คำสอนเกี่ยวกับจดหมายถึงชาวกาลาเทีย: 5. คุณค่าแห่งธรรมบัญญัติ
อรุณสวัสดิ์ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย
นักบุญเปาโลผู้รักพระเยซูคริสต์และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าความรอดคืออะไรสอนพวกเราว่า “บุตรแห่งพันธสัญญา” (กท. 4: 28) – ซึ่งได้แก่พวกเราทุกคนที่ได้รับความชอบธรรมจากพระเยซูคริสต์ – ไม่ถูกผูกมัดโดยธรรมบัญญัติอีกต่อไป แต่ถูกเรียกร้องให้ต้องดำเนินชีวิตในความเป็นอิสระแห่งพระวรสาร ธรรมบัญญัตินั้นยังคงมีอยู่ แต่ยังมีหนทางใหม่อีกซึ่งเป็นธรรมบัญญัติเดียวกันอันได้แก่บัญญัติสิบประการ แต่ด้วยหนทางใหม่ เพราะเฉพาะด้านกฎหมายไม่สามารถสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาแล้ว เพราะฉะนั้นในการเรียนคำสอนวันนี้ พ่อปรารถนาที่จะอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ พวกเราอาจถามว่า จากเนื้อหาจดหมายถึงชาวกาลาเทียบทบาทของธรรมบัญญัติคืออะไร? ในข้อความที่พวกเราได้ฟังมาเปาโลกล่าวว่าธรรมบัญญัติเป็นดุจการชี้นำอย่างหนึ่ง อันเป็นภาพที่สวยงาม เป็นการชี้นำที่พวกเราพูดถึงในการเรียนคำสอนเมื่อครั้งที่แล้ว เป็นภาพที่พวกเราควรที่จะต้องเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของกฎหมายหรือธรรมบัญญัติ
อัครธรรมทูตเปาโลดูเหมือนจะเสนอว่าคริสตชนแบ่งประวัติศาสตร์แห่งการไถ่กู้ออกเป็นสองส่วนและกับเรื่องราวส่วนตัวของตน ซึ่งมีสองระยะเวลาด้วยกันกล่าวคือ ก่อนที่จะมีความเชื่อในพระเยซูคริสต์และหลังจากที่ได้รับความเชื่อในพระองค์ ศูนย์กลางคือเหตุการณ์การสิ้นพระชนม์และการเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ ซึ่งเปาโลทำการเทศนาเพื่อสร้างความเชื่อในพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งความรอด และในพระเยซูคริสต์ซึ่งทำให้พวกเราได้รับความชอบธรรม เพราะฉะนั้นการเริ่มต้นจากความเชื่อในพระเยซูคริสต์จึงมีช่วงเวลา “ก่อน” และ “หลัง” เกี่ยวกับธรรมบัญญัติ เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นมีอยู่ บัญญัติสิบประการก็มีอยู่ แต่มีทัศนคติอย่างหนึ่งก่อนการเสด็จมาในโลกนี้ของพระเยซูคริสต์ และมีทัศนคติอีกอย่างหนึ่งหลังจากนั้น ประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้นถูกกำหนด “ภายใต้ธรรมบัญญัติ” ผู้ที่ปฏิบัติตามหนทางแห่งธรรมบัญญัติจะได้รับความรอด จะได้รับความชอบธรรม ประวัติศาสตร์หลังจากนั้นคือหลังจากการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์เป็นชีวิตที่ดำเนินไปตามการชี้นำของพระจิต (เทียบ กท. 5: 25) นี่เป็นครั้งแรกที่เปาโลกล่าวเช่นนี้ คือการ “อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ” ความหมายคือความคิดของการรับใช้ที่ไร้ซึ่งคุณค่า ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของทาสที่ “อยู่ภายใต้” เสมอ อัครธรรมทูตทำให้เรื่องนี้ชัดเจนด้วยการกล่าวว่าเหมือนพวกเราอยู่ “ใต้ธรรมบัญญัติ” ก็เหมือนกับพวกเราถูก “เฝ้าระวัง” และถูก “ปิดประตูตาย” อันเป็นวิธีคุ้มครองด้วยการป้องกันอย่างหนึ่ง นักบุญเปาโลกล่าวว่าช่วงระยะเวลานี้ยืดยาวมาก – ตั้งแต่ยุคสมัยของโมเสสจนกระทั่งถึงเวลาที่พระเยซูคริสต์เสด็จมา – และจะคงดำรงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่พวกเราดำเนินชีวิตอยู่ในบาป
ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมบัญญัติและบาปจะมีการอธิบายอย่างเป็นระบบมากขึ้นโดยอัครธรรมทูตเปาโลในจดหมายของท่านถึงชาวโรมันที่เขียนขึ้นหลายปีหลังจากฉบับที่ท่านเขียนถึงชาวกาลาเทีย โดยสรุปธรรมบัญญัตินำไปสู่การจำกัดความแห่งการล่วงละเมิดและการทำให้ประชากรยอมรับบาปของตน “ท่านได้กระทำเช่นนี้ ดังนั้นพระบัญญัติ – บัญญัติสิบประการ – กล่าวไว้เช่นนี้ ดังนั้นท่านจึงทำบาป” หรืออย่างที่ประสบการณ์ทั่วไปสอนไว้ ข้อห้ามลงเอยด้วยการกระตุ้นมิให้พวกเราล่วงละเมิดพระบัญญัติ ในจดหมายถึงชาวโรมันท่านเขียนว่า “ขณะที่ยังดำเนินชีวิตตามธรรมชาติมนุษย์ ราคะตัณหาที่ชวนให้ทำบาปก็แสดงพลังอยู่ในทุกส่วนของร่างกายของพวกเรา อาศัยธรรมบัญญัติ เพื่อส่งผลสู่ความตาย บัดนี้พวกเราพ้นจากธรรมบัญญัติแล้ว เพราะการตายจากสิ่งที่พันธนาการพวกเราไว้ เพื่อพวกเราจะได้รับใช้ในแบบใหม่ตามพระจิตเจ้า ไม่ใช่ในแบบเก่าตามตัวอักษรของบทบัญญัติ” (รม. 7: 5-6) ทำไมหรือ? เพราะความชอบธรรมของพระเยซูคริสต์ได้มาถึงแล้ว เปาโลแสดงวิสัยทัศน์ของท่านอย่างชัดเจนในธรรมบัญญัติว่า “พิษของความตายคือบาป ธรรมบัญญัติคือสิ่งแสดงถึงอำนาจของบาป” (1 คร. 15: 56) การเสวนาที่ท่านอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และท่านอยู่ตรงนั้นพร้อมกับประตูที่เปิดกว้างสู่บาป
ในบริบทนี้การอ้างอิงถึงบทบาทของธรรมบัญญัติจะมีความหมายที่สมบูรณ์ แต่ธรรมบัญญัติเป็นตัวชี้ว่าท่านไปสู่ที่ใด? ไปสู่พระเยซูคริสต์ ในระบบวิชาการโบราณการชี้นำไม่มีบทบาทที่ชี้นำที่พวกเรามอบให้กับพระองค์อย่างเช่นในทุกวันนี้ กล่าวคือการสนับสนุนการศึกษาของเด็กทั้งชายและหญิง ในสมัยนั้นที่เขายังเป็นทาสหรือคนรับใช้ที่มีหน้าที่ติดตามลูกของเจ้านายเพื่อส่งเขาไปยังอาจารย์แล้วพาเขากลับบ้าน เขามีหน้าที่คอยปกป้องลูกชายเจ้านายจากอันตรายและคอยดูแลเขาเพื่อสร้างหลักประกันว่าเขาจะไม่ประพฤติชั่ว หน้าที่ของเขาจะเป็นด้านคอยดูแลเรื่องวินัย เมือเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่หน้าที่การชี้นำก็สิ้นสุดลง การชี้นำที่เปาโลอ้างถึงไม่ใช่ครู แต่เป็นคนที่พาลูกชายเจ้านายไปโรงเรียน เขาเป็นผู้ที่คอยดูแลเด็กคนนั้นแล้วพาเขากลับบ้านโดยปลอดภัย หน้าที่มีเพียงเท่านั้น
การพูดถึงธรรมบัญญัติในความหมายเหล่านี้ทำให้นักบุญเปาโลอธิบายได้ถึงบทบาทที่ธรรมบัญญัติมีในประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล คัมภีร์โตราห์เป็นธรรมบัญญัติ เป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นถึงความใจดีใจกว้างของพระเจ้าต่อประชากรของพระองค์ หลังจากพระเจ้าทรงเลือกอับราฮัมแล้วการกระทำที่ยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่งคือธรมมบัญญัติซึ่งเป็นการจัดหนทางให้ประชากรก้าวเดิน แน่นอนว่าในข้อกำหนดมีการห้ามโน่นห้ามนี่ แต่ในขณะเดียวกันกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็คุ้มครองประชากร กฎเกณฑ์สอนประชากรให้มีวินัยและสนับสนุนความอ่อนแอของพวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปกป้องมิให้พวกเขานับถือพระเท็จเทียม ในยุคนั้นประชากรมีแนวโน้มที่จะหันไปกราบไหว้พระเท็จเทียมกันมาก คัมภีร์โตราห์กล่าวว่า “พระเจ้าเที่ยงแท้มีเพียงพระองค์เดียว พระองค์ทรงขีดเส้นทางให้พวกเราเดิน” เป็นการกระทำความดีอันทรงมีพระเมตตาของพระเจ้า แน่นอนว่าในกฎหมายมีการจำกัด แต่ในขณะเดียวกันก็ปกป้องคุ้มครองประชากร ธรรมบัญญัติสอนใจพวกเขา ทำให้พวกเขาอยู่ในวินัย สนับสนุนส่งสริมความอ่อนแอของพวกเขา และนี่เป็นเหตุผลที่ทำไมอัครธรรมทูตเปาโลจึงพูดถึงวัยผู้เยาว์ ท่านกล่าวว่า “ตลอดเวลาที่ทายาทคนหนึ่งยังเป็นเด็ก เขาก็ไม่แตกต่างอะไรจากทาสเลย ทั้งๆที่เป็นนายของทรัพย์สินทั้งหมด เขายังต้องถูกผู้ปกครองและผู้จัดการควบคุมดูแลจนกว่าจะถึงเวลาที่บิดากำหนดไว้ พวกเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อยังเป็นเด็ก พวกเราก็เป็นทาสของบรรดาจิตที่ควบคุมโลกนี้อยู่” (กท. 4: 1-3) สรุปก็คือความเชื่อมั่นของอัครธรรมทูตอยู่ที่ว่า ธรรมบัญญัติทำหน้าที่เชิงบวก – เหมือนผู้ที่เฝ้าติดตามเด็ก – แต่เป็นหน้าที่ซึ่งถูกจำกัดด้วยกาลเวลา ไม่อาจที่จะยืดเวลาออกไปได้นาน เพราะชีวิตขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของปัจเจกบุคคลและการเลือกที่เป็นอิสระของเขา เมื่อเขามีความเชื่อแล้วธรรมบัญญัติก็กลายเป็นสิ่งไร้ค่าและต้องยอมจำนนให้กับอีกอำนาจหนึ่ง นี่หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าหลังจากการหมดหน้าที่ของธรรมบัญญัติพวกเราสามารถกล่าวได้ว่า “พวกเราเชื่อในพระเยซูคริสต์และสามารถททำตามสิ่งที่พวกเราต้องการกระนั้นหรือ?” เปล่าเลย! ยังมีพระบัญญัติอยู่ แต่ไม่ได้สร้างความชอบธรรมให้แก่พวกเรา ผู้ที่ทำให้พวกเรามีความชอบธรรมคือพระเยซูคริสต์ พวกเราต้องปฏิบัติตามพระบัญญัติที่สามารถมอบความชอบธรรมให้แก่พวกเรา การให้แบบเปล่า ๆ ของพระเยซูคริสต์เป็นการได้พบกับพระองค์ผู้ที่จะทรงทำให้พวกเรามีความชอบธรรม ผลบุญแห่งความเชื่อคือการที่ให้การต้อนรับพระเยซูคริสต์ ผลบุญแต่ประการเดียวคือเปิดใจกว้าง แล้วพวกเราจะทำอย่างไรกับพระบัญญัติ? พวกเราต้องปฏิบัติตามพระบัญญัติ เพียงแค่เป็นการช่วยที่จะทำให้พวกเราได้พบกับพระเยซูคริสต์
คำสอนเรื่องคุณค่าของธรรมบัญญัตินี้มีความสำคัญมากและสมควรที่พวกเราต้องพิจารณาเป็นอย่างดีเพื่อที่พวกเราจะได้ไม่เข้าใจผิดและเลือกเดินในทางที่ผิด อาจจะเป็นการดีที่จะถามตัวพวกเราเองว่า ถ้าหากพวกเรายังดำเนินชีวิตในยุคที่พวกเราต้องการธรรมบัญญัติ หรือตรงกันข้ามถ้าพวกเรารับรู้อย่างดีว่าพวกเราได้รับพระหรรษทานอย่างบริบูรณ์ในการเป็นบุตรของพระเจ้าเพื่อที่พวกเราจะได้ดำเนินชีวิตในความรัก ฉันจะดำเนินชีวิตอย่างไร? เกรงกลัวว่าหากฉันไม่ทำเช่นนี้ฉันจะตกนรกหรือ? หรือว่าฉันดำเนินชีวิตในความหวังนั้นด้วยพร้อมกับความชื่นชมยินดีแห่งการได้มาแบบเปล่า ๆ แห่งความรอดในพระเยซูคริสต์? นี่เป็นคำถามที่ดี และประการที่สอง ตัวฉันละเลย ไม่ใส่ใจกับพระบัญญัติหรือไม่? เปล่าเลย! ฉันปฏิบัติตามพระบัญญัติแน่นอน แต่ไม่ใช่เป็นสิ่งสูงสุดแบบตามตัวอักษรไร้ซึ่งความหมาย เพราะฉันทราบดีว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ที่จะทำให้ฉันมีความชอบธรรม
พระสันตะปาปาทรงกล่าวต้อนรับ
พ่อขอต้อนรับประชาสัตบุรุษที่พูดภาษาอังกฤษ ขอให้ฤดูร้อนนี้มีความอันราบรื่นเป็นเวลาพิเศษสำหรับลูก ๆ ท่านและครอบครัวของพวกลูก นำมาซึ่งพระพร พระหรรษทานและการฟื้นฟูชีวิตจิต ขอพระเจ้าโปรดอวยพรลูก ๆ ทุกคน
_____________________________
สรุปคำปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ลูก ๆพี่น้องชายหญิงที่รัก ในการเรียนคำสอนของพวกเราต่อไปเกี่ยวกับจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย พวกเราเห็นว่านักบุญเปาโลสอนว่าความเชื่อในพระเยซูคริสต์นั้นนำเสรีภาพฝ่ายจิต ที่ทำให้ผู้มีความเชื่อเป็นไทจากบัญญัติแห่งโมเสสอย่างไร สำหรับเปาโลแล้วธรรมบัญญัติทำหน้าที่เพียงแค่ตัว “ชี้นำ” ในฐานะที่เป็นของขวัญอันทรงพระเมตตาของพระเจ้า เรียกร้องให้พวกเรานบนอบต่อพระบัญญัติของพระองค์ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงความจริงแห่งความบาป และความต้องการความรอดของพวกเรา พร้อมกับการเสด็จมาแห่งพระเยซูคริสต์ และพระหรรษทานแห่งการไถ่กู้ให้รอดของพระองค์ ธรรมบัญญัติเป็นเพียงตัวช่วยให้พบกับความบริบูรณ์ในพระวรสารแห่งชีวิตใหม่และเสรีภาพในพระจิต
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บการสอนคำสอนของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)