วันอังคาร, 21 มกราคม 2568
  

ทูตสวรรค์แจ้งข่าว (ANGELUS) ณ บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2023

Dear brothers and sisters, buongiorno!

เจริญพรมายัง ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย อรุณสวัสดิ์!

 In today’s liturgy, the Beatitudes according to the Gospel of Matthew are proclaimed (cf. Mt 5:1-12). The first is fundamental. This is what it says: “Blessed are the poor in spirit, for theirs is the kingdom of heaven” (v. 3).     

ในพิธีกรรมวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสุขแท้ตามพระวรสารของนักบุญมัทธิว (เทียบ มธ. 5:1-12) หัวข้อแรกเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งกล่าวว่า: “ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” (ข้อ 3).    

Who are the “poor in spirit”? They are the ones who know they cannot rely on themselves, that they are not self-sufficient, and they live as “beggars before God”. They feel their need for God and recognize every good comes from him as a gift, as a grace. Those who are poor in spirit treasure what they receive. Therefore, they desire that no gift should go to waste. Today, I would like to pause on this typical aspect of the poor in spirit: not to waste. The poor in spirit try not to waste anything. Jesus shows us the importance of not wasting. For example, after the multiplication of the loaves and the fish, he asks that the leftover food be gathered so that nothing would be wasted (cf. Jn 6:12). Not wasting allows us to appreciate the value of ourselves, of people and of things. Unfortunately, however, this is a principle that is often disregarded, above all in more affluent societies where the culture of waste, the throw-away culture is predominant. Both are a plague. So, I would like to propose to you three challenges against the waste mentality, the throw-away mentality.

ใครกันที่เป็น “ผู้มีใจยากจน”? พวกเขาคือคนที่รู้ว่าตนเองนั้นไม่สามารถพึ่งตัวของพวกเขาเองได้ กล่าวคือพวกเขาไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ดังนี้พวกเขาจึงใช้ชีวิตราวกับ “คนขอทานต่อพระพักตร์พระเจ้า” พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาต้องการพระเจ้า และรับรู้เสมอว่าสิ่งที่ดีต่าง ๆ ที่พวกเขาได้รับมาจากพระองค์เหมือนเป็นของขวัญ เป็นพระพร/พระหรรษทาน ใครก็ตามที่เป็นคนยากจนในจิตวิญญาณแล้วจะรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่พวกเขาได้รับ ดังนั้น พวกเขาปรารถนาว่า ไม่ควรมีของขวัญใดถูกทิ้งไป วันนี้ พ่ออยากจะให้ฉุกคิดถึงมุมมองเกี่ยวกับคนยากจนในจิตวิญญาณ ที่ไม่ทิ้งอะไรไปอย่างเปล่าประโยชน์ คนยากจนในจิตวิญญาณพยายามไม่ทิ้งขว้างสิ่งใดเลย พระเยซูคริสต์ทรงเผยให้พวกเราเห็นถึงความสำคัญในการไม่ทิ้งขว้าง ยกตัวอย่าง หลังจากที่พระองค์ทรงทวีปังและปลาแล้ว พระองค์ทรงขอให้เก็บอาหารที่เหลือ โดยอย่าให้อะไรสูญเปล่า (เทียบ ยน. 6:12) การไม่ทิ้งอะไรให้สูญเปล่านั้นทำให้พวกเรารู้สึกยินดีกับคุณค่าของพวกเรา ทั้งผู้คน และสิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องหน้าเศร้าที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามอยู่บ่อยครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นสังคมที่ร่ำรวย วัฒนธรรมกินทิ้งกินขว้าง วัฒนธรรมใช้แล้วทิ้งสามารถพบเห็นอย่างดาษดื่น ทั้งหมดนี้ถือเป็นกาฬโรค ดังนี้แล้วพ่ออยากจะเชิญชวนลูก ๆ ให้รับการท้าทาย 3 ประการ เพื่อสู้กับแนวคิดกินทิ้งกินขว้าง และกรอบความคิดใช้แล้วทิ้ง

The first challenge: not to waste the gift that we are. Each one of us is a good, independent of the gifts we have. Every woman, every man, is rich not only in talents, but in dignity. He or she is loved by God, is valuable, is precious. Jesus reminds us that we are blessed not for what we have, but for who we are. And when a person lets go and throws him or herself away, he or she wastes themselves. Let us struggle, with God’s help, against the temptations of believing ourselves inadequate, wrong, and to feel sorry for ourselves.

คำท้าทายที่หนึ่ง : อย่าทิ้งของขวัญที่พวกเราเป็น พวกเราแต่ละคนเป็นของขวัญที่ดี ซึ่งพวกเราได้รับ ชายหญิงทุกคนร่ำรวย ซึ่งไม่ได้ร่ำรวยเพียงแค่ความสามารถ แต่ยังร่ำรวยด้วยศักดิ์ศรี พระเจ้าทรงรักชายและหญิงแต่ละคน ซึ่งต่างมีความสำคัญและมีค่า พระเยซูคริสต์ทรงเตือนใจพวกเราว่าพวกเราได้รับการพระพร ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่สิ่งที่พวกเรามี แต่รวมไปถึงสิ่งที่พวกเราเป็น และเมื่อใดก็ตามการปล่อยปละละเลยหรือทิ้งตนเองไปนั้น เขาหรือเธอผู้นั้นก็จะปล่อยตัวเองไปอย่างเปล่าประโยชน์ ขอให้พวกเราต่อสู้ ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้า ในการเผชิญหน้ากับการทดลองต่าง ๆ ที่ทำให้พวกเราเชื่อว่าพวกเราไม่มีความสามารถเพียงพอ พวกเราเป็นฝ่ายผิด และรู้สึกเสียใจกับตัวเอง

Then, the second challenge: not to waste the gifts we have. It is a fact that about one-third of total food production goes to waste in the world each year, while so many die of hunger! Nature’s resources cannot be used like this. Goods should be taken care of and shared in such a way that no one lack what is necessary. Rather than waste what we have, let us disseminate an ecology of justice and charity, of sharing!

คำท้าทายที่สอง : อย่าทิ้งของขวัญที่พวกเรามี ทั้งนี้ในแต่ละปี ประมาณหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตในโลกทั้งหมดได้ถูกทิ้งเป็นขยะ ขนะที่ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ต้องเสียชีวิตจากความหิวโหย ! พวกเราไม่สามารถใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติแบบนี้ สิ่งต่าง ๆ ควรจะต้องรักษา ดูแล และแบ่งปัน เพื่อที่ทุกคนจะไม่ขาดสิ่งที่จำเป็น แทนที่จะใช้ทิ้งขว้างสิ่งที่พวกเรามี ขอให้พวกเราหันมาเผยแพร่ระบบนิเวศแห่งความเท่าเทียม ความรัก และการแบ่งปัน

Lastly, the third challenge: not to throw people away. The throw-away culture says, “I use you in as much as I need you. When I am not interested in you anymore, or you are in my way, I throw you out”. It is especially the weakest who are treated this way – unborn children, the elderly, the needy and the disadvantaged. But people are never to be thrown out, the disadvantaged cannot be thrown away! Every person is a sacred gift, each person is a unique gift, no matter what their age or condition. Let us always respect and promote life! Let’s not throw life away!

สุดท้ายนี้ คำท้าทายที่สาม : อย่าทิ้งผู้คน วัฒนธรรมการทิ้งขว้างกล่าวว่า “ผมจะใช้คุณตราบเท่าที่ผมต้องการคุณ ผมไม่สนใจคุณอีกต่อไป หรือว่าหากคุณขวางทางผม ผมโยนคุณออกไป” คนที่อ่อนแอที่สุดจะถูกกระทำแบบนี้ เช่น เด็กที่ยังไม่ได้เกิด ผู้สูงอายุ ผู้ที่ขาดแคลน และผู้ด้อยโอกาศ ทว่าไม่มีใครควรถูกทิ้ง ผู้ที่ยากไร้ด้อยโอกาสไม่ควรถูกขจัดทิ้ง ! ทุก ๆ คน คือของขวัญที่ศักดิ์สิทธิ์ แต่ละคนคือของขวัญเฉพาะ ไม่ว่าแต่ละคนจะมีอายุหรือสถานะใดก็ตาม ขอให้พวกเราเคารพและสนับสนุนชีวิตมนุษย์ ! ขออย่าโยนชีวิตทิ้งไปอย่างไร้ค่า !

Dear brothers and sisters, let us ask ourselves some questions. Above all: How do I live poverty of spirit? Do I know how to make room for God? Do I believe that he is my good, my true and great wealth? Do I believe that he loves me, or do I throw myself away in sadness, forgetting that I am a gift? And then – Am I careful not to waste? Am I responsible about how I use things, goods? Am I willing to share things with other, or am I selfish? Lastly: Do I consider the weakest as precious gifts whom God asks me to care for? Do I remember the poor, those who are deprived of what is necessary?

ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พ่อขอให้พวกเราถามตัวเอง ดังนี้ เราใช้ชีวิตด้วยความยากจนในจิตวิญญาณอย่างไร ? เรารู้หรือไม่ว่าเราสร้างพื้นที่ให้กับพระเจ้าอย่างไร ? เราเชื่อหรือไม่ว่าพระองค์เป็นสิ่งดีงามของเรา เป็นความมั่งคั่งที่จริงแท้และยิ่งใหญ่ ? เราเชื่อหรือไม่ว่าพระองค์ทรงรักเรา หรือว่าเราทิ้งตัวเราเองในความโศกเศร้า และลืมไปว่าเราเป็นของขวัญ ? และนอกจากนี้ เราพยายามไม่ทิ้งขว้างหรือไม่ ? เรารับผิดชอบสิ่งของที่เราใช้หรือไม่อย่างไร ? เรายอมที่จะแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ กับคนอื่นหรือไม่ หรือว่าเราเป็นคนเห็นแก่ตัว ? สุดท้าย เราคิดถึงผู้ที่อ่อนแอที่สุดในฐานะของขวัญล้ำค่าซึ่งพระเจ้าทรงขอให้เราดูแลหรือไม่ ? เราระลึกถึงคนยากจน ผู้ที่ขาดแคลนสิ่งจำเป็นหรือไม่ ?

May Mary, the Woman of the Beatitudes, help us witness the joy that life is a gift and the beauty of making a gift of ourselves.

ขอพระแม่มารีย์ สุภาพสตรีแห่งความสุขแท้ โปรดช่วยพวกเราในการเป็นประจักษ์พยานของความชื่นชมยินดีอันเนื่องมาจากชีวิตเป็นของขวัญ และความสวยงามจากการรังสรรค์ของขวัญจากพวกเราเอง

______________________________________________________

Greeting of the Holy Father after the Angelus

หลังการสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าวพระสันตะปาปาทรงมีพระดำรัส ดังนี้

 Dear brothers and Sisters!

ลูก ๆ พี่น้องชายหญิงที่รัก!

It is with great sorrow that I learn of the news arriving from the Holy Land, in particular of the death of ten Palestinians, among whom is a woman, killed during Israeli military anti-terrorist action in Palestine; and of what happened near Jerusalem on Friday evening when seven Israeli Jews were killed by a Palestinian and three others were wounded as they were leaving the synagogue. The spiral of death that increases day after day does nothing other than close the few glimpses of trust that exist between the two peoples. From the beginning of the year, dozens of Palestinians have been killed during firefights with the Israeli army. I appeal to the two governments and to the international community so that, immediately and with delay, other paths might be found that include dialogue and a sincere search for peace. Brothers and sisters, let us pray for this.

พ่อรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับข่าวการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์จำนวนสิบคนในแผ่นแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นสตรี ที่ถูกสังหารโดยกองกำลังทหารต่อต้านการก่อการร้ายของอิสราเอลในปาเลสไตน์ รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเยรูซาเล็มเมื่อเย็นวันศุกร์ โดยมีชาวอิสราเอลจำนวนเจ็ดคนถูกสังหารโดยชาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง และยังมีอีกสามคนที่กำลังเดินออกจากศาลาธรรมของยิวได้รับบาดเจ็บ การเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันไม่ได้ก่อให้เกิดอะไรเว้นแต่ปิดกันความจริงระหว่างผู้คนสองกลุ่ม นับตั้งแต่ต้นปี มีชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารโดยกองทหารอิสราเอล พ่ออยากขอร้องรัฐบาลทั้งสองประเทศและชุมชนนานาชาติให้หาแนวทางอื่นที่สามารถนำไปสู่การพูดคุยและการหาทางออกสู่สันติภาพ ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย ขอให้พวกเราสวดภาวนาสำหรับโสกนาฏกรรมดังกล่าว

I renew my appeal regarding the serious humanitarian situation in the Lachin Corridor, in the South Caucasus. I am near to all those who, in the dead of winter, are forced to cope with these inhumane conditions. Every effort must be made on the international level to find peaceful solutions for the good of the people.

พ่อขอย้ำอีกครั้งเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมใน ฉนวนลาชึน (Lachin Corridor) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส พ่ออยู่ใกล้ชิดกับทุกคนที่ตกอยู่ในความหนาวเหน็บปางตาย และถูกบังคับให้อยู่ในสภาพที่ไร้ความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ในเวทีนานาชาติจำเป็นต้องมีความพยายามต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อค้นหาทางออกอย่างสันติสุขอันนำมาซึ่งประโยชน์สุขของประชาชน

Today is the 70th World Leprosy Day. Unfortunately, the stigma associated with this disease continues to cause serious violations of human rights in various parts of the world. I express my closeness to those who suffer from it and I encourage the commitment toward the complete integration of these brothers and sisters.

วันนี้เป็นวันครบรอบ 70 ปี วันโรคเรื้อนสากล น่าเสียดายที่ ความน่าอับอายที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าวยังคงนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก พ่อขอยืนยันในความใกล้ชิดของพ่อแก่ผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานจากการกระทำดังกล่าว และพ่อขอชักชวนให้พวกเรายึดมั่นที่จะช่วยพี่น้องชายหญิงเหล่านี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างสมบูรณ์

I extend my greetings to all of you who have come from Italy and from other countries. I greet the group of Quinceañeras from Panama and the students from Badajoz, Spagna. I greet the pilgrims from Moiano and Monteleone di Orvieto, those from Acqui Terme and the boys and girls of the Agesci Cercola Primo Group.

พ่อขอกล่าวทักทายทุกคนที่มาจากประเทศอิตาลี และประเทศอื่น ๆ พ่อขอต้อนรับกลุ่ม “Quinceañeras” จากประเทศปานามา และนักเรียนจากบาดาโฆซ (Badajoz) ในประเทศสเปน (Spagna) และพ่อขอต้อนรับผู้แสวงบุญจากโมอีอาโน (Moiano) และมอนเตเลโอเน ดิ โอร์เวียโต (Monteleone di Orvieto) รวมทั้งผู้แสวงบุญจากอากควิ เตร์เม (Acqui Terme) และเด็กชายหญิงจากกลุ่มอาเจสชี เชร์โกลา พรีโม (Agesci Cercola Primo Group)

And now I greet with great affection the boys and girls from Catholic Action from the Diocese of Rome! You have come on the “Peace Caravan”. I thank you for this initiative which is so precious this year because, thinking of the war-torn Ukraine, our commitment and our prayer for peace must be even more strong. Let us think of Ukraine and pray for the Ukrainian people, who are so badly treated. Let us listen now to the message that your friends here beside me will read to us.

และตอนนี้ พ่อขอทักทายเด็ก ๆ จากกลุ่ม “Catholic Action” ซึ่งมาจากเขตศาสนปกครองแห่งกรุงโรม ด้วยความรัก ! พวกลูกมากันเป็น “คาราวานแห่งสันติภาพ” ! พ่อขอขอบคุณพวกลูกที่ได้ริเริ่มกิจกรรมนี้ ซึ่งมีค่ามากในปีนี้ ขอให้พวกลูกคิดถึงประเทศยูเครนที่กำลังเผชิญกับสงคราม คำมั่นสัญญาและคำภาวนาของพวกเราต้องแข็งแกร่งมากขึ้น ขอให้พวกเราคิดถึงยูเครนและสวดภาวนาเพื่อชาวยูเครน ซึ่งใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ขอให้พวกเราฟังประกาศจากเพื่อนของเราที่อยู่ ณ ที่นี้ข้าง ๆ พ่อ ซึ่งจะมาอ่านประกาศให้พวกเราฟัง

[ Announcement of the Apostolic Journey to Africa]

[การประกาศเรื่องการเสด็จเยือนทวีปแอฟริกา]

Dear brothers and sisters, in two days I will depart on an Apostolic Journey to the Democratic Republic of the Congo and to the Republic of South Sudan. I thank the civil authorities and the local bishops for their invitations and for the preparations they have made for these visits, and I greet with affection those beloved peoples who await me.

ลูก ๆ พี่น้องชายหญิงที่รัก! ในอีกสองวันข้างหน้า พ่อจะเดินทางไปที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และสาธารณรัฐซูดานใต้ พ่อขอขอบคุณหน่วยงานข้าราชการพลเรือนและบิชอปท้องถิ่นสำหรับคำเชิญและการจัดเตรียมต่าง ๆ เพื่องานนี้ และพ่อขอกล่าวทักทายแก่ประชากรที่กำลังรอพ่ออยู่

These lands, situated in the centre of the great African continent, have suffered greatly from lengthy conflicts. The Democratic Republic of the Congo, especially in the east of the country, suffers from armed clashes and exploitation. South Sudan, wracked by years of war, longs for an end to the constant violence that forces many people to be displaced and to live in conditions of great hardship. In South Sudan, I will arrive together with the Archbishop of Canterbury and the Moderator of the General Assembly of the Church of Scotland. Together, as brothers, we will make an ecumenical pilgrimage of peace, to entreat God and men to bring an end to the hostilities and for reconciliation.

ในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางทวีปแอฟริกา ได้เผชิญกับความขัดแย้งที่กินเวลายาวนาน  ทั้งนี้ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนใต้ของประเทศ จากการเอารัดเอาเปรียบ ในขณะที่สาธารณรัฐซูดานใต้ได้ตกอยู่ภายใต้สงครามเป็นเวลาหลายปี และโหยหาที่จะเห็นความขัดภายแย้งในประเทศ ขอให้ยุติซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวนั้นได้พลัดพรากผู้คนให้อพยพไปอาศัยอยู่ที่อื่นในสภาวะที่ยากลำบาก ในประเทศซูดานใต้ พ่อจะมาพร้อมกับอาร์ชบิชอปแห่งคันเตอร์เบอร์รี่ และผู้ดำเนินการประชุมสมัชชาทั่วไปของพระศาสนจักรแห่งสก็อตแลนด์ ในฐานะพี่น้องในความเชื่อ พวกเราจะจัดการเดินจาริกคริสตสัมพันธ์แห่งสันติภาพร่วมกัน เพื่อวิงวอนพระเจ้าและมนุษย์ให้ช่วยยุติความขัดแย้งและนำมาซึ่งการปรองดองสมานฉันท์

I ask everyone, please, to accompany this Journey with their prayers.

พ่อขอให้ทุกคนคิดถึงการเดินทางนี้ในคำภาวนา

And I wish everyone a good Sunday. And please, do not forget to pray for me. Enjoy your lunch and arrivederci!

พ่อขอให้ทุกคนมีความสุขในวันอาทิตย์ และโปรดอย่าลืมภาวนาให้พ่อด้วย ขอให้ทานอาหารกลางวันอย่างมีความสุข และพบกันใหม่

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บคำปราศรัยนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)