วันอังคาร, 21 มกราคม 2568
  

สาส์นของพระสันตะปาปาฟรานซิส เนื่องในโอกาสวันผู้ป่วยสากล ครั้งที่ 31

Dear brothers and sisters!

ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย !

Illness is part of our human condition. Yet, if illness is experienced in isolation and abandonment, unaccompanied by care and compassion, it can become inhumane.

            การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ ถึงกระนั้น ถ้าต้องเจ็บป่วยในสภาวะที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว และถูกทอดทิ้ง ปล่อยให้อยู่อย่างเดียวดายโดยปราศจากความห่วงใยและความเมตตากรุณา การเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นสามารถเป็นสิ่งโหดร้ายทารุณ

When we go on a journey with others, it is not unusual for someone to feel sick, to have to stop because of fatigue or of some mishap along the way.  It is precisely in such moments that we see how we are walking together: whether we are truly companions on the journey, or merely individuals on the same path, looking after our own interests and leaving others to “make do”. For this reason, on the thirty-first World Day of the Sick, as the whole Church journeys along the synodal path, I invite all of us to reflect on the fact that it is especially through the experience of vulnerability and illness that we can learn to walk together according to the style of God, which is closeness, compassion, and tenderness.

            เมื่อพวกเราออกเดินทางไปเที่ยวพร้อมกับคนอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ธรรมดาที่จะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วย หรือต้องหยุดพักเพราะว่ามีบุคคลในกลุ่มรู้สึกหมดแรงหรือประสบเหตุระหว่างทาง และเป็นช่วงนี้เท่านั้นที่พวกเราจะเห็นได้ว่าพวกเราจำต้องเดินด้วยกันอย่างไร พวกเราเป็นเพื่อนเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ในระหว่างที่ออกเดินทางหรือไม่? หรือว่าพวกเราต่างคนต่างเดิน หรือแค่พวกเราเดินอยู่ในเส้นทางเดียวกันเท่านั้น มองแค่เพียงผลประโยชน์ส่วนตัว และปล่อยให้คนอื่น ๆ “เอาตัวรอด” ตามมีตามเกิด ด้วยเหตุนี้ เนื่องในโอกาสวันผู้ป่วยสากล ครั้งที่สามสิบเอ็ดนี้ ซึ่งพระศาสนจักรสากลกำลังก้าวเดินไปด้วยกัน พ่อขอเชิญชวนทุกคนให้พิจารณาไตร่ตรองว่าประสบการณ์จากการบาดเจ็บอ่อนแอ และการล้มป่วยสอนให้พวกเราเดินไปด้วยกันตามแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งก็คือ ความใกล้ชิด ความเมตตากรุณา และความอ่อนโยน

In the Book of the Prophet Ezekiel, the Lord speaks these words that represent one of the high points of God’s Revelation: “I myself will be the shepherd of my sheep, and I will make them lie down, says the Lord God.. I will seek the lost, and I will bring back the strayed, and I will bind up the injured, and I will strengthen the weak […] I will feed them with justice” (34:15-16). Experiences of bewilderment, sickness, and weakness are part of the human journey. Far from excluding us from God’s people, they bring us to the centre of the Lord’s attention, for he is our Father and does not want to lose even one of his children along the way. Let us learn from him, then, how to be a community that truly walks together, capable of resisting the throwaway culture.

            จากหนังสือประกาศกเอเสเคียล พระเจ้าทรงพูดถึงการเผยแสดงของพระองค์ : “เราเองจะเป็นผู้เลี้ยงแกะของเรา เราจะให้เขานอนพัก – พระยาห์เวห์องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส – เราจะตามหาแกะที่สูญหายไป เราจะนำแกะที่หลงทางกลับมา เราจะพันแผลของแกะที่บาดเจ็บ เราจะเสริมกำลังแกะที่อ่อนเพลีย […] เราจะเลี้ยงเขาอย่างยุติธรรม. (อสค. 34:15-16) ประสบการณ์ความสับสน การเจ็บไข้ได้ป่วย และความอ่อนแอเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ แทนที่ประสบการณ์เหล่านี้จะพาพวกเราออกจากประชากรของพระเจ้า แต่กลับทำให้พวกเรากลายเป็นศูนย์กลางความสนใจของพระเจ้า ซึ่งทรงเป็นพระบิดาของพวกเรา และทรงไม่ต้องการที่จะสูญเสียลูกของพระองค์ในระหว่างการเดินทาง พ่อขอให้พวกเราเรียนรู้จากพระองค์เกี่ยวกับชุมชนที่เดินไปด้วยกันอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถต้านทานต่อวัฒนธรรมแห่งการทิ้งขว้าง

The Encyclical Fratelli Tutti encourages us to read anew the parable of the Good Samaritan, which I chose in order to illustrate how we can move from the “dark clouds” of a closed world to “envisaging and engendering an open world” (cf. No. 56). There is a profound link between this parable of Jesus and the many ways in which fraternity is denied in today’s world. In particular, the fact that the man, beaten and robbed, is abandoned on the side of the road represents the condition in which all too many of our brothers and sisters are left at a time when they most need help. It is no longer easy to distinguish the assaults on human life and dignity that arise from natural causes from those caused by injustice and violence. In fact, increasing levels of inequality and the prevailing interests of the few now affect every human environment to the extent that it is difficult to consider any experience as having solely “natural” causes. All suffering takes place in the context of a “culture” and its various contradictions.

            ในสมณสาส์น ทุกคนเป็นพี่น้องกัน (Fratelli Tutti) สนับสนุนให้พวกเราอ่านเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี ซึ่งพ่อได้หยิบเรื่องนี้เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกเราสามารถเปลี่ยน “เมฆสีดำ” ในโลกที่ปิดกั้น ให้เป็นการ “คาดการณ์และสร้างโลกที่เปิดกว้าง” (เทียบ FT ข้อ 56) อันที่จริงเรื่องเล่าเปรียบเทียบของพระเยซูคริสต์มีความสัมพันธ์กับความเป็นพี่น้อง ซึ่งถูกปฏิเสธในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชายซึ่งถูกทุบตีและถูกปล้น ถูกปล่อยทิ้งไว้ข้างถนน ได้แสดงให้เห็นสภาพชีวิตของพี่น้องชายหญิงของพวกเราซึ่งถูกทอดทิ้งในเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด การจำแนกความแตกต่างระหว่างการเหยียบย่ำชีวิตมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเนื่องมาจากความอยุติธรรมและความรุนแรงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายอีกต่อไป อันที่จริง ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มสูงขึ้น และผลประโยชน์ของคนไม่กี่คนที่เห็นได้อย่างแพร่หลายส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของมนุษย์ทุกคน จนทำให้เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวว่าประสบการณ์ที่พบเจอนั้นเป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” ความทุกข์ทรมานได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “วัฒนธรรม” ท่ามกลางความย้อนแย้งต่าง ๆ

Here it is especially important to recognize the condition of loneliness and abandonment. This kind of cruelty can be overcome more easily than any other injustice, because – as the parable tells us – it only takes a moment of our attention, of being moved to compassion within us, in order to eliminate it. Two travellers, considered pious and religious, see the wounded man, yet fail to stop. The third passer-by, however, a Samaritan, a scorned foreigner, is moved with compassion and takes care of that stranger on the road, treating him as a brother. In doing so, without even thinking about it, he makes a difference, he makes the world more fraternal.

            อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญ คือ การสังเกตเห็นสภาพความโดดเดี่ยวและการถูกทิ้ง ความโหดร้ายประเภทนี้สามารถเอาชนะได้ง่ายกว่าความอยุติธรรมแบบอื่น ๆ  เนื่องจากพวกเราเพียงแค่ใส่ใจ เฉกเช่นเดียวกับเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีแสดงให้พวกเราเห็น พวกเราเพียงแค่ใส่ใจสักชั่วครู การมีความเมตตากรุณาซึ่งมาจากภายในใจของพวกเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำจัดความโหดร้ายจากความโดดเดี่ยวหรือการถูกทิ้ง ผู้เดินทางสองคนซึ่งถือว่าเป็นคนที่มีความเชื่อ/ความศรัทธาและปฏิบัติกิจศรัทธาอย่างเคร่งครัด ยังคงเดินทางต่อไป แม้ว่าพวกเขาเห็นชายคนหนึ่งบาดเจ็บ ทว่าเมื่อชายคนที่สามผ่านมา ซึ่งเขาเป็นชาวสะมาเรีย ชาวต่างชาติที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม กลับแสดงถึงความเมตตากรุณาและดูแลช่วยเหลือชายแปลกหน้าที่อยู่บนถนน และรักษาเขาราวกับว่าเป็นพี่ชายหรือน้องชายคนหนึ่ง และการหยุดช่วยเหลือของชาวสะมาเรียโดยที่เขาไม่ได้คิดอะไร ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เขาทำให้โลกมีความเป็นพี่น้องกันมากขึ้น

Brothers and sisters, we are rarely prepared for illness. Oftentimes, we fail even to admit that we are getting older. Our vulnerability frightens us and the pervasive culture of efficiency pushes us to sweep it under the carpet, leaving no room for our human frailty. In this way, when evil bursts onto the scene and wounds us, we are left stunned. Moreover, others might abandon us at such times. Or, in our own moments of weakness, we may feel that we should abandon others in order to avoid becoming a burden. This is how loneliness sets in, and we can become poisoned by a bitter sense of injustice, as if God himself had abandoned us. Indeed, we may find it hard to remain at peace with the Lord when our relationship with others and with ourselves is damaged. It is crucial, then, even in the midst of illness, that the whole Church measure herself against the Gospel example of the Good Samaritan, in order that she may become a true “field hospital”, for her mission is manifested in acts of care, particularly in the historical circumstances of our time. We are all fragile and vulnerable, and need that compassion which knows how to pause, approach, heal, and raise up. Thus, the plight of the sick is a call that cuts through indifference and slows the pace of those who go on their way as if they had no sisters and brothers.

            ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พวกเราไม่ค่อยได้เตรียมตัวสำหรับการเผชิญกับความเจ็บป่วยมากนัก หลายครั้งที่พวกเราไม่สามารถยอมรับได้ว่าพวกเราอายุมากขึ้น ความอ่อนแอของพวกเราทำให้พวกเรารู้สึกหวาดกลัว และวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพซึ่งแพร่หลายไปทั่วผลักดันให้พวกเราต้องซ่อนความอ่อนแอไว้ใต้พรม โดยไม่เหลือพื้นที่ให้กับความอ่อนแอของพวกเรา ดังนี้แล้ว เมื่อปีศาจปรากฏตัวและทำร้ายพวกเรา ทำให้พวกเราบาดเจ็บ ปล่อยให้พวกเราหมดสติ นอกจากนี้ คนอื่น ๆ อาจจะทิ้งพวกเราไว้ในเวลาเช่นนี้ อันที่จริง เมื่อพวกเราอยู่ในห้วงแห่งความอ่อนแอ พวกเราอาจจะรู้สึกว่าพวกเราควรจะทิ้งคนอื่น เพื่อที่พวกเราจะได้ไม่ต้องมีภาระ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวขึ้น และพวกเราก็ถูกวางยาโดยความอยุติธรรม ราวกับว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้งพวกเรา อันที่จริง พวกเราอาจจะพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสันติสุขกับพระเจ้า เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างพวกเราและคนอื่น ๆ ย่ำแย่ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่พระศาสนจักร ท่ามกลางการเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้น จะเปรียบเทียบกับตัวอย่างจากพระคัมภีร์ เรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี เพื่อที่พระศาสนจักรจะกลายเป็น “โรงพยาบาลสนาม” อย่างแท้จริง ซึ่งพันธกิจของพระศาสนจักรนั้น คือ การเผยให้เห็นความรักความห่วงใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ พวกเราทุกคนล้วนอ่อนแอและเปราะบาง และพวกเราต้องการความเมตตากรุณาซึ่งช่วยให้รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะหยุด เข้ามาหา รักษา และพยุงขึ้น ดังนั้น สภาพของผู้ที่เจ็บป่วยจึงเป็นการเรียกร้องที่ขัดขวางความรู้สึกเฉยเมย และชะลอผู้ใดก็ตามที่เดินทางโดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ราวกับว่าพวกเขาไม่มีพี่น้องเลย

The World Day of the Sick calls for prayer and closeness towards those who suffer. Yet it also aims to raise the awareness of God’s people, healthcare institutions and civil society with regard to a new way of moving forward together. The above-quoted prophecy of Ezekiel judges harshly the priorities of those who wield economic, cultural, and political power over others: “You eat the fat, you clothe yourselves with the wool, you slaughter the fatlings; but you do not feed the sheep. You have not strengthened the weak, you have not healed the sick, you have not bound up the injured, you have not brought back the strayed, you have not sought the lost, but with force and harshness you have ruled them” (34:3-4). God’s word is always illuminating and timely; not only in what it denounces, but also in what it proposes. Indeed, the conclusion of the parable of the Good Samaritan suggests how the exercise of fraternity, which began as a face-to-face encounter, can be expanded into organized care. The elements of the inn, the innkeeper, the money and the promise to remain informed of the situation (cf. Lk 10:34-35) all point to the commitment of healthcare and social workers, family members and volunteers, through whom good stands up in the face of evil every day, in every part of the world.

            วันผู้ป่วยสากลเรียกร้องถึงคำภาวนาและความใกล้ชิดต่อผู้ที่ทุกข์ทรมาน ถึงกระนั้นยังเป็นวันที่มุ่งหวังให้ประชากรของพระเจ้า หน่วยงานสาธารณสุข และสังคมตื่นตัวมากขึ้น ที่จะหาหนทางใหม่ในการก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การพยากรณ์ของประกาศกเอเสเคียลชี้ขาดเกี่ยวกับหน้าที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของผู้ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้คนต่าง ๆ : “แต่ท่านดื่มน้ำนม ใช้ขนแกะคลุมกาย ฆ่าแกะตัวอ้วนๆ แต่ไม่เลี้ยงฝูงแกะ แกะที่อ่อนแอ ท่านไม่ได้เสริมกำลัง แกะที่เจ็บป่วย ท่านก็ไม่รักษา แกะที่บาดเจ็บ ท่านก็ไม่ได้พันแผลให้ และแกะที่พลัดหลง ท่านก็ไม่ได้ไปตามกลับมา แกะที่หายไป ท่านก็ไม่ได้แสวงหา แต่ท่านได้ปกครองบรรดาแกะโดยใช้กำลังอย่างโหดร้าย” (อสค. 34:3-4) พระวาจาของพระเจ้าส่องสว่างและเป็นปัจจุบันเสมอ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พระวาจาประณามเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงสิ่งที่พระวาจานำเสนอ ในความจริง บทสรุปของเรื่องราวชาวสะมาเรียผู้ใจดีเผยให้เห็นว่าความเป็นพี่น้องกัน ซึ่งเริ่มจากการพบปะแบบซึ่ง ๆ หน้า สามารถขยายกลายไปเป็นการรักษาที่เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม เจ้าของโรงแรม เงิน และคำมั่นสัญญาที่จะรับทราบถึงสถานะของเหตุการณ์ (เทียบ ลก. 10:34-35) ทุกอย่างล้วนทำให้คิดถึงศาสนบริกร ผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขและสังคม การอุทิศของสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัครต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำให้ความดียังคงยืดหยัดต่อสู้กับความชั่วในทุก ๆ วัน และทั่วทุกมุมโลก

These past years of the pandemic have increased our sense of gratitude for those who work each day in the fields of healthcare and research. Yet it is not enough to emerge from such an immense collective tragedy simply by honouring heroes. Covid-19 has strained the great networks of expertise and solidarity, and has exposed the structural limits of existing public welfare systems.  Gratitude, then, needs to be matched by actively seeking, in every country, strategies and resources in order to guarantee each person’s fundamental right to basic and decent healthcare.

            โรคระบาดที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบให้พวกเรารู้สึกซาบซึ้งใจต่อผู้ที่ทำงานในสาธารณสุขและงานวิจัยมากขึ้น ถึงกระนั้น นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้พวกเราออกจากความโศกนาฏกรรมกลุ่มที่แสนสาหัสนี้ด้วยการยกย่องวีรบุรุษ โรคระบาดโควิด-19 ได้ทดสอบเครือข่ายขีดความสามารถและความสามัคคีอย่างหนักหน่วง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดทางโครงสร้างของระบบสวัสดิการของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความรู้สึกซาบซึ้งจำเป็นต้องควบคู่ไปกับการสรรหายุทธวิธีและทรัพยากรต่าง ๆ ในทุกประเทศทั่วโลก เพื่อรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล

The Samaritan calls the innkeeper to “take care of him” (Lk 10:35). Jesus addresses the same call to each of us. He exhorts us to “go and do likewise” (Lk 10:37). As I noted in Fratelli Tutti, “The parable shows us how a community can be rebuilt by men and women who identify with the vulnerability of others, who reject the creation of a society of exclusion, and act instead as neighbours, lifting up and rehabilitating the fallen for the sake of the common good” (No. 67). Indeed, “we were created for a fulfilment that can only be found in love. We cannot be indifferent to suffering” (No. 68).

            ชาวสะมาเรียขอร้องเจ้าของโรงแรม “โปรดช่วยดูแลเขาด้วย” (ลก. 10:35) พระเยซูคริสต์ก็เรียกพวกเราแต่ละคนเช่นเดียวกัน “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด” (ลก. 10:37) เช่นเดียวกับที่พ่อได้เขียนในสมณสาส์นเวียน ทุกคนเป็นพี่น้องกัน “เรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีแสดงให้พวกเราเห็นว่าพวกเราสามารถสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่ได้โดยชายหญิงต่าง ๆ ที่แบกรับความอ่อนแอของผู้อื่นไว้เป็นของตน พวกเขาปฏิเสธที่จะสร้างสังคมแห่งการกีดกัน และปฏิบัติในฐานะเพื่อนบ้านที่คอยพยุงและรักษาใครก็ตามที่ล้มลง โดยทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ส่วนรวม” (FT ข้อ 67) ด้วยความจริง “พวกเราถูกสร้างเพื่อที่พวกเราจะได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถเติมเต็มได้ด้วยความรักเท่านั้น พวกเราไม่สามารถเมินเฉยต่อความทุกข์ทรมานต่าง ๆ” (ข้อ 68)

On 11 February 2023, let us turn our thoughts to the Shrine of Lourdes, a prophetic lesson entrusted to the Church for our modern times. It is not only what functions well or those who are productive that matter. Sick people, in fact, are at the centre of God’s people, and the Church advances together with them as a sign of a humanity in which everyone is precious and no one should be discarded or left behind.

            ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 นี้ ขอให้พวกเราคิดถึงสักการสถานแห่งเมืองลูร์ด เหมือนกับการพยากรณ์บทเรียนบทหนึ่งซึ่งได้มอบหมายให้แก่พระศาสนจักรท่านกลางยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อสิ่งที่ยังคงใช้การได้ดีหรือใครก็ตามที่ยังคงสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่เจ็บป่วย อันที่จริง พวกเขาเหล่านี้คือศูนย์กลางของประชากรของพระเจ้า ทั้งนี้พระศาสนจักรเดินหน้าไปพร้อม ๆ กับพวกเขาอันเป็นสัญลักษณ์ของมนุษยชาติที่ซึ่งทุกคนมีคุณค่า และไม่ควรมีใครถูกทอดทิ้ง

To the intercession of Mary, Health of the Sick, I entrust all of you who are ill; you who care for them in your families, or through your work, research and volunteer service; and those of you who are committed to weaving personal, ecclesial, and civic bonds of fraternity. To all, I impart my heartfelt blessing.

            พ่อขอฝากทุกคนที่เจ็บป่วยให้แก่พระแม่มารีย์ สุขภาพของบรรดาผู้ป่วยทั้งปวง ทุกคนดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เจ็บป่วย หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะโดยหน้าที่การงาน การวิจัย หรืองานอาสาสมัคร อีกทั้งทุกคนที่อุทิศให้กับการสร้างสายสัมพันธ์แห่งความเป็นพี่น้อง ทั้งในระดับส่วนตัว พระศาสนจักรและสังคม พ่อขออวยพรทุก ๆ คน

Rome, Saint John Lateran, 10 January 2023

ให้ไว้ ณ กรุงโรม มหาวิหารนักบุญจอห์น ลาเตรัน วันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2023

FRANCIS

ฟรานซิส

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บสาส์นพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)