Dear brothers and sisters, buongiorno!
เจริญพรมายัง ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย อรุณสวัสดิ์!
The Gospel from today’s liturgy (Mt 4:12-23) narrates the call of the first disciples who, along the lake of Galilee leave everything to follow Jesus. He had already met some of them, thanks to John the Baptist, and God had placed the seed of faith within them (cf. Jn 1:35-39). So now, Jesus goes back to look for them where they live and work. The Lord always looks for us. The Lord always draws near to us, always.This time, he extends a direct call to them: “Follow me!” (Mt 4:19). And “immediately they left their nets and followed him” (v. 20). Let’s take a moment to reflect on this scene. This is the moment of a decisive encounter with Jesus, one they would remember their entire lives and would be included in the Gospel. From then on, they follow Jesus. And in order to follow him, they leave.
พระวรสารในวันนี้ (มธ. 4:12-23) เล่าถึงเรื่องพระเยซูคริสต์ทรงเรียกศิษย์ชุดแรก ซึ่งอยู่ที่ริมทะเลสาบกาลิลี ขอให้พวกเขาทิ้งทุกอย่างเพื่อติดตามพระองค์ พระองค์เคยพบกับศิษย์บางคนมาแล้ว ผ่านยอห์นผู้ทำพิธีล้าง พระเจ้าทรงหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อไว้ในพวกเขา (เทียบ ยน. 1:35-39) ณ ตอนนี้ พระเยซูคริสต์ทรงกลับไปหาพวกเขา ในสถานที่ที่พวกเขาอยู่และทำงาน พระองค์ทรงออกตามหาพวกเราเสมอเช่นกัน พระเจ้าทรงมาหาพวกเราตลอดเวลา ครั้งนี้พระองค์ออกไปเพื่อเรียกพวกเขา: “จงตามเรามาเถิด” (มธ. 4:19) และ “เขาทั้งสองคนก็ทิ้งแหไว้ แล้วตามพระองค์ไปทันที” (มธ. 4:20) ขอให้พวกเราใช้เวลาไตร่ตรองเหตุการณ์นี้สักเล็กน้อย นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะพบกับพระเยซูคริสต์ โดยพวกเขาจะจดจำเหตุการณ์นี้ไปตลอดชีวิต ซึ่งได้บันทึกไว้ในพระวรสาร หลังจากนี้ พวกเขาก็ตามเพียงพระเยซูคริสต์ และเพื่อที่จะติดตามพระองค์ พวกเขาก็ละทิ้ง
To leave so as to follow. And it is always like this with Jesus. It can begin in some way with a sense of attraction, perhaps due to others. Then the awareness can become more personal and can kindle a light in the heart. It becomes something beautiful to share: “You know, that passage from the Gospel struck me…. That service opportunity I had struck me…” – something that touches your heart. This is what happened with the first disciples (cf. Jn 1:40-42). But sooner or later, the moment comes in which it is necessary to leave so as to follow (cf. Lk 11:27-28). That is when it is necessary to make a decision: Shall I leave behind some certainties and embark on a new adventure, or shall I remain like I am? This is a decisive moment for every Christian because the meaning of everything else is at stake here. If someone does not find the courage to set out on the journey, the risk is to remain a spectator of one’s own existence and to live the faith halfway.
พวกเขาละทิ้งเพื่อที่จะติดตาม และก็เป็นแบบนี้ตลอดเวลากับพระเยซูคริสต์ เรื่องราวอาจเกิดขึ้น พร้อมกับความรู้สึกผูกพัน และบางครั้งก็เป็นเพราะว่าคนอื่น ๆ จากนั้นการตระหนักรับรู้สามารถกลายเป็นความรู้สึกส่วนบุคคล และจุดประกายแสงภายในใจ กลายเป็นสิ่งที่สวยงามสำหรับแบ่งปัน: “เธอรู้มั้ย บทอ่านจากพระวรสารสะกิดใจฉัน… นี่เป็นโอกาสที่จะรับใช้ดลใจฉันมาก…” เป็นบางสิ่งบางอย่างที่จับใจ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับศิษย์ชุดแรก (เทียบ ยน. 1:40-42) แต่ทว่าไม่ช้าก็เร็ว ช่วงเวลานั้นก็มาถึง ช่วงเวลาที่จำเป็นต้อง สละเพื่อที่จะติดตาม (ลก. 11:27-28) นั่นเป็นเวลาที่จะต้องตัดสินใจ: ฉันต้องละทิ้งบางสิ่งที่แน่นอน และก้าวไปสู่การผจญภัยใหม่ หรือฉันต้องอยู่แบบนี้ต่อไป? นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับคริสตชนทุกคน เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างตกอยู่ในความเสี่ยง หากใครบางคนไม่กล้าที่จะออกเดินทาง เขาก็เสี่ยงที่จะเป็นเพียงคนที่มองดูชีวิตของเขา และยังคงใช้ชีวิตในความเชื่อแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
To stay with Jesus, therefore, requires the courage to leave, to set out on the journey. What must we leave behind? Our vices and our sins, certainly, which are like anchors that hold us at bay and prevent us from setting sail. To begin to leave, it is only right that we begin by asking forgiveness – forgiveness for the things that are not beautiful. I leave these things behind to move forward. But it is also necessary to leave behind what holds us back from living fully, for example, fear, selfish calculations, the guarantees that come from staying safe, just getting by. It also means giving up the time wasted on so many useless things. How beautiful it would be to leave all this in order to experience, for example, the tiring but rewarding risk of service, or to dedicate time to prayer so as to grow in friendship with the Lord. I am also thinking of a young family who leaves behind a quiet life to open themselves up to the unpredictable and beautiful adventure of motherhood and fatherhood. It is a sacrifice, but all it takes is one look at a child to understand that it was the right choice to leave behind certain rhythms and comforts to have this joy. I am also thinking, of certain professionals, for example, doctors or healthcare workers, who give up a lot of free time to study and prepare themselves, and who do good, dedicating many hours day and night, and spend so much physical and mental energy for the sick. I think of workers who leave behind convenience, who let go of doing nothing so as to put food on the table. In short, to live life, we need to accept the challenge to leave. Today, Jesus extends this invitation to each of us.
ดังนี้แล้ว เพื่อที่จะอยู่กับพระเยซูคริสต์ จำเป็นต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะสละละทิ้ง และออกเดินทาง อะไรเล่าที่พวกเราจะต้องละทิ้ง ? ความเลวและความบาปของพวกเรา แน่นอนว่า นี่เหมือนกับสมอเรือที่ยึดพวกเราไว้ที่ชายหาด และขัดขวางพวกเราไม่ให้ออกไปยังทะเล เพื่อเริ่มที่จะละทิ้งนั้น สิ่งที่ถูกต้องคือพวกเราเริ่มจากการขออภัย – การขออภัยสำหรับสิ่งที่ไม่สวยงาม ฉันละทิ้งสิ่งเหล่านี้ไว้ข้างหลังเพื่อเดินไปข้างหน้า แต่ทว่านี่เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องละทิ้งทุกสิ่งที่ทำให้พวกเราไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ความกลัว ความคิดที่เห็นแก่ตัว ความรู้สึกอุ่นใจเมื่ออยู่อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังหมายถึงการเลิกเสียเวลากับสิ่งที่ไร้สาระต่าง ๆ จะสวยงามเพียงไรถ้าหากพวกเราละทิ้งสิ่งเหล่านี้เพื่อที่จะสัมผัสกับความเสี่ยงแห่งการรับใช้ ซึ่งเป็นเรื่องเหน็ดเหนื่อย แต่เป็นประสบการณ์คุ้มค่า หรืออุทิศเวลาให้กับการสวดภาวนาเพื่อที่จะได้เติบโตในความสัมพันธ์กับพระเจ้า พ่อคิดถึงครอบครัวรุ่นใหม่ที่ละทิ้งชีวิตแบบสงบเงียบ เพื่อนำตัวเองไปสู่การผจญภัยในการเป็นพ่อแม่ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ยังสวยงาม นี่คือการเสียสละ และสิ่งที่ต้องทำทั้งมีเพียงแค่มองไปยังเด็กเท่านั้น เพื่อที่จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่จะทิ้งชีวิตที่แน่นอนและความสะดวกสบาย เพื่อความรู้สึกที่ปลื้มปีตินี้ พ่อยังคิดถึงผู้ที่ประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น แพทย์ หรือผู้ที่ทำงานด้านสาธารณะสุข ซึ่งเสียสละเวลาเพื่อเรียนรู้และเตรียมตัว อีกทั้งพวกเขายังทำสิ่งที่ดี โดยเสียสละเวลาทั้งหมดของพวกเขาทั้งกลางวันและกลางคืน รวมทั้งแรงกายแรงใจเพื่อรักษาผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย พ่อคิดถึงคนงานที่เสียสละความสะดวกสะบาย และไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่เฉยๆ เพื่อที่จะสามารถนำอาหารมาวางไว้ที่โต๊ะ หากกล่าวโดยสรุป เพื่อใช้ชีวิต พวกเราจำเป็นต้องยอมรับคำท้าทายให้ละทิ้ง วันนี้พระเยซูคริสต์ทรงเชิญพวกเราแต่ละคนให้รับคำท้าทายนี้
So, I leave you with a question about this. First of all: Can I remember a “strong moment” in which I have already encountered Jesus? Each of us can recall our own story – in my life, has there been a significant moment when I encountered Jesus? And, is there something beautiful and significant that happened in my life because of which I left other less important things? And today, is there something Jesus asks me to give up? What are the material things, ways of thinking, attitudes I need to leave behind so as to truly say “yes”? May Mary help us to respond with a total “yes” to God, like she did, to know what to leave behind so as to follow him better. Do not be afraid to leave if it is to follow Jesus. We will always find that we are better.
ดังนี้แล้ว พ่อขอทิ้งท้ายด้วยคำถาม ประการแรก เราสามารถจำ “ช่วงเวลาที่เข้มข้น” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พวกเราเคยพบพระเยซูคริสต์ ? พวกเราแต่ละคนสามารถไตร่ตรองเรื่องราวของตัวเอง – ในชีวิตของเรา มีช่วงสำคัญช่วงไหนที่เราเคยพบกับพระเยซูคริสต์ ? และมันมีเรื่องใดที่สวยงามและสำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เนื่องจากเราได้ทิ้งทุกอย่างที่สำคัญน้อยกว่า ? และในวันนี้ มีอะไรที่พระเยซูคริสต์ขอให้พวกเราละทิ้ง ? เรื่องทางโลกใด ๆ วิถีการคิดใด มุมมองใดที่เราต้องละทิ้งเพื่อที่จะตอบว่า “ใช่” อย่างแท้จริง ? ขอให้พระแม่มารีย์ทรงช่วยพวกเราให้พวกเราสามารถกล่าวคำว่า “ใช่” อย่างสมบูรณ์ต่อพระเจ้า เฉกเช่นเดียวกับที่พระแม่กระทำ เพื่อที่พวกเรารับทราบสิ่งที่พวกเราต้องละทิ้งเพื่อที่พวกเราจะได้สามารถติดตามพระองค์ได้ดีขึ้น พ่อขอร้องว่าอย่ากลัวที่จะละทิ้งเพื่อเดินตามพระเยซูคริสต์ พวกเราจะพบว่าพวกเราเป็นคนดีขึ้นกว่าเดิม
_____________________________
After the Angelus
หลังการสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าวพระสันตะปาปาทรงมีพระดำรัส ดังนี้
Dear brothers and sisters!
ลูก ๆ พี่น้องชายหญิงที่รัก!
This Third Sunday of Ordinary Time is dedicated in a special way to the Word of God. Let us rediscover with awe the fact that God speaks to us, especially through the Sacred Scriptures. Let us read them, study them, meditate on them, pray over them. Let us read a passage from the Bible every day, especially from the Gospel. Jesus speaks to us there, he enlightens us, he guides us. And I remind you of something I have said other times: Let’s have a small Gospel, a pocket-size Gospel, to take in your bag, always with us. And when there is a moment during the day, read something from the Gospel. It is Jesus who accompanies us. So, a small pocket-size Gospel always with us.
ในวันอาทิตย์ที่สามของสัปดาห์ธรรมดานี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนทางพิเศษที่นำไปสู่พระวาจาของพระเจ้า พ่อขอให้พวกเรากลับไปทบทวนเรื่องพระเจ้าตรัสกับพวกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระองค์ตรัสผ่านพระคัมภีร์ ขอให้พวกเราอ่าน ศึกษา และไตร่ตรองพระคัมภีร์ ภาวนาโดยอาศัยพระคัมภีร์ ขอให้พวกเราพวกเราอ่านพระวจนะของพระเจ้าจากพระคัมภีร์ทุกวัน โดยเฉพาะจากพระวรสาร พระเยซูคริสต์ตรัสกับพวกเราผ่านทางพระคัมภีร์ พระองค์ประทานแสงสว่างให้แก่พวกเรา และทรงชี้นำพวกเราเสมอ พ่อขอร้องพวกลูกให้ระลึกถึงสิ่งที่พ่อเคยพูดไปก่อนหน้านี้ ขอให้พวกเรามีพระคัมภีร์เล่มเล็ก ๆ ติดตัว พระคัมภีร์ฉบับพกพา เพื่อที่จะได้พกใส่ไว้ในกระเป๋า และเมื่อมีเวลาในระหว่างวัน ก็ลองเปิดอ่านพระคัมภีร์ ซึ่งพระเยซูคริสต์จะทรงร่วมเดินทางไปกับพวกเรา ดังนี้แล้ว พ่อก็เชิญชวนให้พวกลูกนำพระคัมภีร์ฉบับพกพาติดตัวกับพวกเราไว้เสมอ
Today I would like to express my wish for peace and every good to all those in the Far East, and in various parts of the world, who are celebrating the Lunar New Year. Nevertheless, on this joyous occasion, I cannot fail to mention my spiritual nearness to those who are going through difficult times due to the coronavirus pandemic, with the hope that these present difficulties might soon be overcome. Lastly, I hope that the kindness, sensitivity, solidarity and harmony that are being experienced in the families who are reunited in these days as is customary, might ever more permeate and characterize our family and social relationships so as to live a serene and happy life. Happy New Year!
วันนี้ พ่อขออวยพรเพื่อสันติภาพและความสงบสุขแด่ผู้คนที่อยู่ในภาคพื้นทวีปเอเชีย และในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งกำลังเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ(ตรุษจีน) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาอันรื่นเริงนี้ พ่อยังคงอยู่เคียงข้างผู้ที่กำลังลำบากเนื่องจากโรคระบาดโคโรนาไวรัสในคำภาวนา โดยพ่อหวังว่าช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้จะหมดไปในเวลาอันใกล้ สุดท้ายนี้ พ่อหวังว่าความใจกว้าง ความเห็นใจผู้อื่น ความสามัคคีและความเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัว ซึ่งต่างรวมตัวกันในวันนี้ตามธรรมเนียม ได้ส่งเสริมครอบครัวของพวกเราและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อที่จะได้ชีวิตอย่างสงบและมีความสุข ซินเจียยู่อี่ / ซินเหนียนไกว่เล่อ!
Sadly, my thought turns in particular to Myanmar, where the Church of Our Lady of the Assumption in the Village of Can Thar – one of the most ancient and important places of worship in the country – was burned and destroyed. I am close to the helpless civilian population subject to severe trials in many cities. Please God that this conflict will soon come to an end, opening a new period of forgiveness, love and peace. Let us pray together to Our Lady for Myanmar. [Recitation of the Hail Mary…]
พ่อคิดถึงประเทศเมียนมาร์เป็นพิเศษ เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่วัดแม่พระอัสสัมชัญในหมู่บ้านคานธาร์ (Can Thar) หนึ่งในวัดที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดในประเทศ ได้ถูกเผาและทำลาย ทั้งนี้พ่ออยู่เคียงข้างกับพลเรือนที่เผชิญกับความรุนแรงในหลายเมือง ขอวิงวอนพระเจ้าให้ความขัดแย้งสิ้นสุดในเร็ววัน และก้าวไปสู่ช่วงเวลาใหม่แห่งการให้อภัย ความรักและสันติสุข ขอให้พวกเราสวดวิงวองพระแม่มารีย์พรหมจารีสำหรับสันติสุขในประเทศเมียนมาร์
I also invite you to pray that the acts of violence in Peru might cease. Violence quenches the hope for a just solution to problems. I encourage all the parties involved to undertake the path of dialogue as brothers of the same nation, in full respect for human rights and the rule of law. I join the Peruvian Bishops in saying: ¡No a la violencia, venga de donde venga! ¡No más muertes! [No to violence wherever it comes from! No more deaths!] There are Peruvians in the Square….
พ่อขอเชิญชวนพวกลูกทุกคนภาวนาเพื่อที่ความรุนแรงในประเทศเปรูสิ้นสุดในการใช้ความรุนแรง
พ่อขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันหน้าพูดคุยกันในฐานะพี่น้องร่วมชาติ โดยเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม พ่อยืนยันคำกล่าวของเหล่าบิชอปในประเทศเปรู: หยุดความรุนแรงไม่ว่าจะมาจากไหน ! หยุดความสูญเสีย ! พ่อทราบว่ามีชาวเปรูอยู่ที่บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร
Positive signs are coming from Cameroon that bring the hope of progress toward the resolution of the conflict in the English-speaking regions. I encourage all the parties who have signed the Agreement to persevere on the path of dialogue and mutual understanding, for only through encounter can the future be designed.
มีสัญญาณที่ดีจากประเทศคาเมรูน ได้นำมาซึ่งความหวังที่จะเห็นทางออกของความขัดแย้งในภูมิภาคที่พูดภาษาอังกฤษ พ่อขอให้ทุกภาคส่วนที่ได้ลงนามสัญญาเพื่อยึดมั่นในหนทางของการพูดคุยเจรจาและความเข้าใจอันดี ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่อนาคตสามารถเกิดขึ้นได้
I extend my greeting to all of you, those from Italy and other countries. I greet the pilgrims from Spalato, Warsaw – there are many Poles I see because of the flags – and Mérida-Badajoz (Spain), as well as those from Ascoli Piceno, Montesilvano and Gela; the group from Guardian Angel School, Alessandria; those from Gioventù Ardente Mariana [Fervent Marian Youth] from Rome; and members of the Association of Catholic Psychologists.
พ่อขอทักทายทุกคนที่ ทั้งที่มาจากประเทศอิตาลีและประเทศอื่นๆ พ่อขอทักทายผู้แสวงบุญจากสปาลาโต (เมืองวอร์ซอ) พ่อเห็นทิวธงมากมาย และเมืองเมริดา บาดาโฆส (ประเทศสเปน) รวมทั้งผู้ที่มาจากอาสโคลี ปีเชโน มอนเตซิสวาโน (Montesilvano) และเจลา (Gela) จากโรงเรียนทูตสวรรค์ผู้อารักขา อาเลสซานเดรีย (Alessandria) รวมทั้งผู้ที่มาจากจิโอเวนตู อาร์เดนเต มาเรียนา (Gioventù Ardente Mariana) [กลุ่มเยาวชนผู้ศรัทธาในพระแม่มารีย์] ซึ่งมาจากกรุงโรม และสมาชิกสมาคมนักจิตวิทยาคาทอลิก
In these days, as we pray in particular for the full unity of all Christians, please, let us not forget, to pray for peace for war-torn Ukraine. May the Lord comfort and sustain that people who are suffering so much! They are suffering so much!
ในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่พวกเราสวดภาวนาเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของบรรดาคริสตชนหลากหลายนิกาย พ่อขอให้พวกเราอย่าลืมสวดเพื่อสันติภาพในประเทศยูเครนซึ่งถูกทำลายด้วยสงคราม ขอให้พระเจ้าปลอบขวัญผู้คนในประเทศยูเครนที่กำลังทุกข์ทรมาน พวกเขาทรมานอย่างแสนสาหัส !
I wish all of you a good Sunday. Even the young people of the Immaculata. And please do not forget to pray for me. Enjoy your lunch and arrivederci.
พ่อขอให้ทุกคนมีความสุขในวันอาทิตย์ รวมไปถึงคนรุ่นใหม่จากอิมมาคูลาตา (Immaculata) และโปรดอย่าลืมภาวนาให้พ่อด้วย ขอทานอาหารกลางวันอย่างมีความสุข และพบกันใหม่
(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บคำปราศรัยนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)