วันอังคาร, 21 มกราคม 2568
  

GENERAL AUDIENCE 2023, 4 January การเข้าเฝ้าแบบทั่วไป วันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2023

Catechesis on Discernment. 14. Spiritual Accompaniment

การสอนคำสอนเกี่ยวกับการไตร่ตรองแยกแยะ

14.การเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิต (Spiritual Accompaniment)

Dear brothers and sisters, good morning!

อรุณสวัสดิ์ ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

Before beginning this catechesis, I would like us to join with those here beside us who are paying their respects to Benedict XVI, and to turn my thoughts to him, a great master of catechesis. His acute and gentle thought was not self-referential, but ecclesial, because he always wanted to accompany us in the encounter with Jesus. Jesus, Crucified and Risen, the Living One and the Lord, was the destination to which Pope Benedict led us, taking us by the hand. May he help us rediscover in Christ the joy of believing and the hope of living.

            ก่อนที่จะเริ่มการสอนคำสอนในวันนี้นั้น พ่ออยากจะให้พวกเราร่วมไว้อาลัยในการกลับสู่บ้านพระบิดาของพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 พร้อมกับบุคคลอื่นๆ ที่นี่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับพวกเรา และพ่ออยากจะคิดถึงพระองค์ท่าน ผู้เป็นปรมาจารย์ในการสอนคำสอน ความคิดที่เฉียบแหลมทว่าเปี่ยมด้วยความอ่อนโยนของท่านไม่ได้เป็นความคิดที่อ้างอิงตัวท่านเพียงแค่บุคคลเดียวเท่านั้น แต่กลับเป็นความคิดที่ทำให้นึกถึงพระศาสนจักร เนื่องจากพระองค์ท่านต้องการที่จะร่วมเดินทางไปกับพวกเรา เพื่อที่จะพบปะกับพระเยซูคริสต์ โดยพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงถูกตรึงการเขนและกลับคืนพระชนม์ชีพ ผู้ทรงมีชีวิต และเป็นพระเจ้า ทรงเป็นจุดหมายปลายทางที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์จูงมือพวกเราไปหา ขอให้พระองค์ท่านช่วยพวกเราในการค้นพบความสุขแห่งการเชื่อ และความหวังในการใช้ชีวิตในพระเยซูคริสต์อีกครั้ง

With today’s catechesis, we will conclude the cycle dedicated to the theme of discernment, and we will do so completing the discourse on aids that can and must support it: support the discernment process. One of these is spiritual accompaniment, important first and foremost for self-knowledge, which as we have seen is an indispensable condition for discernment. Looking at oneself in the mirror, alone, does not always help, as one can adjust the image. Instead, looking at oneself in the mirror with the help of another, this helps a great deal because the other tells you the truth – when he or she is truthful – and in this way helps you.

            สำหรับการเรียนคำสอนในวันนี้ พวกเราจะสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับการไตร่ตรองแยกแยะ โดยพวกเราจะมาดูสิ่งที่จะสามารถช่วยและต้องสนับสนุนกระบวนการไตร่ตรองแยกแยะ โดยหนึ่งในนั้นคือ การเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรกที่ช่วยให้รู้จักตนเอง ซึ่งพวกเราได้เห็นแล้วว่าเรื่องดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการไตร่ตรองแยกแยะ การมองตนเองในกระจกเพียงคนเดียวอาจจะไม่ได้ช่วยเสมอไป เนื่องจากคนที่ส่องกระจกสามารถดัดแปลงภาพในกระจกได้ ในทางกลับกัน หากมองกระจกและให้อีกคนช่วยดู เป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง พวกเราอีกคนจะบอกความจริงแก่พวกลูก เมื่อคนๆ นั้นเป็นคนที่จริงใจ และสิ่งนี้จะช่วยพวกลูก

God’s grace in us always works on our nature. Thinking of a Gospel parable, we can always compare grace to the good seed and nature to the soil (cf. Mk 4:3-9). First of all, it is important to make ourselves known, without fear of sharing the most fragile aspects, where we find ourselves to be more sensitive, weak, or afraid of being judged. Making oneself known, manifesting oneself to a person who accompanies us on the journey of life. Not who decides for us, no: but who accompanies us. Because fragility is, in reality, our true richness: we are rich in fragility, all of us, the true richness which we must learn to respect and welcome, because when it is offered to God, it makes us capable of tenderness, mercy, and love. Woe to those people who do not feel fragile: they are harsh, dictatorial. Instead, people who humbly recognize their own frailties are more understanding with others. Fragility, I dare say, makes us human. Not by chance, the first of Jesus’ three temptations in the desert – the one linked to hunger – tries to rob us of fragility, presenting it as an evil to be rid of, an impediment to being like God. And yet it is our most valuable treasure: indeed God, to make us like him, wished to share our own fragility to the utmost. Look at the crucifix: God who descended into fragility. Look at the Nativity scene, where he arrives in great human fragility. He shared our fragility.

            พระหรรษทานของพระเจ้าในตัวพวกเราจะเกิดขึ้นผ่านลักษณะทางธรรมชาติของพวกเรา เมื่อคิดถึงเรื่องราวเปรียบเทียบจากพระคัมภีร์ พวกเราสามารถเปรียบเทียบพระหรรษทานกับเมล็ดพันธุ์พืชที่ดี และลักษณะทางธรรมชาติกับดิน (เทียบ มก. 4:3-9) โดยในตอนแรกนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้จักตัวเอง โดยไม่กลัวที่จะแบ่งปันแง่มุมที่อ่อนแอเปราะบางที่สุด ซึ่งตรงนั้น พวกเราจะค้นพบตัวของพวกเราที่อ่อนไหวง่าย อ่อนแอ หรือกลัวที่จะถูกตัดสิน ทำให้ตัวตนของพวกเรานั้นเป็นที่รู้จัก แสดงตนเองให้อีกคนหนึ่งซึ่งเดินทางไปพร้อมกับเราในเส้นทางแห่งชีวิต ซึ่งผู้นั้นไม่ได้มาเพื่อตัดสินใจแทนพวกเรา ไม่ใช่เลย แต่เพื่อที่ผู้นั้นจะเดินเคียงข้างพวกเรา ในความจริงนั้น ความอ่อนแอเป็นความร่ำรวยมั่งคั่งที่แท้จริง พวกเราทุกคนร่ำรวยในความอ่อนแอ อันเป็นความร่ำรวยที่แท้จริง ซึ่งพวกเราต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะยอมรับและต้อนรับความอ่อนแอ เนื่องจากว่า หากพระเจ้าเป็นผู้ที่มอบความอ่อนแอนี้แก่พวกเรา นั่นหมายความว่าความอ่อนแอดังกล่าวจะเปลี่ยนพวกเราให้เป็นคนที่เปี่ยมด้วยความอ่อนโยน ความเมตตา และความรัก วิบัติจงเกิดแก่ผู้ที่ไม่รู้สึกเปราะบาง : พวกเขาแข็งกระด้างและบ้าอำนาจ อันที่จริง ใครก็ตามที่มองเห็นถึงความอ่อนแอของตนด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความเข้าอกเข้าใจจากคนอื่นๆ พ่อกล้าพูดว่า ความอ่อนแอทำให้พวกเราเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญที่หนึ่งในบรรดาสามครั้งแรกที่พระเยซูคริสต์ทรงถูกมารผจญในทะเลทรายเกี่ยวข้องกับความหิว ปีศาจพยายามที่จะจี้ไปที่จุดอ่อนแอ ซึ่งเผยให้เห็นว่าเป็นเจ้าปีศาจที่จะต้องถูกกำจัด อันเป็นเครื่องขีดขวางที่จะเป็นเหมือนกับพระเจ้า อย่างไรก็ดี ความอ่อนแอเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดของพวกเรา ดังนี้แล้ว พระเจ้าอยากแบ่งทุกอย่างแม้กระทั่งความอ่อนแอของพวกเรา เพื่อที่จะทำให้พวกเราเหมือนกับพระองค์ เมื่อมองไปที่พระเยซูคริสต์ซึ่งถูกตรึงกางเขน พระเจ้าผู้ทรงมาอยู่ในความอ่อนแอของมนุษย์ พระองค์ได้แบ่งปันความอ่อนแอของพวกเรา

And spiritual accompaniment, if it is docile to the Holy Spirit, helps to unmask misunderstandings, even grave ones, in our consideration of ourselves and our relationship with the Lord. The Gospel presents various examples of clarifying and liberating conversations with Jesus. Think, for example, of those with the Samaritan woman, which we read and read, and there is always this wisdom and tenderness of Jesus; think of the one with Zacchaeus, think of the sinful woman, think of Nicodemus, and the disciples of Emmaus: the Lord’s way of approaching. The people who had a true encounter with Jesus were not afraid to open their hearts, to present their own vulnerability, their own inadequacy, their own fragility. In this way, their self-sharing becomes and experience of salvation, of forgiveness freely received.

            และการเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิตนั้น หากฟังพระจิตแล้ว จะช่วยลบล้างความเข้าใจผิดต่างๆ แม้กระทั่งความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงในระหว่างที่พวกเราไตร่ตรองถึงตัวเราเองและความสัมพันธ์กับพระเจ้า พระคัมภีร์มีตัวอย่างบทสนทนามากมายของพระเยซูคริสต์ที่ชัดเจนแจ่มแจ้งและไม่มีการบังคับ ยกตัวอย่าง เรื่องพระเยซูคริสต์กับหญิงชาวสะมาเรีย ซึ่งพวกเราอ่านแล้วอ่านอีก และทุกครั้งที่อ่าน พวกเราก็รู้สึกถึงความฉลาดหลักแหลมและความอ่อนโยนของพระเยซูคริสต์อยู่เสมอ หรืออีกเรื่องหนึ่ง พระเยซูคริสต์กับศักเคียส ไม่ก็เรื่องราวของหญิงคนบาป เรื่องราวของนิโคเดมัส และเรื่องของบรรดาศิษย์ที่เดินทางไปเอมมาอูส : ทั้งหมดนี้คือวิธีที่พระเจ้าทรงเข้ามาหาพวกเรา ผู้ที่เคยพบปะกับพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริงไม่กลัวที่จะเปิดใจของพวกเขา และไม่หวั่นเกรงที่จะเผยให้เห็นความอ่อนแอของพวกเขา ข้อบกพร่องต่างๆ และข้อด้อยของพวกเขา ด้วยวิธีนี้ การที่พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เกี่ยวกับตัวตนของเขากลายเป็นประสบการณ์แห่งความรอด และการให้อภัย

Recounting what we have lived or are searching for, in front of another person, helps to bring clarity to ourselves, bringing to light the many thoughts that dwell within us, and which often unsettle us with their insistent refrains. How many times, in bleak moments, thoughts like this come to us: “I have done everything wrong, I am worthless, no-one understands me, I will never succeed, I am destined for failure”, how many times it comes to us to think these things. False and poisonous thoughts, that the exchange with another helps to unmask, so we can feel we are loved and valued by the Lord for what we are, capable of doing good things for him. We discover with surprise different ways of seeing things, signs of goodness that have always been present in us. It is true, we can share our frailties with the other, with the one who accompanies us in life, in the spiritual life, the teacher of spiritual life, be they a layperson, a priest, and say: “Look what is happening to me: I am a wretch, these things are happening to me”. And the one who accompanies answers, “Yes, we all have these things”. This helps us to clarify them well, to see where the roots lie and thereby overcome them.

            การเล่าเรื่องในการดำเนินชีวิตของพวกเราหรือสิ่งที่พวกเรากำลังค้นหาต่อหน้าอีกคนหนึ่งช่วยให้พวกเราเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างชัดเจน นำความคิดที่อยู่ภายในใจพวกเราสู่แสงสว่าง และความคิดที่รบกวนพวกเรา ซึ่งวกวนอยู่ในหัวตลอดเวลา กี่ครั้งแล้ว ในช่วงเวลาที่มืดมน ความคิดนี้ก็แล่นเข้ามาในหัวของพวกเรา : “ทุกอย่างที่ฉันทำนั้นแลดูว่าผิด ฉันไร้ค่า ไม่มีใครเข้าใจฉัน ฉันไม่มีวันที่จะประสบความสำเร็จ ฉันเกิดมาเพื่อพบกับความล้มเหลว กี่ครั้งแล้วที่ความคิดดังกล่าวเข้ามาในหัวของพวกเรา ความคิดที่ผิดและเป็นพิษ ซึ่งการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นจะช่วยเผยให้เห็น ดังนี้แล้วพวกเราสามารถรู้สึกถึงความรักของพระเจ้า ผู้ทรงเห็นพวกเรามีค่าในสายพระเนตรของพระองค์ ในแบบฉบับที่พวกเราเป็น และสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้แก่พระองค์ พวกเราค้นพบหนทางที่จะมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยความประหลาดใจ เครื่องหมายของความดีที่เผยอยู่ในตัวของพวกเราตลอดเวลา เป็นความจริงที่พวกเราสามารถแบ่งปันจุดอ่อนของพวกเรากับอีกคนหนึ่ง กับอีกคนที่คอยเดินทางเคียงข้างพวกเราในชีวิต ในชีวิตฝ่ายจิต กับอาจารย์ชีวิตฝ่ายจิต ไม่ว่าจะเป็นสัตบุรุษหรือบาดหลวง โดยพูดกับเขาว่า : “ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันสิ: ฉันเคราะห์ร้าย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับฉัน และผู้ที่เดินเคียงข้างกันนั้นจะตอบว่า ใช่ พวกเรารู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ และนี่ช่วยให้พวกเรามองเห็นได้อย่างชัดเจน และพิจารณาดูว่าสาเหตุนั้นมาจากไหน เพื่อที่จะได้ก้าวผ่านอุปสรรคปัญหาที่เผชิญ

He or she who accompanies does not substitute the Lord, does not do the work in the place of the person accompanied, but walks alongside him or her, encouraging them to interpret what is stirring in their heart, the quintessential place where the Lord speaks. The spiritual accompanier, whom we call spiritual director – I don’t like this term, I prefer spiritual accompanier, it is better – they say: “Fine, but look here, look here”, they draw your attention to things that perhaps pass you by; they help you understand better the signs of the times, the voice of the Lord, the voice of the tempter, the voice of the difficulties that you are unable to overcome. Therefore, it is very important not to journey alone. There is a wise African saying – because they have that tribal mysticism – which says: “If you want to arrive quickly, go alone; if you want to arrive safely, go with others”, go in company, go with your people. This is important. In the spiritual life it is better to be accompanied by someone who knows about us and helps us. And this is spiritual accompaniment.

            เขาหรือเธอที่เดินเคียงข้างกันนั้นไม่ได้ทดแทนพระเจ้า และไม่ได้ทำทุกอย่างแทน แต่เดินเคียงข้างกันไป โดยเขาหรือเธอจะผลักดันให้อ่านสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจ ซึ่งเป็นสถานที่อันดีเลิศที่พระเจ้าตรัสแก่พวกเรา ผู้ที่เดินเคียงข้างในชีวิตฝ่ายจิต (spiritual accompanier) หรือที่พวกเราเรียกกันว่า ผู้แนะนำวิญญาณ (spiritual director) ซึ่งพ่อไม่ชอบใช้คำนี้ พ่อชอบใช้คำว่า ผู้ที่เดินเคียงข้างในชีวิตฝ่ายจิต มากกว่า คำนี้ดูดีกว่า และใครที่บอกกับลูกว่า : “ดีนะ ขอให้ดูตรงนี้สิ ดูตรงนั้นสิ เขาเรียกร้องความสนใจจากลูกในดูสิ่งที่ลูกอาจมองข้ามไป เขาช่วยลูกให้เข้าใจเครื่องหมายแห่งกาลเวลามากขึ้น เสียงของพระเจ้า เสียงของปีศาจที่มาล่อลวง เสียงของความยากลำบากที่ลูกไม่สามารถเอาชนะได้ ดังนี้แล้ว เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราจงอย่าเดินทางคนเดียว มีสุภาษิตแอฟริกาได้กล่าวไว้ว่า ถ้าอยากไปถึงเร็ว ก็เดินไปคนเดียว แต่ถ้าอยากเดินไปถึงอย่างปลอดภัย ให้เดินไปพร้อมกับคนอื่น ซึ่งเป็นความเชื่อของชนเผ่าที่ชาวแอฟริกันยึดถือ จงไปพร้อมกันคนอื่น จงไปพร้อมกับประชากรของพวกท่าน สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ในชีวิตฝ่ายจิต นี่เป็นเรื่องดีที่จะมีใครซักคนเดินเคียงข้าง โดยคนนั้นเป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเราและช่วยเรา ทั้งหมดนี้ก็คือการเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิต

This accompaniment can be fruitful if, on both sides, one has experienced filiality and spiritual kinship. We discover we are children of God at the moment that we discover we are brothers and sisters, children of the same Father. This is why it is essential to be part of a journeying community. We are not alone, we belong to a people, a nation, a city that is on the move, a Church, a parish, this group… a community on the move. One does not go by oneself to the Lord: this will not do. We must understand this clearly. As in the Gospel account of the paralytic, we are often sustained and healed by the faith of someone else (cr. Mk 2:1-5) who helps us go forward, because we all at times have inner paralyses and it takes someone who helps us to overcome that conflict, with help. One does not go to the Lord by oneself, let us remember this clearly; other times we are the ones who take on this commitment on behalf of another brother or sister, and we are accompaniers who help that other person. Without the experience of filiality and kinship, accompaniment can give rise to unrealistic expectations, misunderstandings, in the forms of dependence that leave the person in an infantile state. Accompaniment, but as children of God and brothers and sisters among ourselves.

            การเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิตนี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อแต่ละคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ฉันบุตร (filiality) หรือความเป็นญาติมิตรทางจิตวิญญาณ (kinship) พวกเราค้นพบว่า พวกเราเป็นลูกของพระเจ้าเมื่อพวกเราค้นพบว่าพวกเราเป็นพี่น้องกัน เป็นลูกของพระบิดาเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ก้าวเดินไปด้วยกัน พวกเราไม่ได้อยู่คนเดียว พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของประชากร เป็นส่วนหนึ่งของชนชาติ เป็นเมืองที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอด รวมไปถึงพระศาสนจักร วัด และกลุ่มนี้ชุมชนที่ก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่มีใครที่สามารถไปหาพระเจ้าได้ด้วยตัวคนเดียว : เป็นไปไม่ได้ พวกเราจะต้องเข้าใจเรื่องนี้อย่างแจ่มแจ้ง เช่นเดียวกับในพระคัมภีร์ซึ่งพูดถึงเรื่องคนอัมพาต บ่อยครั้งที่ความเชื่อของผู้อื่นช่วยพยุงพวกเราและรักษาพวกเรา (เทียบ มก. 2:1-5) ซึ่งคนเหล่านี้ช่วยให้พวกเราเดินไปข้างหน้า และทั้งนี้ก็เพราะว่าภายในพวกเราทุกคนเป็นอัมพาต และต้องให้ผู้อื่นมาช่วยพวกเราให้ก้าวข้ามความขัดแย้งนั้น ไม่มีใครสามารถไปหาพระเจ้าได้ด้วยตัวเอง พ่อขอให้พวกเราจำสิ่งนี้ไว้ อย่างไรก็ดี บางครั้งพวกเราก็เป็นผู้ที่ช่วยผู้อื่น พี่น้องชายหญิงของพวกเรา และพวกเราก็เดินเคียงข้างพวกเขาพร้อมกับให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ หากไม่มีประสบการณ์ฉันบุตร หรือความรู้สึกเป็นญาติมิตรแล้ว การเดินเคียงข้างกันสามารถก่อให้เกิดความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง และความเข้าใจผิด ซึ่งเป็นรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อันทำให้คนเป็นเหมือนเด็กอยู่ตลอดเวลาที่ต้องการการพึ่งพา ทว่าการเดินเคียงข้างกันควรอยู่ในรูปแบบเหมือนลูกของพระเจ้า และพี่น้องชายหญิง

The Virgin Mary is a great teacher of discernment: she speaks little, listens a lot, and cherishes in her heart (cf. Lk 2:19). The three attitudes of Our Lady: she speaks little, listens a lot, and cherishes in her heart. And the few times she speaks, she leaves a mark. For example, in the Gospel of John there is a very short phrase uttered by Mary which is a mandate for Christians of all times: “Do whatever he tells you” (cf. 2:5). It is curious: once I heard a very good, very pious elderly woman, who had not studied theology, she was very simple. And she said to me, “Do you know what Our Lady always does?” I don’t know, she embraces you, she calls you… “No, the gesture Our Lady does is this” [points with his finger]. I didn’t understand, and I asked, “What does it mean?”. And the old lady replied, “She always points to Jesus”. This is beautiful: Our Lady takes nothing for herself, she points to Jesus. Do whatever Jesus tells you: that is what Our Lady is like. Mary knows that the Lord speaks to the heart of each person, and asks for these words to be translated into actions and choices. She knew how to do this more than any other person, and indeed she is present in the fundamental moments of Jesus’ life, especially in the supreme moment of death on the Cross.

            พระแม่มารีย์เป็นครูสอนการไตร่ตรองแยกแยะที่ยิ่งใหญ่ : พระแม่ตรัสน้อย และทรงฟังมาก และทรงเก็บสิ่งต่าง ๆ ไว้ในพระทัย (เทียบ ลก. 2:19) ทัศนคติของแม่พระ : ตรัสน้อย ทรงฟังมาก และทรงเก็บไว้ในพระทัย ซึ่งบางครั้งที่พระแม่ตรัส พระแม่ก็ทรงทิ้งร่องรอยไว้ ตัวอย่างเช่น ในพระวรสารของยอห์น มีคำพูดหนึ่งซึ่งเป็นคำพูดสั้น ๆ ที่พระแม่มารีย์ตรัส ซึ่งกลายเป็นคำสั่งสำหรับคริสตชนมาโดยตลอด : “เขาบอกให้พวกท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด” (เทียบ ยน. 2:5) คำพูดนี้เป็นสิ่งที่ชวนสงสัย: มีครั้งหนึ่งพ่อเคยได้ยินหญิงชราที่ศรัทธาอย่างมาก ซึ่งไม่เคยเรียนเทววิทยา เธอเป็นคนที่เรียบง่าย และเธอก็มาถามพ่อว่า คุณพ่อรู้หรือไม่ว่าพระแม่มารีย์ทำอะไรตลอดเวลา พ่อไม่รู้สิ พระแม่กอดลูก พระแม่เรียกลูก… “ไม่น่าเชื่อนะ ท่าทางที่พระแม่มารีย์กระทำคือสิ่งนี้ พ่อไม่เข้าใจ และพ่อก็ถาม นี่หมายถึงอะไร?” และหญิงชราก็ตอบพ่อว่า พระแม่ทรงชี้ไปที่พระเยซูคริสต์ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สวยงาม: พระแม่มารีย์ไม่เคยขออะไรเพื่อตัวพระแม่เอง พระแม่ทรงชี้ไปที่พระเยซูคริสต์ เมื่อพระเยซูคริสต์บอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด และนี่ก็คือพระแม่มารีย์ พระแม่ทรงรู้ว่าพระองค์ตรัสไปยังใจของแต่ละคน และทรงขอพวกเราให้แปลคำพูดเหล่านี้เป็นการกระทำและตัวเลือก พระแม่ทรงรู้ดีที่สุดว่าควรจะต้องทำอย่างไร ด้วยความจริงพระแม่ดำเนินชีวิตอยู่ช่วงเวลาที่สำคัญต่าง ๆ ในชีวิตของพระเยซูคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาสุดท้ายที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

Dear brothers and sisters, we are ending this series of catecheses on discernment: discernment is an art, an art that can be learned and which has its own rules. If learned well, it enables spiritual experience to be lived in an ever more beautiful and orderly manner. Above all, discernment is a gift from God, which must always be asked for, without ever presuming to be expert and self-sufficient. Lord, give me the grace to discern in the moments of life, what I must do, what I must understand. Give me the grace to discern, and give me the person who will help me to discern.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รัก พวกเรากำลังจะจบการสอนคำสอนในเรื่องการไตร่ตรองแยะ  ซึ่งการไตร่ตรองแยกแยะเป็นศิลปะ ศิลปะที่สามารถเรียนรู้กันได้ ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ในตัวเอง ถ้าเรียนรู้การไตร่ตรองแยกแยะได้ดี ก็จะช่วยให้มีประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณที่สวยงามและเป็นระเบียบ โดยเหลือสิ่งอื่นใด การไตร่ตรองแยะเป็นของขวัญจากพระเจ้า ซึ่งจะต้องขอจากพระองค์ โดยต้องไม่คิดว่าตัวเองนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่ต้องพึ่งพาใคร ข้าแต่พระองค์ โปรดประทานพระหรรษทานในการไตร่ตรองแยกแยะให้แก่ลูก ในช่วงเวลาที่ลูกมีสิ่งจะต้องทำ หรือต้องเข้าใจ ขอพระองค์โปรดประทานพระหรรษทานในการไตร่ตรองแยกแยะ และประทานคนที่จะช่วยลูกในการไตร่ตรองแยกแยะด้วยเทอญ

The voice of the Lord can always be recognized; it has a unique style it is a voice that pacifies, encourages and reassures in difficulties. The Gospel reminds us of this continually: “Do not be afraid” (Lk 1:30), how beautiful is the Angel’s word to Mary after the resurrection of Jesus; “Do not be afraid”, “Do not be afraid”, it is the style of the Lord, “Do not be afraid”. “Do not be afraid!” the Lord repeats to us today too, “Do not be afraid”: if we trust in his word, we will play the game of life well, and we will be able to help others. As the Psalm says, his Word is a lamp to our feet and a light to our path (cf. 119, 105).

            เสียงของพระเจ้าสามารถรับรู้ได้เสมอ ซึ่งเสียงของพระองค์มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเป็นเสียงที่สงบ ให้กำลังใจ และทำให้รู้สึกมั่นใจในยามตกทุกข์ได้ยาก พระวรสารทำให้พวกเราระลึกถึงคำพูดนี้อยู่เสมอ: “อย่ากลัวเลย” (ลูกา 1:30) วาจาที่ทูตสวรรค์ได้กล่าวแก่มารีย์หลังจากที่พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ชีพช่างสวยงามนัก อย่ากลัวเลย” “อย่ากลัวเลยนี่เป็นลักษณ์ของพระเจ้า อย่ากลัวเลย” “อย่ากลัวเลย!” พระองค์ทรงย้ำกับพวกเราในปัจจุบันเช่นกัน อย่ากลัวเลย”: ถ้าพวกเราเชื่อในคำพูดของพระองค์ พวกเราจะเล่นเกมแห่งชีวิตได้อย่างดี และพวกเราจะสามารช่วยเหลือผู้อื่น เช่นเดียวกับในเพลงสดุดี พระวาจาของพระองค์เป็น โคมส่องทางของข้าพเจ้า เป็นแสงสว่างส่องทางเดินให้ข้าพเจ้า (เทียบ 119, 105).

______________________________________

Special Greetings

พระสันตะปาปากล่าวทักทายพิเศษ

I offer a warm welcome to the English-speaking pilgrims taking part in today’s Audience, especially the groups from Israel and the United States of America. To all of you and your families, I offer my prayerful good wishes for a new year filled with joy and peace. God bless you!

            พ่อขอกล่าวต้อนรับผู้จาริกแสวงบุญที่พูดภาษาอังกฤษซึ่งมาร่วมชุมนุมในวันนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มาจากประเทศอิสราเอล และสหรัฐอเมริกา พ่อขอให้พวกลูกและครอบครัวของลูกพบกับความปีติยินดีและสันติสุขสำหรับปีใหม่นี้ ขอพระเจ้าอวยพร

__________________________________________________

Summary of the Holy Father’s words

สรุปคำปราศรัยในการสอนคำสอนของพระสันตะปาปาฟรานซิส

Dear brothers and sisters: Today we conclude our catecheses on discernment as the process of coming to a sound understanding of the Lord’s will for our lives. An important aid to discernment is the practice of spiritual direction, in which we share with another person the movements of the Spirit in our heart and, in confronting our own frailty, draw closer to the Lord, who took upon himself and redeemed the weakness of our humanity. The Gospels speak of Jesus’ many encounters with persons who opened their hearts to him and experienced his mercy and forgiveness. In conversation with a spiritual guide, we often discern more clearly the true direction of our lives and the quiet working of God’s grace in our hearts. Spiritual accompaniment also expresses the communitarian nature of our journey to perfection, since together we are members of Christ’s body, sons and daughters of the Father and sharers in the life of the Spirit. As our teacher in the art of discernment we can look to the Blessed Virgin Mary, who leads us to Jesus, who urges us not to fear, but to trust in him and in his words of eternal life.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย: วันนี้พวกเราสรุปคำสอนเกี่ยวกับการไตร่ตรองแยกแยะซึ่งเป็นกระบวนการในการเข้าใจพระประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงอยากเห็นในชีวิตของพวกเรา สิ่งสำคัญที่จะช่วยในการไตร่ตรองแยกแยะนั้นคือการมีผู้แนะนำทางจิตวิญญาณ ซึ่งพวกเราจะแบ่งปันเรื่องความเคลื่อนไหวของพระจิตในใจของพวกเรากับอีกคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่พวกเรากำลังเผชิญกับความอ่อนแอของพวกเราเอง ที่นำพวกเราไปหาพระเจ้า ผู้ทรงแบกรับและไถ่ถอนความอ่อนแอของมนุษยชาติ พระคัมภีร์เล่าถึงพระเยซูคริสต์พบปะกับผู้คนซึ่งเผยสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขาแก่พระองค์ พวกเขาสัมผัสถึงความรักความเมตตา และการให้อภัย เมื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้แนะนำทางจิตวิญญาณ บ่อยครั้งที่พวกเราไตร่ตรองแยกแยะเส้นทางชีวิตที่แท้จริงของพวกเราได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการทำงานของพระหรรษทานของพระเจ้าที่ไร้เสียงในใจของพวกเรา การเดินเคียงข้างกันในชีวิตฝ่ายจิต เป็นการแสดงให้เห็นลักษณะร่วมของเส้นทางที่นำพวกเราไปสู่ความดีบริบูรณ์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเราทุกคนเป็นอวัยวะในพระกายพระเยซูคริสต์ เป็นลูกชายและลูกสาวของพระบิดา และเป็นผู้ที่แบ่งปันในชีวิตของพระจิต เช่นเดียวกับพระอาจารย์ของพวกเรา พวกเราสามารถมองดูพระแม่มารีย์ ซึ่งทรงนำพวกเราไปหาพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงย้ำแก่พวกเราว่าอย่ากลัว แต่ให้เชื่อในพระองค์ และในพระวาจาของพระองค์อันนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็นการสอนคำสอนของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)