วันเสาร์, 21 ธันวาคม 2567
  

พิธีบูชาขอบพระคุณ การเสกเถ้าและโรยเถ้า บทเทศน์พระสันตะปาปาฟรานซิส ณ วิหารนักบุญซาบีน่า กรุงโรม

 “Behold, now is the favourable time; behold, now is the day of salvation!” (2 Cor 6:2). With these words, the Apostle Paul helps us enter into the spirit of the Lenten season. Lent is indeed the “favourable time” to return to what is essential, to divest ourselves of all that weighs us down, to be reconciled with God, and to rekindle the fire of the Holy Spirit hidden beneath the ashes of our frail humanity. Return to what is essential. It is the season of grace when we put into practice what the Lord asks of us at the beginning of today’s first reading: “Return to me with all your heart” (Jl 2:12). Return to what is essential: it is the Lord.

            “ในเวลาอันเหมาะสม เราได้รับฟังท่าน และในวันแห่งความรอดพ้น เราได้ช่วยเหลือท่าน !” (2 คร. 6:2) ข้อความนี้ นักบุญเปาโลอัครสาวกช่วยให้พวกเราเข้าถึงจิตวิญญาณของเทศกาลมหาพรต ซึ่งเป็นเทศกาลอันเป็น “เวลาที่เหมาะสม” เพื่อที่จะกลับไปหาสิ่งที่สำคัญที่สุด กลับไปดูสิ่งต่าง ๆ ภายในตัวของพวกเราเองที่ทำให้พวกเราตกต่ำ อีกทั้งยังเป็นเวลาที่พวกเราจะกลับคืนดีกับพระเจ้า และจุดไฟของพระจิตที่ซ่อนอยู่ใต้เถ้าธุลีของมนุษยชาติที่อ่อนแอ จงกลับไปยังสิ่งที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้นับเป็นเทศกาลแห่งพระหรรษทาน/พระพร เมื่อพวกเราปฏิบัติสิ่งที่พระองค์ทรงขอให้พวกเราปฏิบัติซึ่งปรากฎในช่วงแรกของบทอ่านแรกในวันนี้ “จงกลับมาหาเราด้วยสุดจิตสุดใจเถิด” (ยอล. 2:12) จงกลับไปยังสิ่งที่สำคัญที่สุด : พระเจ้า

The rite of the imposition of ashes serves as the beginning of this return journey.  It exhorts us to do two things: to return to the truth about ourselves and to return to God and to our brothers and sisters.

            พิธีโรยเถ้าแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการกลับไปยังสิ่งที่สำคัญที่สุด อีกทั้งยังเป็นพิธีที่ให้ข้อเตือนใจแก่พวกเราสองประการ อันได้แก่ : จงกลับไปยังความจริงเกี่ยวกับตัวของพวกเราเอง และ จงกลับไปหาพระเจ้าและพี่น้องชายหญิงของพวกเรา

First, to return to the truth about ourselves. The ashes remind us who we are and whence we come. They bring us back to the essential truth of our lives: the Lord alone is God and we are the work of his hands. That is the truth of who we are. We have life, whereas God is life. He is the Creator, while we are the fragile clay fashioned by his hands. We come from the earth and we need heaven; we need him. With God, we will rise from our ashes, but without him, we are dust. As we humbly bow our heads to receive the ashes, we are reminded of this truth: we are the Lord’s; we belong to him. For God “formed man from the dust of the ground, and breathed into his nostrils the breath of life” (Gen 2:7); we exist because he breathed into us the breath of life. As a tender and merciful Father, God too experiences Lent, since he is concerned for us; he waits for us; he awaits our return.  And he constantly urges us not to despair, even when we lie fallen in the dust of our weakness and sin, for “he knows how we were made; he remembers that we are dust” (Ps 103:14). Let us listen to those words again: He remembers that we are dust. God knows this; yet we often forget it, and think that we are self-sufficient, strong and invincible without him. We put on maquillage and think we are better than we really are. We are dust.

            ขั้นตอนที่หนึ่ง : จงกลับไปยังความจริงเกี่ยวกับตัวตนของพวกเราเอง เถ้าทำให้พวกเรากลับมาระถึงว่าพวกเราคือใคร และมาจากไหน เถ้ายังนำพาพวกเรากลับมาสู่ความจริงพื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตของพวกเรา พระองค์เท่านั้นที่ทรงเป็นพระเจ้า และพวกเราต่างเป็นผลงานของพระองค์ นั่นคือความจริงเกี่ยวกับตัวตนของพวกเรา ในขณะที่พวกเรา “มี” ชีวิต พระเจ้าทรง “เป็น” ชีวิต พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งสรรพสัตว์ ทว่าพวกเราเป็นดินเหนียวที่อ่อนโอนซึ่งได้รับการปั้นโดยพระหัตถ์ของพระองค์ พวกเรามาจากโลก และพวกเราต้องการสวรรค์ พวกเราต้องการพระองค์ พร้อมกับพระเจ้าแล้ว พวกเราจะกลับขึ้นมาจากเถ้าธุลี ทว่าหากปราศจากพระองค์แล้ว พวกเราก็เป็นเพียงแค่ฝุ่นดิน การที่พวกเราก้มศีรษะรับเถ้านั้นช่วยให้พวกเราสามารถระลึกถึงความจริงที่ว่า : พวกเราขึ้นอยู่กับพระองค์ พวกเราเป็นของพระองค์ ซึ่ง “ทรงนำเอาฝุ่นจากพื้นดินมาปั้นมนุษย์ และทรงเป่าลมแห่งชีวิตเข้าในจมูกของเขา มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต” (ปฐก. 2:7) พวกเรามีตัวตนเนื่องจากพระองค์ทรงเป่าลมแห่งชีวิตแก่พวกเรา ในฐานะที่เป็นบิดาที่แสนอบอุ่นและเปี่ยมด้วยความเมตตา พระเจ้าทรงเข้าร่วมเทศกาลมหาพรตเช่นกัน เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นห่วงพวกเรา พระองค์ทรงรอพวกเรา พระองค์ทรงรอพวกเรากลับมา นอกจากนี้พระองค์ทรงคอยเป็นกำลังใจให้แก่พวกเรา  ไม่ให้พวกเราต้องรู้สึกสิ้นหวังท้อแท้ ถึงแม้ว่าพวกเราจมอยู่ในความอ่อนแอและบาป “พระองค์ทรงทราบว่าเราถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร ทรงระลึกได้ว่าเราเป็นเพียงฝุ่นดิน” (สดด. 103:14) ขอให้พวกเราฟังพระวาจานี้อีกครั้ง พระองค์ทรงระลึกได้ว่าเราเป็นเพียงฝุ่นดิน พระเจ้าทรงทราบดีว่าพวกเราเป็นแค่ฝุ่นดิน ทว่าพวกเรากลับลืมสิ่งนี้อยู่บ่อยครั้ง และคิดว่าพวกเราสามารถยืนได้ด้วยตนเอง พวกเราแข็งแกร่งและไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีพระองค์ พวกเราตกอยู่ในมายาอันเป็นภาพลวงตา ซึ่งทำให้พวกเราคิดว่าพวกเราเก่ง ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วพวกเราเป็นเพียงแค่ฝุ่นดิน

Lent, then, is the time to remind ourselves who is the Creator and who is the creature. The time to proclaim that God alone is Lord, to drop the pretense of being self-sufficient and the need to put ourselves at the centre of things, to be the top of the class, to think that by our own abilities we can succeed in life and transform the world around us. Now is the favourable time to be converted, to stop looking at ourselves and to start looking into ourselves. How many distractions and trifles distract us from the things that really count!  How often do we get caught up in our own wants and needs, lose sight of the heart of the matter, and fail to embrace the true meaning of our lives in this world! Lent is a time of truth, a time to drop the masks we put on each day to appear perfect in the eyes of the world. It is a time, as Jesus said in the Gospel, to reject lies and hypocrisy: not those of others, but of ourselves: We look them in the eye and resist them.

            เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่ทำให้พวกเราระลึกถึงว่าใครเป็นพระผู้สร้าง และใครเป็นสิ่งสร้าง อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่จะประกาศว่าพระเจ้าเท่านั้นทรงเป็นพระเจ้า จงสละทิ้งจากมายาภาพลวงตาที่ว่าพวกเราสามารถยืนได้ด้วยตนเอง ความคิดที่ว่าพวกเราจะต้องเป็นที่หนึ่ง และคติพจน์ที่ว่าความสามารถของพวกเรานำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และเปลี่ยนแปลงโลกรอบตัวพวกเรา ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะกลับใจ เลิกที่จะ “มองเพียงแค่” ตัวของพวกเรา แต่ให้ “มองเข้าไป” ในตัวของพวกเรา  มีหลายสิ่งมากมายที่ทำให้พวกเราไขว้เขว และคิดถึงสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเราจริง ๆ ! กี่ครั้งเล่าที่พวกเราคิดถึงแต่เพียงแค่สิ่งที่พวกเราต้องการ และสิ่งที่จำเป็นต่อพวกเรา ซึ่งทำให้พวกเราลืมว่าอะไรเป็นหัวใจสำคัญ อีกทั้งมองข้ามความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตในโลกนี้ ! เทศกาลมหาพรตจึงนับว่าเป็น ช่วงเวลาแห่งความจริง อันเป็นช่วงเวลาปฏิเสธคำโกหกหลอกลวงและการเสแสร้ง ซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงตรัสไว้ในพระวรสาร ซึ่งไม่ใช่จากใครอื่น แต่เป็นคำโกหกและการเสแสร้งจากตัวพวกเราเอง ให้พวกเราจ้องมองสิ่งเหล่านี้ และต่อต้านพวกมัน

Yet there is a second step: the ashes invite us also to return to God and to our brothers and sisters. Once we return to the truth about ourselves and remind ourselves that we are not self-sufficient, we realize that we exist only through relationships: our primordial relationship with the Lord and our vital relationships with others. The ashes we receive this evening tell us that every presumption of self-sufficiency is false and that self-idolatry is destructive, imprisoning us in isolation and loneliness: we look in the mirror and believe that we are perfect, the centre of the world. Life is instead a relationship: we receive it from God and from our parents, and we can always revive and renew it thanks to the Lord and to those he puts at our side. Lent, then, is a season of grace when we can rebuild our relationship with God and with others, opening our hearts in the silence of prayer and emerging from the fortress of our self-sufficiency. Lent is the favourable time when we can break the chains of our individualism and isolation, and rediscover, through encounter and listening, our companions along the journey of each day. And to learn once more to love them as brothers and sisters.

            ถึงกระนั้น ยังมีขั้นตอนที่สอง : ผงขี้เถ้าเชิญชวนให้พวกเรา กลับไปหาพระเจ้าและพี่น้องชายหญิงของพวกเรา เมื่อพวกเรากลับไปหาความจริงเกี่ยวกับตัวของพวกเราเอง และระลึกว่าพวกเราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองนั้น พวกเราจะรับรู้ว่าพวกเราอยู่ได้ด้วยความสัมพันธ์ โดยได้แก่ ความสัมพันธ์กับพระเจ้าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ขาดไม่ได้ และความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ผงเถ้าที่พวกเรารับในวันพุธรับเถ้านี้บอกพวกเราถึง แนวคิดต่าง ๆ ที่ยืนยันว่าพวกเราอยู่ได้ด้วยตัวของพวกเราเองนั้นผิด และเป็นการหลงไหลตัวเองซึ่งนำไปสู่หายนะ โดยกักขังพวกเราให้ตกอยู่ในความโดดเดี่ยว เมื่อพวกเรามองไปยังกระจก และเชื่อว่าพวกเราไร้ที่ติ เป็นศูนย์กลางโลก ทว่าในความเป็นจริง ชีวิต คือ ความสัมพันธ์ โดยพวกเราได้รับจากพระเจ้า และจากบิดามารดาของพวกเรา ซึ่งพวกเราสามารถรื้อฟื้นและเริ่มใหม่ได้เสมอ อันเนื่องมาจากพระเจ้าและบุคคลอื่น ๆ ที่พระองค์ทรงส่งมาเคียงข้างพวกเรา เทศกาลมหาพรต เป็นเทศกาลแห่งพระหรรษทาน เวลาแห่งพระพร เมื่อพวกเราสามารถรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระเจ้า และคนอื่น ๆ เปิดหัวใจของพวกเราในคำภาวนา และก้าวข้ามกำแพงแห่งความคิดที่ว่าพวกเราสามารถพึ่งพาตนเองได้ เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาพิเศษที่ช่วยให้พวกเราหลุดออกจากโซ่ตรวจที่ล่ามพวกเราไว้จากความคิดปัจเจกนิยมกับความโดดเดี่ยว ในขณะเดียวกัน นับเป็นช่วงเวลาที่จะช่วยให้พวกเราค้นพบเพื่อนร่วมเดินทางในแต่ละวันอีกครั้ง ผ่านการพบปะและการฟัง ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ที่จะรักพวกเขาเหมือนพี่น้อง

How can we do this? To make this journey, to return to the truth about ourselves and to return to God and to others, we are urged to take three great paths: almsgiving, prayer and fasting. These are the traditional ways, and there is no need for novelty. Jesus said it clearly: almsgiving, prayer and fasting. It is not about mere external rites, these must be actions expressing the renewal of our hearts.  Almsgiving is not a hasty gesture performed to ease our conscience, to compensate for our interior imbalance; rather, it is a way of touching the sufferings of the poor with our own hands and heart. Prayer is not a ritual, but a truthful and loving dialogue with the Father.  Fasting is not a quaint devotion, but a powerful gesture to remind ourselves what truly matters and what is merely ephemeral. Jesus gives “advice that still retains its salutary value for us: external gestures must always be matched by a sincere heart and consistent behaviour.  Indeed, what use is it to tear our garments if our hearts remain distant from the Lord, that is, from goodness and justice?” (BENEDICT XVI, Homily for Ash Wednesday, 1 March 2006). All too often, our gestures and rites have no impact on our lives; they remain superficial. Perhaps we perform them only to gain the admiration or esteem of others. Let us remember this: in our personal life, as in the life of the Church, outward displays, human judgments and the world’s approval count for nothing; the only thing that truly matters is the truth and love that God himself sees.

            พวกเราจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ? สำหรับการเดินทางในเทศกาลมหาพรตนั้น อันนำพวกเรากลับไปสู่ความจริงเกี่ยวกับตัวของพวกเรา และนำพาพวกเรากลับไปหาพระเจ้าและคนอื่น ๆ ซึ่งมีสามเส้นทาง อันเป็นทางแนะนำหลักสำหรับพวกเรา พระเยซูคริสต์ตรัสอย่างชัดเจน ได้แก่ การบริจาคให้ทาน การสวดภาวนา และการจำศีลอดอาหาร นี่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่จารีตพิธีทางภายนอกเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ต้องเป็นการกระทำที่เปลี่ยนแปลงหัวใจของพวกเราใหม่ การให้ทานไม่ใช่เป็นการทำท่าทางที่ช่วยให้พวกเราปลดปล่อยจากมโนธรรม เติมเต็มความไม่สมบูรณ์ภายในจิตใจ ทว่าเป็นการเข้าถึงความรู้สึกทุกข์ทรมานของคนยากไร้ด้วยมือ และจิตใจของพวกเราเอง ส่วนการสวดภาวนานั้น ก็ไม่ได้เป็นเรื่องของพิธีกรรม แต่เป็นการพูดคุยที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความซื่อสัตย์จริงใจกับพระบิดา การอดอาหารไม่ได้เป็นการแสดงถึงความศรัทธา แต่เป็นการกระทำที่ให้พวกเราระลึกถึงว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และอะไรเป็นสิ่งชั่วคราว พระเยซูคริสต์ทรงให้ “คำแนะนำซึ่งมีคุณค่าแก่พวกเรา : การกระทำภายนอกต้องสอดคล้องกับจิตใจที่จริงใจและพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ในความจริง จะมีประโยชน์อันใด ถ้าหากเราฉีกเสื้อผ้าของพวกเรา แต่จิตใจของพวกเรายังคงห่างไกลจากพระเจ้า ห่างไกลจากความดีงามและความยุติธรรม ?” (เบเนดิกต์ ที่ 16, บทเทศน์วันพุธรับเถ้า, 1 มี.ค. 2006) บ่อยครั้งที่การกระทำของพวกเราและพิธีต่าง ๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรเลยต่อชีวิตจริงของพวกเรา แต่กลับเป็นเพียงแค่เรื่องผิวเผิน บางครั้งพวกเราทำสิ่งเหล่านี้เพียงแค่จะเอาใจและทำให้ตนเป็นที่สรรเสริญของคนอื่น ๆ ขอให้พวกเราระลึกถึงสิ่งนี้ : ในชีวิตส่วนตัวของพวกเรา เฉกเช่นเดียวกับชีวิตในพระศาสนจักร รูปลักษณ์ภายนอก ความคิดของมนุษย์ หรือเรื่องราวที่โลกเห็นด้วยนั้นล้วนแต่ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย มีเพียงแค่ความจริงและความรักซึ่งพระเจ้าทรงเห็นเท่านั้นที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

If we stand humbly before his gaze, then almsgiving, prayer and fasting will not simply remain outward displays, but will express what we truly are: children of God, brothers and sisters of one another. Almsgiving, charity, will be a sign of our compassion toward those in need, and help us to return to others. Prayer will give voice to our profound desire to encounter the Father, and will bring us back to him. Fasting will be the spiritual training ground where we joyfully renounce the superfluous things that weigh us down, grow in interior freedom and return to the truth about ourselves. Encounter with the Father, interior freedom, compassion.

            ถ้าพวกเรายืนอย่างถ่อมตนต่อหน้าพระพักตร์พระองค์ การให้ทาน การสวดภาวนา และการจำศีลอดอาหารจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงออกทางภายนอก แต่เป็นการแสดงออกถึงสิ่งที่พวกเราเป็นอย่างแท้จริง นั่นก็คือ พวกเราเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นพี่น้องของกันและกัน ในขณะที่การให้ทาน การบริจาคกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาที่พวกเรามีต่อผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ และช่วยให้พวกเราตอบแทนคนอื่น ๆ ส่วนการสวดภาวนาจะช่วยให้พวกเราได้ยินถึงเสียงของความปรารถนาที่อยู่ลึกลงไปในใจของพวกเรา ซึ่งก็คือ การพบกับพระบิดา และช่วยพาพวกเรากลับไปหาพระองค์ สุดท้ายการจำศีลอดอาหารจะกลายเป็นการฝึกทางจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้พวกเรารู้จักปฏิเสธสิ่งที่ฟุ่มเฟือยอันดึงพวกเราให้ตกต่ำ โดยช่วยให้พวกเราเติบโตในเสรีภาพภายในจิตใจ และพาพวกเรากลับไปพบกับความจริงเกี่ยวกับตัวตนของพวกเรา กล่าวโดยสรุปสามคำ : การพบปะกับพระบิดา เสรีภาพภายในจิตใจ และความเมตตา

Dear brothers and sisters, let us bow our heads, receive the ashes, and lighten our hearts. Let us set out on the path of charity. We have been given forty days, a “favourable time” to remind ourselves that the world is bigger than our narrow personal needs, and to rediscover the joy, not of accumulating material goods, but of caring for those who are poor and afflicted. Let us set out, then, on the path of prayer and use these forty days to restore God’s primacy in our lives and to dialogue with him from the heart, and not only in spare moments. Let us set out on the path of fasting and use these forty days to take stock of ourselves, to free ourselves from the dictatorship of full schedules, crowded agendas and superficial needs, and choose the things that truly matter.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย ขอให้พวกเราก้มศีรษะลงรับเถ้า และจุดไฟในใจของพวกเรา ขอให้พวกเราออกเดินทางในเส้นทางแห่งความรัก พวกเรามีเวลาสี่สิบวัน อันเป็น “ช่วงเวลาอันเหมาะสม” ที่จะระลึกว่าโลกนั้นกว้างใหญ่กว่าความต้องการส่วนตัวที่คับแคบของพวกเรา และกลับไปค้นพบความรู้สึกปลื้มปีติสุข ซึ่งไม่ใช่เป็นความรู้สึกจากการไม่สะสมวัตถุสิ่งของ แต่เป็นการดูแลผู้ยากไร้และผู้ที่ทุกข์ทรมาน ขอให้พวกเราออกเดินทางในเส้นทางแห่งการภาวนา และใช้เวลาสี่สิบวันนี้เพื่อที่จะระลึกว่าพระเจ้ามีความสำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเรา และพูดคุยกับพระองค์จากใจจริง โดยไม่ได้จำกัดเพียงแค่ช่วงที่พวกเรามีเวลาว่าง ขอให้พวกเราออกเดินทางให้เส้นทางแห่งการจำศีลอดอาหาร และใช้เวลาสี่สิบวันนี้ที่เพื่อพิจารณาจิตใจของพวกเรา เพื่อทำให้พวกเราเป็นอิสระจากตารางเวลาที่อัดแน่น กำหนดการแต่ละวันมากมาย และความจำเป็นที่ผิวเผิน และเพื่อที่พวกเราสามารถเลือกสิ่งที่สำคัญที่สุดจริง ๆ

Brothers and sisters, let us not neglect the grace of this holy season, but fix our gaze on the cross and set out, responding generously to the powerful promptings of Lent. At the end of the journey, we will encounter with greater joy the Lord of life, we will meet him, who alone can raise us up from our ashes.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย ขอให้พวกเราอย่าลืมพระหรรษทานของเทศกาลที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ และขอให้พวกเราเพ่งพิศไปยังกางเขน และออกเดินทาง เพื่อน้อมรับข้อเตือนใจแห่งเทศกาลมหาพรตที่ยิ่งใหญ่ เมื่อการเดินทางมาถึงจุดจบ พวกเราจะพบกับพระเจ้าแห่งชีวิตด้วยความชื่นชมยินดี พวกเราจะพบกับพระองค์ซึ่งเป็นผู้เดียวที่จะนำพวกเราลุกขึ้นยืนจากเถ้าธุลี อาแมน

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บบทเทศน์วันพุธรับเถ้าของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)