วันศุกร์, 10 มกราคม 2568
  

ความผันผวนในพิธีกรรม (บูชาขอบพระคุณ) แห่งจารีตโรมัน

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตัดสินพระทัยโดยการอนุญาตให้พระศาสนจักรประกอบพิธีกรรมจารีตโรมัน เป็นสองประเภทพร้อมกับฟื้นฟูจิตสามัญสำนึกในความเชื่อ ความศรัทธา เพื่อให้มีการนมัสการแบบเดียวกัน “พวกเรามีโต๊ะอาหารเพียงแค่โต๊ะเดียว”

การถวายบูชาขอบพระคุณภาษาลาตินแบบหันหน้าเข้าพระท่านที่ติดกำแพง และการถวายบูชาขอบพระคุณภาษาท้องถิ่นหันหน้าสู่ประชาสัตบุรุษ

ความสำคัญของสมณอัตตาณัติ “ผู้พิทักษ์ธรรมประเพณี – Traditionis custodes” (TC) ของพระสันตะปาปาฟรานซิสจะเข้าใจได้ดีที่สุดด้วยการนำมาเปรียบเทียบกับสมณอัตตาณัติ “จากพระสันตะปาปา -Summorum Pontificum” (SP) ที่ประกาศใช้โดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ในปี 2007 คือเมื่อ 14 ปีที่แล้ว

ก) ประการแรกชื่อของสมณอัตตาณัติ (Motu Proprio) “ผู้พิทักษ์ธรรมประเพณี” หรือภาษาลาติน Traditionis Custodes ประเด็นที่ต้องนำมาพูดคือ บิชอปไม่ใช่พระสันตะปาปา นี่เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจกันให้ถูกต้อง

        ด้วยสมณอัตตาณัติ Summorum Pontificum – SP พระสันตะปาปามีพระประสงค์ที่จะแบ่งเบาภาระหน้าที่ของบิชอปได้เป็นบางส่วน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของบิชอป ที่สำคัญคืออำนาจเหนือจารีตพิธีกรรมในเขตศาสนปกครองของตน

        ด้วยสมณอัตตาณัติ Traditionis Custodes – TC ชี้ให้เห็นว่าอำนาจนี้ถูกทำให้ทบทวนย้อนกลับไปยังผู้ที่มีอำนาจอันถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

        นี่คือหลักโครงสร้างแห่งศาสนจักรวิทยา (Ecclesiology) และพระคัมภีร์ ที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 (1962-65) ยกขึ้นมาใหม่และควรที่จะได้รับการปกป้องในฐานะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด

        การตัดสินพระทัยอย่างกล้าหาญของพระสันตะปาปาฟรานซิส คือ การนำพิธีกรรมมาใช้ในลักษณะ “สองรูปแบบในจารีตโรมัน

หากเรื่องราวที่เกี่ยวกับบิชอปได้รับการฟื้นฟูโดยนัยทางกฎหมาย “deminutio capitis” (ในความหมายของกฎหมายโรมัน หมายถึงการระงับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจากสถานภาพเดิมของบุคคลและความสามารถตามกฎหมาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของผู้มีอำนาจปกครองสูงสุด โดยมีเงื่อนไขสามประการอันมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ มากที่สุด maxima, ปานกลาง media และน้อยที่สุด minima) “เรื่องราวของความขัดแย้ง” ก็จะได้รับการฟื้นฟูจนถึงจุดเด่นเต็มที่ในตัวเองด้วย

        “คู่มีจารีตพิธีกรรมที่ออกโดยนักบุญเปาโลที่ 6 และนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ซึ่งสอดคล้องกับกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 นั้นเป็นการแสดงออกอย่างมีเอกภาพเกี่ยวกับ “กฎเกณฑ์แห่งการสวดภาวนา” (lex orandi) แห่งจารีตโรมัน”(TC, มาตรา 1)

        โดยพื้นฐานแล้วนี่เป็นการสนับสนุนการตัดสินพระทัยอย่างกล้าหาญ ซึ่งสมณอัตตาณัติ SP ยืนหยัด – นั่นคือ “การดำรงอย่างคู่ขนาน” ในจารีตพิธีกรรมสองรูปแบบที่มีความขัดแย้งกัน

        การปฏิรูปฟื้นฟู “รูปแบบที่ถูกต้องอันเป็นหนึ่งเดียวแห่งจารีตโรมัน” ถือว่าเป็นขอบฟ้าเดียวกันซึ่งเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดสันติสุข

        ทฤษฎีอื่น ๆ ทุกประเภทแม้ว่าจะมีเจตนาดีเช่นไรจะสร้างความแตกแยกและความเข้าใจผิดให้กว้างขึ้นไปอีก

        ในอดีตบาทหลวงศาสนบริกรไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากบิชอป ผู้เป็นประมุขของตน

ข) ในสมณอัตตาณัติ SP การขาดช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่มาตรา 2 ซึ่งกำหนด “ความไม่ต้องรับผิดชอบในงานอภิบาล” ของศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวช บาดหลวงสามารถเลือกที่จะประกอบพิธีกรรม ด้วยรูปแบบปกติหรือแบบพิเศษในพิธีบูชาขอบพระคุณพร้อมกับประชาสัตบุรุษหรือปราศจากสัตบุรุษ และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดในการตัดสินใจของตนเอง ดังที่ปรากฏชัดเจนเมื่อ 14 ปีที่แล้ว – และเพราะมีน้อยคนมากที่จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ – นี่ไม่ใช่หลักการแห่งการคืนดีกัน ทว่าเป็นการทำให้พระศาสนจักรแตกแยกยิ่งขึ้น

        บัดนี้ด้วยสมณอัตตาณัติ TC พวกเราสามารถชนะต่อการตัดสินใจนี้ และสามารถที่จะหันกลับมาสู่จิตสำนึกเดิมได้

        พิธีบูชาขอบพระคุณ จะต้องเฉลิมฉลองด้วยจารีตพิธีเดียวที่เป็นสามัญสำหรับทุกคน นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากบิชอป จะต้องไม่มีการแข่งขันกันระหว่างสองรูปแบบแห่งจารีตพิธี เพราะเป็นจารีตพิธีที่สถาปนาขึ้นมา (หลังสภาสังคายนาวาติกัน 2) เพื่อชำระจารีตพิธีดั่งเดิม

ปัญหาของ “การคู่ขนานของจารีตพิธี”

ค) ทฤษฎีอันเป็นนามธรรมที่ถูกนำเสนอเพื่อปกครอง  “คำว่า ทฤษฎีหรือหลักการ” ในสมณอัตตาณัติ SP คือจารีตพิธีสองรูปแบบจะก่อให้เกิดความสมดุลใหม่ ซึ่งจะทำให้รูปแบบพิธีหนึ่งเรียนรู้จากรูปแบบของอีกพิธีหนึ่ง นี่ไม่ใช่กรณี ตรงกันข้ามจะเกิดการยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจนเกินเหตุ เพราะเป็นจารีตพิธีคู่ขนานที่ได้รับอนุญาตจากเบื้องสูงทั้งคู่

        บัดนี้พวกเราต้องรับรู้ว่า “โต๊ะอาหารมีเพียงแค่โต๊ะเดียวเท่านั้น” เป็นโต๊ะอาหารที่ได้รับการปฏิรูปจากสภาสังคายนาวาติกันที่ 2

        พวกเราสามารถพบ ธรรมประเพณีของจารีตโรมัน ได้ที่นี่คือคำสอนจากสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 และไม่มีที่อื่นใด และจะเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปที่สมณกระทรวงต่าง ๆ ของวาติกันจะไปมัวเสียเวลาปฏิรูปจารีตโรมันแบบอื่น ๆ อีก ที่ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว

ง) สมณอัตตาณัติ SP ไม่เพียงแค่ข้ามศีรษะบรรดาบิชอปเท่านั้น ทว่ายังข้ามอำนาจของสมณกระทรวงเพื่อการนมัสการพระเจ้าด้วย โดยให้อำนาจกับการประกอบพิธีกรรมบางอย่างกับ “สมณสภา Ecclesia Dei” และสมณกระทรวงเพื่อพระสัจธรรม

บัดนี้อำนาจดังกล่าวได้กลับเข้ามาสู่ผู้ที่มีอำนาจตามธรรมชาติ ซึ่งได้แก่การคืนอำนาจให้กับบรรดาบิชอปและสมณกระทรวงเพื่อการนมัสการพระเจ้า และจะไม่มี “อำนาจอื่นอีกต่อไป” เหนือ “รูปแบบพิเศษ” แห่งจารีตโรมัน ซึ่งตามความจริงไม่มีตัวตนแล้วยังสร้างพระศาสนจักรแบบคู่ขนานและการเป็นปฏิปักษ์ต่อสภาสังคายนาวาติกันที่ 2

จ) “เป้าหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตที่มอบไว้โดยพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ ได้มีการกล่าวกันอย่างมีนัยสำคัญในสภาสังคายนาวาติกัน 2”  ซึ่งพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสในสมณลิขิตถึงบรรดาบิชอปในการอธิบายที่แนบไปกับสมณอัตตาณัติ TC นี่เป็นเรื่องสำคัญต้องขอบคุณสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 จารีตโรมันสามารถอยู่เหนือขีดจำกัดที่ไม่อาจจะอยู่คู่ขนานกันได้ เช่น “จารีตพิธีอีกอย่างหนึ่ง” จะไม่สามารถกำหนดถึงการมีตัวตนของ “พระศาสนจักรอีกแห่งหนึ่ง”

        ผลของ “การอนุญาต” ก่อนหน้านั้นจากพระสันตะปาปาพระองค์ก่อนช่วยปลุกความสำนึกที่เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับสภาสังคายนาวาติกัน 2 และเกิดปฏิกริยาดูเหมือนเกิดความขัดแย้ง แต่ว่าทำให้เกิดการก้าวเดินร่วมกัน (ลักษณะแบบการฉีดวัคซิน)

        พวกเราต้องขอบคุณสมณอัตตาณัติ SP เพราะทำให้พวกเราเห็นว่าพิธีบูชาขอบพระคุณรูปแบบเก่าได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 และด้วยเหตุผลนี้มาตรการที่จะเข้าถึงปัญหาของความข้ดแย้งต้องมีการทบทวนกันด้วยความระมัดระวังและรอบคอบเพื่อที่จะไม่สร้างสิ่งที่ไม่งดวามและสิ่งที่ไม่สมควรอีกต่อไป

พระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า “พอแล้วก็คือพอแล้ว ขอให้จบประเด็น”

        สิ่งที่พิเศษจริงๆ ในเรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้ไม่ใช่อยู่ที่การสถาปนาความสัมพันธ์ที่เป็นปกติระหว่าง “กฎเกฑ์แห่งการสวดภาวานา – lex orandi” และ “กฎเกณฑ์แห่งความเชื่อ ความศรัทธา – lex credenda” ซึ่งได้รับการยืนยันโดยสมณอัตตาณัติ TC

        สิ่งที่ดูเหมือนจะพิเศษมากก็คือความจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นเวลาถึง 14 ปี ที่ผู้คนพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมให้ตนเองกับสิ่งที่สร้างความชอบธรรมให้เป็นไปไม่ได้

        นักกฎหมายหลายคนพยายามที่จะสร้างความคิดเชิงบวกให้กับกฎหมาย และก็มีนักจารีตพิธีกรรมอีกจำนวนมากที่ติดใจอยู่กับลักษณะ “สัตว์ลูกผสมที่เจ้านายต้องการ” ซึ่งมีบทความและหนังสือหลายเล่มเขียนขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ “จารีตพิธีกรรมสองรูปแบบ” สำหรับบาดหลวงในอนาคต

        และทุกสิ่งเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนได้รับการเห็นชอบ แม้กระทั่งช่วยกันส่งเสริมในบางครั้งจากบิชอปและผู้ที่มีอำนาจด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่าสมณอัตตาณัติ SP แม้กระทั่งในหมู่นักเทววิทยาหลายคนได้กลายเป็นเป้าหมายคิดเพียงแค่ประการเดียวที่พวกเราต้องปฏิบัติตาม นี่เป็นความผิดพลาด “ชนิดไม่ธรรมดา”

        ตรงกันข้ามสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมีจิตสำนึกและปรีชาญาณที่ล้ำเลิศด้วยการกล่าวว่า “คำว่าพอแล้วก็คือพอแล้ว”

        พระองค์ทรงเปิดศักราชใหม่อย่างเฉลียวฉลาดอย่างมีคุณภาพแห่งจารีตพิธีกรรมนั่นคือบทบาทและคุณค่าบนโต๊ะอาหารเพียงโต๊ะเดียว – สำหรับทุกคนและปกติธรรมดา ที่เป็นของพระศาสนจักรและเป็นของประชาสัตบุรุษ

        นี่เป็นทั้งการเตือนใจแบบเล็กๆ ทว่ายิ่งใหญ่จริง ๆ เพราะว่าการปฏิรูปแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ไม่สามารถมีผู้ใดหยุดยั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์ประดอยภาษาที่สมมุติขึ้น หรือการหันไปใช้จารีตพิธีกรรมที่ไม่มีตัวตนเหลืออยู่แล้ว

        พวกเราสามารถที่จะดำเนินต่อไปด้วยรูปแบบปกติด้วยความระมัดระวัง รอบคอบและด้วยความเต็มใจ ด้วยความซื่อสัตย์ และด้วยความเอาใจใส่อย่างเต็มความสามารถใน “โรงเรียนแห่งการอธิษฐานภาวนา” ที่พบได้ในจารีตพิธีใหม่

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทความนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)

Cr.  Andrea Grillo | Italy

Andrea Grillo (b. 1961) is professor of sacramental theology at the Pontifical Atheneum of Sant’Anselmo in Rome. He is author of the Italian blog “Come se non”, where this essay first appeared and is reproduced in English with his permission.

Read more at: https://international.la-croix.com/news/religion/from-supreme-pontiffs-to-guardians-of-tradition-the-vicissitudes-of-the-roman-rite/14666