วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567
  

การเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาแบบทั่วไป GENERAL AUDIENCE, 11 January 2023

Catechesis. The passion for evangelization: The believer’s apostolic zeal. The call to the apostolate (Mt 9:9-13)

การสอนคำสอน ความรักในการประกาศพระวรสาร  ความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีของผู้ที่มีความเชื่อ การเรียกเพื่องานธรรมทูต (มธ. 9:9-13)

Dear brothers and sisters, good morning!

อรุณสวัสดิ์ ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิง !

Today we begin a new cycle of catechesis, dedicated to an urgent and decisive theme for Christian life: the passion for evangelization, that is, apostolic zeal. It is a vital dimension for the Church: the community of Jesus’ disciples is in fact born apostolic, born missionary, not proselytizing. And from the start we have to distinguish: being missionary, being apostolic, evangelizing, is not the same as proselytizing, they have nothing to do with one another. It concerns a vital dimension for the Church. The community of the disciples of Jesus is born apostolic and missionary. The Holy Spirit moulds it outwardly – the Church moves out, that goes out – so that it is not closed in on itself, but turned outward, a contagious witness of Jesus – the faith is also contagious – reaching out to radiate His light to the ends of the earth. It can happen, however, that the apostolic ardour, the desire to reach others with the good news of the Gospel, diminishes, becomes tepid. Sometimes it seems to be eclipsed; there are “closed-off” Christians, they don’t think of others. But when Christian life loses sight of the horizon of evangelization, horizon of proclamation, it grows sick: it closes in on itself, becomes self-referential, it becomes atrophied. Without apostolic zeal, faith withers. Mission, on the other hand, is the oxygen of Christian life: it invigorates and purifies it. Let us embark, then, on a process of rediscovering the evangelising passion, starting with the Scriptures and the Church’s teaching, to draw apostolic zeal from its sources. Then we will approach some living sources, some witnesses who have rekindled within the Church the passion for the Gospel, so that they may help us to rekindle the fire that the Holy Spirit wants to keep burning within us.

            สำหรับการสอนคำสอนในวันนี้ พวกเราขึ้นหัวข้อใหม่ โดยจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เร่งด่วนและสำคัญในชีวิตคริสตชน : ความรักในการประกาศพระวรสาร  นั่นก็คือ ความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดี อันเป็นมิติที่สำคัญต่อพระศาสนจักร : ชุมชนของศิษย์พระเยซูคริสต์เกิดขึ้นมาจากการเป็นประกาศข่าวดี การเป็นธรรมทูต ซึ่งไม่ใช่การชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา ดังนี้แล้วพวกเราต้องแยกแยะว่า การเป็นธรรมทูต การประกาศข่าวดี การประกาศพระวรสาร ไม่เหมือนกับการชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย นี่เป็นมิติที่สำคัญสำหรับพระศาสนจักร ชุมชนของศิษย์พระเยซูคริสต์เกิดมาจากการเป็นธรรมทูตและการประกาศข่าวดี พระจิตทรงผลักให้ชุมชนเดินออกไป พระศาสนจักรที่ก้าวออกไป เพื่อที่พระศาสนจักรจะไม่ได้ปิดกั้นอยู่กันตัวเอง ทว่าเป็นพยานที่ประกาศถึงพระเยซูคริสต์อย่างแพร่หลาย ความเชื่อก็เป็นเรื่องที่แพร่หลายอย่างง่ายดายเช่นกัน โดยกระจายแสงของพระองค์ให้เฉิดฉายไปจวบจนสุดขอบโลก ทว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ที่ความเร่าร้อนในการประกาศข่าวดี ซึ่งก็คือความปรารถนาที่จะประกาศข่าวดีของพระวรสารแก่คนอื่น ๆ อันความเร้าร้อนจะลดลงและจนกลายเป็นความเฉื่อยชา บางครั้งความกระตือรือร้นเหมือนว่าจะถูกบดบัง เนื่องด้วยคริสตชนที่ “ปิดกั้น” ไม่คิดถึงผู้อื่น  และเมื่อชีวิตคริสตชนลืมเรื่องการแพร่ธรรม ลืมเรื่องการประกาศข่าวดี ชีวิตคริสตชนก็จะเป็นชีวิตที่ป่วยไข้ การกักขังอยู่กับตัวเอง กลายเป็นผู้ที่ยึดเพียงตัวเองเป็นที่ตั้ง กลายเป็นชีวิตที่ลีบฝ่อไปในที่สุด หากปราศจากความความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีแล้ว ความเชื่อก็แห้งเหี่ยว ในขณะเดียวกัน ภารกิจก็เป็นเหมือนออกซิเจนสำหรับชีวิตคริสตชน : ภารกิจทำให้ชีวิตคริสตชนกลับมามีชีวิตชีวาและบริสุทธิ์ ขอให้พวกเรากลับเข้าสู่กระบวนการการค้นพบความรักในการประกาศข่าวพระวรสารอีกครั้ง โดยเริ่มจากพระวรสารและคำสอนของพระศาสนจักร เพื่อที่พวกเราจะได้สัมผัสกับความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีจากต้นกำเนิด หลังจากนั้นพวกเราก็จะมาดูตัวอย่างในปัจจุบัน ประจักษ์พยานต่าง ๆ ซึ่งทำให้ความรักในการประกาศพระวรสารเร่าร้อนภายในพระศาสนจักร และเพื่อที่จะช่วยจุดไฟอันซึ่งพระจิตทรงต้องการให้ลุกโชติช่วงภายในใจของพวกเราต่อไป

And today I would like to begin with a somewhat emblematic Gospel episode; we [just] heard it, the call of the Apostle Matthew. And he himself tells the story in his Gospel, which we have heard (cf. 9:9-13).

            และวันนี้พ่ออยากจะเริ่มต้นด้วยเรื่องราวในพระวรสารที่ค่อนข้างเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งพวกเราพึ่งได้ฟัง นั่นก็คือ เรื่องพระเยซูคริสต์ทรงเรียกมัทธิว ซึ่งเขาก็เล่าเรื่องราวของตัวเขาเองในพระวรสาร ซึ่งพวกเราได้ยินไปแล้ว (เทียบ 9:9-13)

It all begins with Jesus, who, the text says, “sees a man.” Few people saw Matthew as he was: they knew him as the one who was “sitting at the tax booth” (v. 9). He was, in fact, a tax collector: that is, someone who collected taxes on behalf of the Roman empire that occupied Palestine. In other words, he was a collaborator, a traitor to the people. We can imagine the contempt the people felt for him: he was a “publican,” as they were called. But in the eyes of Jesus, Matthew is a man, with both his miseries and his greatness. Be aware of this: Jesus does not stop at the adjective – Jesus always seeks out the noun. “This person is a sinner, he’s that kind of person…” these are adjectives: Jesus goes to the person, to the heart, “This is a person, this is a man, this is a woman.” Jesus goes to the subject, the noun, never the adjective, He leaves aside the adjectives. And while there is distance between Matthew and his people – because they see the adjective, “publican” – Jesus draws near to Him, because every man is loved by God. “Even this wretch?” Yes, even this wretch. Indeed, the Gospel says He came for this very wretch: “I have come for sinners, not for the righteous.” This gaze of Jesus is really beautiful. It sees the other, whoever he may be, as the recipient of love, is the beginning of the evangelising passion. Everything starts from this gaze, which we learn from Jesus.

            ทุกอย่างเริ่มต้นที่พระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์กล่าวว่า “มาดูชายคนหนึ่ง” หลายคนมองมัทธิวว่าเขาก็ยังเป็นคนเดิม : พวกเขารู้ว่ามัทธิวเป็นบุรุษ “กำลังนั่งอยู่ที่ด่านภาษี” (เทียบ ข้อ 9) ในความจริงเขาเป็นคนเก็บภาษี ซึ่งก็คือคนที่เก็บภาษีให้กับอาณาจักรโรมันที่เข้ายึดครองดินแดนปาเลสไตน์ หากพูดอีกในหนึ่ง เขาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ผู้ทรยศ พวกเราสามารถจินตนาการถึงความเกลียดชังที่ผู้คนรู้สึกต่อมัทธิว พวกเขาเรียกเขาว่า “คนเก็บภาษี”  ทว่าพระเยซูคริสต์เรียกมัทธิวเป็นบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีข้อดีและข้อด้อย พ่อขอให้พึงระลึกว่า : พระเยซูคริสต์ไม่ได้หยุดอยู่แค่คำขยาย/คำคุณศัพท์ แต่พระองค์ค้นหาคำนาม “บุคคลนี้เป็นคนบาป เขาเป็นคนแบบนั้น…” นี่เป็นการพูดแบบการใช้คำขยาย/คำคุณศัพท์พระเยซูคริสต์ทรงเข้าไปหาตัวบุคคล ไปยังหัวใจของพวกเขา “นี่คือคน ๆ หนึ่ง นี่คือชายคนหนึ่ง นี่คือหญิงคนหนึ่ง” พระเยซูคริสต์ทรงเน้นประธานในประโยค พระองค์ทรงใช้คำนาม ไม่ได้ใช้คำขยาย/คำคุณศัพท์ พระองค์ละคำขยาย/คำคุณศัพท์ แม้ว่าจะมัทธิวและชาวยิวจะมีความห่างเหิน เนื่องจากพวกเขามองมัทธิวจากคำขยาย/คำคุณศัพท์ “คนเก็บภาษี” อย่างไรก็ดี พระเยซูคริสต์ทรงเข้าไปหามัทธิว เพราะว่าพระเจ้ารักมนุษย์ทุกคน “แม้กระทั่งคนที่น่าสงสารเวทนา ?” ใช่ แม้กระทั่งคนเลว ในความจริง พระวรสารกล่าวว่าพระเยซูคริสต์มาก็เพื่อผู้ที่น่าเวทนา : “เรามาเพื่อคนบาป ไม่ได้มาเพื่อคนชอบธรรม” สายตาของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม เพราะเป็นสายตาที่มองผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นใคร ในฐานะผู้ที่จะรับความรัก นี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความรักในการประกาศพระวรสาร ทุกอย่างเริ่มต้นจากสายตาแบบพระเยซูคริสต์ ซึ่งพวกเราสามารถเรียนรู้ได้จากพระองค์

We can ask ourselves: how do we look upon others? How often do we see their faults and not their needs; how often do we label people according to what they do or what they think! Even as Christians we say to ourselves: is he one of us or not? This is not the gaze of Jesus: He always looks at each person with mercy and indeed with predilection. And Christians are called to do as Christ did, looking like Him especially at the so-called “distant ones.” Indeed, Matthew’s account of the call ends with Jesus saying, “I have not come to call the righteous, but sinners” (v. 13). And if any one of us considers themselves righteous, Jesus is far away. He draws near to our limitations, to our miseries, to heal them.

            พวกเราสามารถถามตนเองได้ว่า พวกเรามองคนอื่นอย่างไร ? กี่ครั้งที่พวกเรามองเห็นความผิดของผู้อื่นมากกว่าความต้องการของพวกเขา ? กี่ครั้งเล่าที่พวกเราตั้งฉายาคนอื่นตามสิ่งที่พวกเขาทำหรือสิ่งที่พวกเขาคิด ! แม้ว่าในหมู่คริสตชนเอง ซึ่งพวกเราบอกกับตัวเองว่า : เขาเป็นพวกเราหรือไม่ ? สิ่งนี้ไม่ใช่สายตาของพระเยซูคริสต์ พระองค์มองแต่ละคนด้วยความรักและความเมตตา พร้อมกับความโปรดปราน และคริสตชนถูกเรียกเพื่อทำตามสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงกระทำ โดยมองคนอื่น ๆ ตามแบบพระเยซูคริสต์ โดยเฉพาะคนที่ถูกตรีตราว่าเป็น “คนที่อยู่ห่างไกล” ในความจริง เรื่องราวการเรียกมัทธิวจบลงด้วยการประกาศของพระเยซูคริสต์ว่า “เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่มาเพื่อเรียกคนบาป” (เทียบ ข้อ 13) หากใครก็ตามที่คิดว่าตนเองนั้นเป็นผู้ชอบธรรม พระเยซูคริสต์ก็จะอยู่ห่างไกล พระองค์ทรงเข้ามาใกล้ชิดกับบุคคลที่มีข้อจำกัด ข้อด้อยของพวกเรา เพื่อที่จะขจัดสิ่งเหล่านั้น

It all starts, then, with the gaze of Jesus. “He sees a man,” Matthew. This is followed – second step – by a movement. First the gaze: Jesus sees. Second, movement. Matthew was sitting at the tax office; Jesus said to him: “Follow me.” And “ he rose and followed Him” (v. 9). We note that the text emphasises that “he rose.” Why is this detail so important? Because in those days he who was seated had authority over the others, who stood before him to listen to him or, as in that case, to pay tribute. He who sat, in short, had power. The first thing Jesus does is to detach Matthew from power: from sitting to receive others, He sets him in motion towards others, not receiving, no: he goes out to others. He makes him leave a position of supremacy in order to put him on an equal footing with his brothers and sisters and open to him the horizons of service. This is what Christ does, and this is fundamental for Christians: do we disciples of Jesus, we Church, sit around waiting for people to come, or do we know how to get up, to set out with others, to seek others? Saying, “But let them come to me, I am here, let them come,” is a non-Christian position. No, you go to seek them out, you take the first step.

            ทุกอย่างเริ่มต้นจาก สายตาของพระเยซูคริสต์ “พระองค์เห็นชายคนหนึ่ง” มัทธิว และถัดมาในขั้นตอนที่สอง – สังเกตความเคลื่อนไหว ขั้นตอนแรกคือสายตาของพระเยซูคริสต์: พระเยซูคริสต์ทรงเห็น ขั้นตอนที่สอง ความเคลื่อนไหว มัทธิวกำลังนั่งอยู่ที่ด่านภาษี และพระเยซูคริสต์ตรัสแก่เขาว่า “จงตามเรามาเถิด” และ “เขาก็ลุกขึ้นตามพระองค์ไป” พวกเราสามารถสังเกตเห็นได้ว่าพระวรสารเน้น “เขาก็ลุกขึ้น” ทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นรายละเอียดที่สำคัญ ? เพราะว่าในสมัยนั้น คนที่นั่งมีอำนาจเหนือคนที่ยืนต่อหน้า ซึ่งต้องฟังเขา หรือในกรณีนี้ ต้องจ่ายภาษี กล่าวคือใครที่นั่งมีอำนาจ สิ่งแรกที่พระเยซูคริสต์ทรงกระทำ คือ ดึงตัวมัทธิวให้หลุดออกจากอำนาจ พระองค์เปลี่ยนอริยบทของมัทธิว จากการนั่งรอผู้อื่นให้มาหาเป็นการออกไปหาผู้อื่น พระองค์ไม่ได้ให้มัทธิวนั่งรอคนอื่น ๆ เดินมาหาเขา ไม่ใช่เลย แต่ให้มัทธิวออกไปหาคนอื่น ๆ พระเยซูคริสต์ทรงผลักดันให้มัทธิวออกจากตำแหน่งที่มีอำนาจเพื่อให้เขายืนอยู่ในระดับเดียวกันกับพี่น้องชายหญิงของเขา และเพื่อนำเขาไปสู่ประตูแห่งการบริการรับใช้ต่าง ๆ และนี่คือสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทรงกระทำ อันเป็นรากฐานชีวิตคริสตชนทุกคน : พวกเราเป็นศิษย์พระเยซูคริสต์ พวกเราในฐานะศาสนจักร พวกเราเป็นศิษย์พระเยซูคริสต์แบบไหน ? พวกเรานั่งคอยให้ผู้คนมาหาพวกเรา ? พวกเรารู้จักลุกขึ้นและเดินทางไปพร้อมกับผู้อื่น ? หรือรู้จักไปหาผู้อื่นหรือไม่ ? “ให้พวกเขาเข้ามาหา ฉันรออยู่ที่นี่ ให้พวกเขาเข้ามา” นี่เป็นทัศนะของผู้ที่ไม่ใช่คริสตชน ทำแบบนี้ไม่ได้ ลูกต้องไปหาพวกเขา ลูกต้องเริ่มก้าวแรก

A look – Jesus sees; a movement – “he rose”; and third, a destination. After getting up and following Jesus, where will Matthew go? We might imagine that, having changed the man’s life, the Master would lead him to new encounters, new spiritual experiences. No, or at least not immediately. First, Jesus goes to his home; there Matthew prepares “a great feast” for Him, in which “a large crowd of tax collectors” – that is, people like him – takes part (Lk 5:29). Matthew returns to his environment, but he returns there changed and with Jesus. His apostolic zeal does not begin in a new, pure, place, an ideal place, far away, but instead he begins there where he lives, with the people he knows. Here is the message for us: we do not have to wait until we are perfect and have come a long way following Jesus to bear witness to Him, no. Our proclamation begins today, there where we live. And it does not begin by trying to convince others, no, not to convince: by bearing every day to the beauty of the Love that has looked upon us and lifted us up. And it is this beauty, communicating this beauty that will convince people – not communicating ourselves but the Lord Himself. We are the ones who proclaim the Lord, we don’t proclaim ourselves, we don’t proclaim a political party, an ideology. No: we proclaim Jesus. We need to put Jesus in contact with the people, without convincing them but allowing the Lord do the convincing. For as Pope Benedict taught us, “The Church does not engage in proselytism. Instead, she grows by ‘attraction’” (Homily at the Mass for the Inauguration of the Fifth General Conference of the Bishops of Latin America and the Caribbean, Aparecida, 13 May 2007). Don’t forget this: when you see Christians proselytising, making a list of people to come… these are not Christians, they are pagans disguised as Christians, but the heart is pagan. The Church grows not by proselytism, it grows by attraction.

            ในสายพระเนตรของพระเยซูคริสต์ สิ่งแรกพระองค์มองชายคนหนึ่ง และพฤติกรรมความเคลื่อนไหว สิ่งที่สองซึ่งได้แก่ “เขาลุกขึ้น” และสิ่งที่สาม มุ่งจุดหมายปลายทาง หลังจากที่มัทธิวลุกขึ้นและติดตามพระเยซูคริสต์แล้ว มัทธิวจะไปไหน ? พวกเราอาจจะจินตนาการว่า เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงเปลี่ยนชีวิตของชายคนหนึ่งแล้ว พระองค์ก็จะพาเขาไปสู่การพบปะใหม่  ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณใหม่ ไม่เลย หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่ในทันที โดยในตอนแรกนั้น พระเยซูคริสต์ทรงไปหามัทธิวที่บ้านของเขา ซึ่งมัทธิวก็จัดเตรียม “งานเลี้ยงใหญ่” สำหรับพระองค์ ซึ่งมี “คนเก็บภาษีหลายคน” กล่าวคือผู้ที่มาร่วมงานเลี้ยงก็เหมือนกับเขา ร่วมงาน (ลูกา 5:29) มัทธิวกลับไปสู่สิ่งแวดล้อมของเขา ทว่าพอเขากลับไป เขาไม่เหมือนเดิม เขาไปพร้อมกับพระเยซูคริสต์ ความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีของมัทธิวไม่ได้เกิดขึ้นในสถานที่ใหม่ บริสุทธิ์ หรือในสถานที่ดีเลิศ ห่างไกล แต่มัทธิวเริ่มจากสถานที่ที่เขาอยู่ กับคนที่เขารู้จัก และนี่ก็เป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับพวกเรา: พวกเราไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าวันที่พวกเราเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ และได้ติดตามพระเยซูคริสต์เป็นเวลานานมาแล้ว เพื่อที่จะเป็นประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระองค์ ไม่จำเป็นเลย การประกาศพระวรสารของพวกเราเริ่มต้อนวันนี้ ในที่ที่พวกเราอาศัยอยู่ และไม่ได้เริ่มจากการพยายามที่จะโน้มน้าวคนอื่นให้เปลี่ยนศาสนา ไม่ใช่เลย ไม่ใช่การโน้มน้าวให้เปลี่ยนศาสนา แต่โดยอาศัยความสวยงามจากความรักที่พระองค์ทรงมองพวกเราและทรงพยุงพวกเราให้ลุกขึ้นในทุก ๆ วัน และด้วยการกล่าวถึงความรักนี้เองที่จะช่วยโน้มผู้คนอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่การกล่าวถึงตัวพวกเราเอง แต่เป็นพระเจ้า พวกเราเป็นผู้ที่ประกาศถึงพระองค์ แต่พวกเราไม่ได้ประกาศตนเอง พวกเราไม่ได้ประกาศพระวรสารเหมือนกับการประกาศหาเสียงให้มาสนับสนุนพรรคการเมืองหรืออุดมการณ์ ไม่ใช่เลย แต่พวกเราประกาศพระเยซูคริสต์ ดังนี้แล้วพวกเราจำเป็นต้องวางพระองค์ให้ผู้คนทั่วไปสามารถสัมผัสและเข้าถึงได้ โดยไม่ได้โน้มน้าวพวกเขาให้เปลี่ยนศาสนา แต่ปล่อยให้พระเจ้าทรงเป็นผู้จัดการแทน เช่นเดียวกับที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 เคยสอนพวกเรา “พระศาสนจักรไม่ได้ชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา พระศาสนจักรเติบโตโดยอาศัย ‘การดึงดูดใจ’” (บทเทศมิสซาเนื่องในโอกาสการประชุมสภาบิชอปแห่งลาตินอเมริกาและคาบสมุทรคาริบเบียนครั้งที่ห้า, Aparecida, 13 พฤษภาคม 2007). ลูกจงอย่าลืม : เมื่อลูกเห็นคริสตชนที่กำลังชักชวนคนอื่นเปลี่ยนศาสนา จัดทำรายชื่อผู้ที่จะมา… คริสตชนเหล่านี้ไม่ใช่คริสตชน พวกเขาเป็นคนต่างศาสนาซึ่งปลอมตัวมาเป็นคริสตชน และจิตใจของพวกเขาเป็นคนต่างศาสนา พระศาสนจักรเติบโตโดยการดึงดูดใจของผู้คนต่าง ๆ ให้เข้ามา ไม่ใช่การชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา

I remember once, in a hospital in Buenos Aires, the women religious who worked there left because they were too few, and they couldn’t run the hospital. And a community of sisters from Korea came. And they arrived, let’s say on a Monday for example (I don’t remember the day). They took possession of the sisters’ house in the hospital and on Tuesday they came down to visit the sick in the hospital, but they didn’t speak a word of Spanish. They only spoke Korean and the patients were happy, because they commented: “Well done! These nuns, bravo, bravo!” “But what did the sister say to you?” “Nothing, but with her gaze she spoke to me, they communicated Jesus,” not themselves, with their gaze, with their gestures. To communicate Jesus, not ourselves: This is attraction, the opposite of proselytism.

            พ่อจำได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ในโรงพยาบาลที่กรุงบัวนอสไอเรส บรรดานักบวชหญิงซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลได้ถอนตัวออกไป เนื่องจากนักบวชหญิงมีจำนวนน้อยและไม่สามารถดูแลโรงพยาบาลได้ จากนั้นก็มีคณะภคินีจากเกาหลีเข้ามาแทน และเมื่อมาถึง คิดว่าเป็นวันจันทร์ละกัน  (พ่อจำไม่ได้ว่าวันไหน) เหล่านักบวชหญิงจากเกาหลีก็ปักหลักอยู่ที่บ้านของนักบวชในโรงพยาบาล ต่อมาในวันอังคาร เหล่านักบวชหญิงก็มาเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล ทว่าพวกเธอไม่สามารถพูดภาษาสเปนได้แม้แต่คำเดียว นักบวชหญิงเหล่านี้พูดได้แต่ภาษาเกาหลี ถึงกระนั้นผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างรู้สึกมีความสุข เพราะพวกเขากล่าวถึงนักบวชหญิงจากเกาหลีว่า “ยอดเยี่ยม ! บรรดาซิสเตอร์เหล่านี้ สุดยอด ! “แต่ซิสเตอร์ พูดอะไรกับลูก?” “ไม่ได้พูดอะไรเลย นอกจากสายตาที่ซิสเตอร์เหล่านี้มองลูก พวกเธอถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์” ดังนี้แล้วการประกาศพระวรสารไม่ได้เป็นการประกาศถึงตัวของพวกเราเอง แต่เป็นการประกาศพระเยซูคริสต์ผ่านสายตาและการปฏิบัติตน ซึ่งเป็นการดึงดูดใจผู้คน อันตรงกันข้ามกับการชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา

This attractive witness, this joyful witness is the goal to which Jesus leads us with His loving gaze and with the outgoing movement that His Spirit raises up in our hearts. And we can consider whether our gaze resembles that of Jesus, to attract the people, to bring them closer to the Church. Let’s think about that.

            ประจักษ์พยานที่น่าดึงดูดใจ และน่าชื่นชนยินดี คือ จุดประสงค์ที่พระเยซูคริสต์ได้นำพาพวกเรามา ด้วยสายตาแห่งความรักและพลังจากพระจิตที่ยกจิตใจของพวกเราขึ้น พวกเราอาจจะถามตัวเองว่าสายตาของพวกเราที่มองดูคนอื่นนั้นเหมือนกับสายตาของพระเยซูคริสต์ที่มองมัทธิวหรือไม่ ซึ่งเป็นสายตาที่ชวนดึงดูดผู้คน และทำให้พวกเขาเข้าใกล้พระศาสนจักรมากขึ้น พ่อขอให้พวกลูกลองกลับไปคิดไตร่ตรองดู

______________________________________

Special Greetings

พระสันตะปาปากล่าวทักทายพิเศษ

I offer a warm welcome to the English-speaking pilgrims taking part in today’s Audience, especially the groups from Uganda, Australia and the United States of America. I offer a special greeting to the many student groups present, and to the priests of the Institute for Continuing Theological Education of the Pontifical North American College. Upon all of you, and upon your families, I invoke the joy and peace of our Lord Jesus Christ. God bless you!

            พ่อขอกล่าวทักทายผู้จาริกแสวงบุญที่พูดภาษาอังกฤษที่มาร่วมชุมนุมในวันนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้จาริกแสวงบุญจากประเทศอูกานดา ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา พ่อขอกล่าวทักทายเป็นพิเศษให้แก่กลุ่มนักเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ ณ ที่นี้ และบาดหลวงจากสถาบันการศึกษาต่อทางเทววิทยาแห่งสมณวิทยาลัยอเมริกาเหนือ (the Institute for Continuing Theological Education of the Pontifical North American College) พ่อขอให้พวกลูกและครอบครัวของลูกพบกับความปีติยินดีและสันติสุข ขอพระเจ้าอวยพร!

__________________________________________________

Summary of the Holy Father’s words

สรุปคำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิส

Dear brothers and sisters: Today we begin a new series of catecheses on apostolic zeal. Christ’s Church, founded on the apostles, was born with missionary zeal, sent by the Holy Spirit to radiate the light of Christ to every land and people. Apostolic zeal is the very oxygen of our Christian life and an index of the Church’s spiritual health. Drawing upon the Scriptures and the Church’s living tradition, we can find a first, eloquent example of this in the calling of the apostle Matthew. The Gospel tells us that Jesus “saw” this despised tax collector; he looked at Matthew with eyes of mercy and called him to become his disciple. Matthew then “got up and followed him”; now a changed man, he left behind his ill-gotten gains and embraced, with Jesus, a life of discipleship and service to others. Significantly, the first thing Matthew did was bring Jesus to a dinner with many other “tax collectors and sinners”. He went back to where he lived and introduced Jesus to others. This can be our primary lesson in apostolic zeal; in the words of the late Pope Benedict, it proclaims Jesus not by proselytism but by attraction, out of a joyful desire to share with others the loving gaze of Jesus and the call to follow him as his disciples.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย: วันนี้พวกเราขึ้นเรื่องใหม่เกี่ยวกับความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดี พระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ซึ่งก่อตั้งอยู่บนเหล่าอัครสาวก เกิดขึ้นมาพร้อมกับความกระตือรือร้นในการเป็นธรรมทูต ที่พระจิตทรงส่งมาเพื่อช่วยให้แสงของพระเยซูคริสต์เฉิดฉายไปยังทั่วทุกแห่งและทุกคน ความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดี นับว่าเป็นออกซีเจนของชีวิตคริสตชน และเป็นตัวชี้วัดสุขภาพทางจิตวิญญาณของพระศาสนจักร เมื่อพิจารณาพระวรสารและธรรมประเพณี พวกเราสามารถพบตัวอย่างที่แสนคมคายเกี่ยวกับการเรียกนักบุญมัทธิว อัครสาวก พระวรสารบอกแก่พวกเราว่าพระเยซูคริสต์ทรง “มองดู” คนเก็บภาษีที่ถูกดูหมิ่นดูแคลน พระองค์ทรงมองมัทธิวด้วยสายตาแห่งความรักความเมตตา และทรงเรียกเขามาเป็นศิษย์

            จากนั้นมัทธิวก็ “ลุกขึ้นตามพระองค์ไป” เขากลับไปยังที่ ๆ เขาเคยอยู่และแนะนำพระเยซูคริสต์ให้กับคนอื่น ๆ นี่อาจถือเป็นบทเรียนของพวกเราเกี่ยวกับความกระตือรือร้นในการประกาศข่าวดี  ซึ่งพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 เคยกล่าวถึงความกระตือรือร้นนี้ว่าเป็นการประกาศถึงพระเยซูคริสต์ โดยไม่ได้ชักชวนให้เปลี่ยนศาสนา แต่โดยดึงดูดใจ อันมาจากความปรารถนาที่เปี่ยมด้วยความสุขในการแบ่งปันความรักของพระเยซูตริสต์คนอื่น ๆ และกระแสเรียกของการติดตามพระองค์ในฐานะศิษย์ของพระเยซูคริสต์

(วิษณุ ธัญญอนันต์ ธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บการสอนคำสอนพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)