การประชุม COP 26
31 ตุลาคม -12 พฤศจิกายน 2021 ที่ กลาสโกว์ (สก็อตแลนด์)
การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แห่งสหประชาชาติ ค.ศ.2021 เรียกว่า COP 26 เป็นครั้งที่ 26 เพราะเหตุว่าวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ยังคงแย่ลง มีคลื่นความร้อน ไฟไหม้ และน้ำท่วมมากขึ้น บรรดาผู้นำของโลกต้องการแก้ไขอะไร ใน COP 26 นี้
เริ่มวันอาทิตย์ ที่ 31 ตุลาคม ถึง วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ตั้งแต่ COP 21 ใน ค.ศ. 2015 ผู้นำโลกเกือบ 200 คน ได้ลงชื่อใน ข้อตกลงเรื่องสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงปารีส เพื่อหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยพิจารณาถึงสาเหตุ และผล การประชุมครั้งนี้ได้เลื่อนจาก ค.ศ.2020 เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า COP ครั้งที่แล้ว ค.ศ. 2019 จัดที่ มาดริด ประเทศสเปน ครั้งนี้เป็นโอกาสสร้าง เศรษฐกิจโลกให้เข้มแข็ง และยุติธรรมยิ่งขึ้น ยิ่งถ้ารัฐบาลต่างๆรอช้าไม่ลงมือทำอะไร ก็ยิ่งประสบผลสำเร็จยาก
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ส่งสารเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมไปที่วิทยุ BBC ข้อคิดในโอกาสการประชุม COP 26 นี้ ดังนี้
“ผู้ฟัง BBC ที่รัก สวัสดี
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดความไม่มั่นคง แก่ทุกคน และทุกสิ่ง ทำให้เกิดความกังวลสงสัยในระบบเศรษฐกิจ และรูปแบบการจัดการในสังคมของเรา
ความมั่นคงของเราสั่นคลอน ความกระหายอำนาจ และการควบคุมถูกทำให้แตกสลาย เราจึงพบว่าเราอ่อนแอ หวาดกลัว มีวิกฤติ เช่น สุขภาพ สภาพแวดล้อม โภชนาการ เศรษฐกิจ สังคม มนุษยธรรม ความประพฤติ วิกฤติมากมาย รุนแรง แพร่ขยายไปทั่ว และเกิด “พายุร้าย” ทำลายความสัมพันธ์ในสังคม ซึ่งเป็นของขวัญมีคุณค่า ของสิ่งสร้าง
แต่ทุกวิกฤติเรียกร้องให้เกิดวิสัยทัศน์ ความสามารถวางแผน การจัดการรวดเร็ว คิดถึงอนาคตชองบ้านส่วนรวม และโครงการร่วมกันของเรา
วิกฤติเหล่านี้ช่วยให้เราต้องตัดสินใจ การตัดสินใจถึงรากไม่ใช่ง่ายเสมอ ในเวลาเดียวกัน ช่วงเวลายากลำบากเช่นนี้ ก็เป็นโอกาส โอกาสที่เราต้องไม่เสียโดยเปล่าประโยชน์
เราสามารถเผชิญวิกฤติเหล่านี้ โดยการไตร่ตรองในลัทธิโดดเดี่ยวลัทธิการป้องกัน และการวินิจฉัย หรือเราสามารถเห็นมันเป็นโอกาสจริงๆสำหรับการเปลี่ยนแปลง ช่วงเวลาแห่งการกลับใจ และมิใช่แค่ด้านฝ่ายจิต
วิธีการสุดท้ายอย่างเดียวสามารถนำเราไปสู่ขอบฟ้าสว่างไสวกว่า โดยการมีส่วนรับผิดชอบโลกของเรา มีความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดี่ยวกัน ที่มีฐานบนความยุติธรรม ความรู้สึกแห่งชะตากรรมร่วมกัน และตระหนักถึงเอกภาพของครอบครัวมนุษย์ในแผนการของพระเจ้าสำหรับโลกใบนี้
ทั้งหมดนี่เป็นการท้าทายทางวัฒนธรรมที่กว้างขวาง มันหมายถึงการให้ความสำคัญพิเศษต่อความดีส่วนรวม เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในการมอง ทัศนะใหม่ซึ่งในศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ทั้งปัจจุบัน และในอนาคตจะนำวิธีคิด และการกระทำ
บทเรียนที่สำคัญที่สุด เราสามารถใช้วิกฤติเหล่านี้เป็นความต้องการ สร้างด้วยกัน เพื่อว่าจะไม่มีพรมแดน อุปสรรค หรือ กำแพงการเมืองใดๆให้เราซ่อนข้างหลัง ดังที่เราทุกคนรู้ว่าเราไม่สามารถผ่านพ้นวิกฤติด้วยคนเดียว โดยปราศจากผู้อื่น
ไม่นานมานี้ วันที่ 4 ตุลาคม ข้าพเจ้าได้พบกับบรรดาผู้นำศาสนา และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อเซนต์ข้อเรียกร้องร่วมกัน คือเราเองและบรรดาผู้นำการเมือง จะทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบมากขึ้น และสม่ำเสมอ ข้าพเจ้าประทับใจนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง กล่าวว่า “ ถ้าสิ่งต่างๆเป็นอย่างที่มันเป็น ภายใน 50 ปี หลานสาวทารกของผมจะต้องมีชีวิตในโลกที่ไม่น่าอยู่”
เราปล่อยให้เกิดเช่นนี้ไม่ได้
มันจำเป็นที่เราแต่ละคนต้องอุทิศตนต่อการเปลี่ยนแปลงเร่งด่วนแบบนี้อาศัยความเชื่อของตนเอง และชีวิตจิต ในข้อเรียกร้องร่วมกัน เรากล่าวถึงความจำเป็นต้องทำงานอย่างรับผิดชอบ มุ่งสู่ “อารยธรรมแห่งการเอาใจใส่” บ้านส่วนรวมของเรา ต้องทำงานจริงจัง ขจัด“เมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้ง กล่าวคือความละโมบ ความไม่สนใจ ความไม่รู้ ความกลัว ความอยุติธรรม ความไม่มั่นคง และความรุนแรง”
มนุษยชาติไม่เคยต้องจัดการเช่นนี้มาก่อน ต้องมีหลายวิธีเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง ที่จะมาประชุม COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์มาร่วมกันหาคำตอบที่มีประสิทธิผล ต่อวิกฤตินิเวศวิทยา ให้มีความหวังที่เป็นรูปธรรมต่อคนรุ่นใหม่ในอนาคต เราแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนี้ ต่อการคุกคามของอากาศเปลี่ยนแปลงและทำร้ายบ้านส่วนรวมของเรา
ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์ แปล
30 ตุลาคม 2021