื่น ๆ จะได้รู้สึกปิติยินดีที่พบปะกับพระเยซูคริสต์ ดังนี้แล้ว พวกเราสามารถพูดได้ว่า : เขาได้เปิดประตู และก็จากไป
With this spirit of service, with his capacity to give way to Jesus, John the Baptist teaches us an important thing: freedom from attachments. Yes, because it is easy to become attached to roles and positions, to the need to be esteemed, recognized and rewarded. And this, although natural, is not a good thing, because service involves gratuitousness, taking care of others without benefit for oneself, without ulterior motives, without expecting something in return. It is good for us, too, to cultivate, like John, the virtue of setting ourselves aside at the right moment, bearing witness that the point of reference of life is Jesus. To step aside, to learn to take one’s leave: I have completed this mission, I have had this meeting, I will step aside and leave room to the Lord. To learn to step aside, not to take something for ourselves in recompense.
ด้วยหัวใจเพื่อบริการรับใช้ พร้อมกับการเปิดทางให้กับพระเยซูคริสต์ ยอห์นผู้ทำพิธีล้างได้สอนเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งแก่พวกเรา : ความเป็นอิสระจากการยึดติด ใช่แล้ว เป็นเรื่องง่ายที่เราจะยึดติดต่อหน้าที่และตำแหน่ง ยึดติดกับความต้องการในการเป็นที่ยอมรับ คุ้นชินกับการได้รับสิ่งตอบแทน แม้ว่าเรื่องเหล่านี้จะเป็นเรื่องธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่ไม่ดี เนื่องจากการบริการรับใช้เกี่ยวข้องกับการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นการดูแลผู้อื่นโดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตน หรือสิ่งตอบแทน การเรียนรู้จากยอห์นเป็นสิ่งดีสำหรับพวกเรา คุณธรรมในการถอยออกมาในเวลาที่เหมาะสม และเป็นประจักษ์พยานว่ายึดพระเยซูคริสต์เป็นหลักในการใช้ชีวิต การถอยออกมา การเรียนรู้ที่จะให้ผู้อื่นมาแทนที่ คือ เมื่อเราจบงาน เมื่อเราได้พบปะแล้ว เราก็จะถอยออกมาและจากไป โดยปล่อยสิ่งต่าง ๆ ให้แก่พระเจ้า ในการเรียนรู้ที่ถอยออกมา คือ การที่เราไม่ได้คิดว่าเราจะต้องได้รับรางวัลอะไร
Let us think of how important this is for a priest, who is required to preach and celebrate, not out of self-importance or interest, but to accompany others to Jesus. Think of how important this is for parents, to raise their children with many sacrifices, but then they have to leave them free to take their own path in work, in marriage, in life. It is good and right that parents continue to assure their presence, saying to their children, “We will not leave you by yourselves”, but with discretion, without intrusiveness. The freedom to grow. And the same applies to other spheres, such as friendships, life as a couple, community life. Freeing oneself from attachments to one’s own ego and knowing how to step aside come at a cost, but are very important: this is the decisive step in order to grow in the spirit of service, without looking for something in return.
ขอให้พวกเราไตร่ตรองว่าเรื่องราวนี้สำคัญอย่างไรสำหรับชีวิตการเป็นสมณะศาสนบริกร ซึ่งต้องเทศน์สอนและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยไม่มองว่าตนเองนั้นบุคคลสำคัญ หรือคิดถึงประโยชน์ส่วนตัว แต่มุ่งหวังที่จะเดินเคียงข้างกับคนอื่นๆ เพื่อไปแสวงหาพระเยซูคริสต์ ขอให้พวกลูกคิดว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไรสำหรับคนที่เป็นพ่อแม่ ซึ่งเสียสละสิ่งต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงดูลูกของพวกเขา ทว่าพวกเขาปล่อยให้ลูกเป็นอิสระที่จะเลือกหนทางเดินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่การเงิน การตัดสินเรื่องการแต่งงาน หรือชีวิต เป็นเรื่องที่ดีและถูกต้องที่พ่อแม่ยังคงยืนเคียงข้างพวกเขา และบอกแก่ลูก ๆ ของพวกเขาว่า “พวกเราจะไม่ทิ้งลูก ๆ ให้อยู่เพียงลำพัง” โดยไม่เข้ามาก้าวก่าย เรื่องนี้สามารถนำไปใช้กับเรื่องอื่น ๆ อย่างเช่น ความสัมพันธ์กับเพื่อน กับคนรัก หรือชีวิตหมู่คณะ การนำตัวเองให้เป็นอิสระจากการยึดติดว่าตนนั้นสำคัญ และรู้ว่าตัวเองควรจะถอยออกเมื่อไร ซึ่งมาพร้อมกับราคาที่ต้องจ่าย ถึงกระนั้นนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ : นี่คือขั้นตอนที่สำคัญเพื่อก้าวหน้าในเส้นทางแห่งการบริการรับใช้ ซึ่งไม่หวังอะไรตอบแทน
Brothers, sisters, let is try to ask ourselves: are we capable of making space for others? Of listening to them, of leaving them free, of not binding them to ourselves, demanding recognition? And also, of letting them speak, at times. Do not say, “But you know nothing!”. Let them speak, make space for others. Do we attract others to Jesus, or to ourselves? And furthermore, following the example of John: do we know how to rejoice in the fact that people take their own path and follow their calling, even if this entails some detachment from us? Do we rejoice in their achievements, with sincerity and without envy? This is letting others grow.
ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พ่อขอให้พวกเราตั้งคำถาม : พวกเราสามารถให้พื้นที่แก่ผู้อื่นได้หรือไม่ ? สามารถฟังเสียงของผู้อื่น ปล่อยให้พวกเขาเป็นอิสระ ไม่ต้องให้พวกเขาอยู่ติดกับพวกเรา หรือร้องขอให้พวกเขายอมรับนับถือพวกเรา ? นอกจากนี้ พวกเราสามารถปล่อยให้พวกเขาพูด โดยไม่ต้องกล่าวว่า “คุณไม่รู้อะไรเลยซักนิด !” ให้พวกเขาได้พูด และปล่อยให้คนอื่น ๆ มีพื้นที่ พวกเราดึงคนอื่นมาหาพระเยซูคริสต์ หรือดึงมาพวกเราเอง ? ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณายอห์นเป็นตัวอย่าง : พวกเรารู้จักที่จะรู้สึกปิติยินดีกับผู้คนที่เลือกทางเดินเป็นของตัวเอง และทำตามกระแสเรียกของพวกเขา แม้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้พวกเขาออกจากเรา หรือไม่? พวกเรารู้สึกดีใจกับความสำเร็จของพวกเขา ด้วยความจริงใจโดยไม่อิจฉาริษยาหรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้คือการปล่อยให้คนอื่นเติบโต
May Mary, the servant of the Lord, help us to be free from attachments, to make way for the Lord and to give space to others.
ขอให้พระแม่มารีย์ ผู้รับใช้ของพระเจ้า ช่วยพวกเราให้เป็นอิสระจากสิ่งยึดติดต่าง ๆ เพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้า และเปิดพื้นที่ให้กับผู้อื่น
________________________
After the Angelus
หลังการสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าวพระสันตะปาปาทรงมีพระดำรัส ดังนี้
Dear brothers and sisters,
ลูก ๆ พี่น้องชายหญิงที่รัก!
From 18 to 25 January the traditional Week of prayer for Christian Unity will be held. The theme this year is taken from the prophet Isaiah: “Learn to do good; seek justice” (1:17). Let us thank the Lord who guides his people towards full communion with faithfulness and patience, and let us ask the Holy Spirit to enlighten us and sustain us with his gifts.
ระหว่างวันที่ 18 และ 25 มกราคม จะมีการจัดสัปดาห์แห่งการภาวนาสำหรับความเป็นหนึ่งเดียวของบรรดาคริสตชนนิกายต่าง ๆ โดยหัวข้อในปีนี้นำมาจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ “จงเรียนรู้ที่จะทำความดี จงแสวงหาความยุติธรรม” (ยสย 1:17) ขอให้พวกเราขอบคุณพระเจ้าผู้ทรงนำทางประชาชนของพระองค์ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในความเชื่อและความอดทน และขอให้พวกเราสวดอ้อนวอนขอให้พระจิตนำทางพวกเรา และให้พวกเรายังคงยืดหยัดผ่านพระคุณของพระจิต
The path towards Christian unity and the path of the synodal conversion of the Church are linked. Therefore, I would like to take this opportunity to announce that on Saturday 30 January, in Saint Peter’s Square, an Ecumenical Prayer Vigil will take place, with which we will entrust to God the work of the 16th Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops. For the young people who come to the Vigil there will be a special programme throughout the weekend, organized by the Taizé Community. As of now, I invite all brothers and sisters of all the Christian denominations to participate in this gathering of the People of God.
เส้นทางสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของบรรดาคริสตชน และเส้นทางสู่การกลับใจภายใต้การก้าวเดินไปด้วยกันของพระศาสนจักรมีความเกี่ยวข้องกัน ดังนี้แล้ว พ่อขอให้ถือโอกาสนี้ที่จะประว่าในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม ณ บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร ค่ำคืนแห่งการภาวนาเพื่อคริสตศาสนสัมพันธ์ (Ecumenical Prayer Vigil) โดยพวกเราฝากงานการประชุมซีนอดสมัยสามัญครั้งที่ 16 สำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มาร่วมสวดภาวนานี้ จะมีกิจกรรมพิเศษตลอดเสาร์อาทิตย์นี้ ซึ่งจัดโดยเทเซ่ (Taize Community) และพ่อขอเชิญชวนพี่น้องชายหญิงคริสตชนนิกายต่าง ๆ ร่วมค่ำคืนแห่งการภาวนานี้ในฐานะประชากรของพระเจ้าที่ชุมนุมกัน
Brothers and sisters, let us not forget the tormented Ukrainian people, who are suffering greatly. Let us stay close to them with our sentiments, our aid, and our prayer.
ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย ขอให้พวกเราอย่าลืมชาวยูเครนที่ทุกข์ทรมาน ขอให้พวกเราคิดถึงพวกเขา ช่วยเหลือพวกเขา และสวดภาวนาให้พวกเขา
And I now greet you, Romans and pilgrims gathered here. In particular, I greet the Spanish faithful of Murcia and those of Sciacca in Sicilia. May your visit to the tomb of Peter strengthen your faith and your witness.
พ่อขอกล่าวทักทาย ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมและผู้ที่เดินจาริกซึ่งมารวมตัวกันที่นี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อขอกล่าวต้อนรับคริสตชนชาวสเปนจากเมืองมูร์เซีย (Murcia) เมืองชีอักกา (Sciacca) ในแคว้นซิซิลี ขอให้การเยี่ยมชมสุสานของเซนต์ปีเตอร์ช่วยเสริมสร้างความเชื่อของพวกลูกให้เข้มแข็ง
I wish you all a good Sunday. Please, do not forget to pray for me. Enjoy your meal, and arrivederci!
พ่อขอให้ทุกคนมีความสุขในวันอาทิตย์ โปรดอย่าลืมภาวนาให้พ่อด้วย ขอให้รับประทานอาหารกลางวันอย่างมีความสุข และพบกันใหม่
(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บคำปราศรัยนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)